You are on page 1of 8

บทที่ 10 งบลงทุน

1 ) ความสำาคัญของงบลงทุน
1.1) มีผลต่อเนื่องในอนาคตหลายปี
1.2) การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ การพยากรณ์ยอดขายในระยะยาว
1.3) การตัดสินใจเรื่องงบลงทุนจะใช้เป็นตัวกำาหนดทิศทางในเชิงกลยุทธ์ของบริษัท
ผลของการพยากรณ์ความต้องการสินทรัพย์ผิด
• การลงทุนมากเกินไป ทำาให้ต้องจ่ายเงินมาก มีค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายในการ
ผลิตต่างๆ ตามมาอีกมาก
• ถ้าลงทุนน้อยเกินไป จะเกิดปัญหา สองกรณีคือ
หนึ่ง เครื่องจักรไม่เพียงพอที่จะใช้ในการผลิตสอนค้าขาย
สอง คือกำาลังการผลิตไม่เพียงพอ เสียส่วนแบ่งตลาด
1.4) ต้องใช้เวลาขยายหรือดำาเนินงานตามโครงการ ถ้าบริษัทรอให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น
ก่อนแล้วจึงลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มอาจจะช้าเกินไป การลงทุนต้องตัดสินใจล่วงหน้า
โดยพยายามพยากรณ์ยอดขายล่วงหน้าให้ถูกต้อง

2) แนวความคิดที่ทำาให้เกิดโครงการลงทุน
2.1) การเติบโตของกิจการ
2.2) ความสามารถในการแข่งขัน
2.3) การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่
2.4) การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณภาพดีขึ้น
2.5) การดำาเนินงานที่ทำาให้ต้นทุนลดลง
ถ้ากิจการมีผู้บริหารและพนักงานซึ่งมีวิสัยทัศน์และความสามารถ ประกอบกับการที่บริษัทมี
ระบบการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเกิดแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ
ลงทุนได้มากมาย
3) การจำาแนกโครงการลงทุน
3.1) โครงการใหม่ทดแทนโครงการเก่าที่หมดอายุ
3.2) โครงการใหม่ทดแทนโครงการเก่าเพื่อลดต้นทุน
3.3) โครงการขยายผลิตภัณฑ์เดิม
3.4) โครงการผลิตภัณฑ์ใหม่
3.5) โครงการเพื่อความปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม
3.6) โครงการอื่น

4) การประเมินโครงการลงทุน
จะคล้ายกับการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
การประเมินโครงการการลงทุน บทที่ 10, 11, 12
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ บทที่ 7, 8

5) วิธกี ารประเมินโครงการลงทุน
ประเภทของโครงการลงทุน
1) โครงการที่ทดแทนกันได้ ( Mutually exclusive projects ) จะตัดสินใจเลือกลงทุนเพียง
โครงการเดียวที่คิดว่าดีที่สุด
2) โครงการที่เป็นอิสระต่อกัน ( Independent project ) จะตัดสินใจเลือกลงทุนได้ทุกโครงการ
ที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำาหนดไว้
3) โครงการที่พึ่งพากัน ( Dependent project )
เลือก ก ต้องเลือก ข
และถ้าไม่เลือก ก ต้องไม่เลือก ข

5.1) วิธีระยะเวลาคืนทุน ( Payback Period : PB )


วิธีนี้ประเมินว่าเมื่อลงทุนโครงการแล้วจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่จึงจะได้รับทุนคืน

ระยะเวลาคืนทุน = จำานวนปีก่อนคืนทุน + กระแสเงินสดที่เหลือ


กระแสเงินสดทั้งปี
ตัวอย่าง โครงการ S
0 1 2 3 4

- 1000 500 400 300 100

ระยะเวลาคืนทุน = 2 + 100 = 2.33 ปี หรือ 2 ปี 4 เดือน


300
ตัวอย่าง โครงการ L
0 1 2 3 4

- 1000 100 300 400 600

ระยะเวลาคืนทุน = 3 + 200 = 3.33 ปี หรือ 3 ปี 4 เดือน


600
เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. กรณีเลือกโครงการเดียว หรือเป็นโครงการทดแทนกันได้ จะเลือกโครงการที่คืนทุนเร็วกว่า

คือ โครงการ S
2. กรณีเลือกได้ทุกโครงการ ( เงินทุนไม่จำากัด ) จะเลือกโครงการที่ระยะเวลาคืนทุนน้อยกว่า
เกณฑ์ที่กำาหนดไว้

ข้อดีของการประเมินด้วยวิธีระยะเวลาคืนทุน
• คำานวณง่าย ทราบว่าลงทุนแล้วจะคืนทุนเท่าไหร่ โครงการที่คืนทุนเร็วจะมีสภาพคล่องมาก
• ทราบความเสี่ยงของโครงการเบื้องต้น ยึดหลักความปลอดภัยของเงินทุน การคืนทุนเร็ว
ย่อมปลอดภัยกว่าคืนทุนช้า
ข้อเสียของการประเมินด้วยวิธีระยะเวลาคืนทุน
• ไม่คำานึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา การลงทุนจ่ายเงินปีที่ศูนย์ แต่ผลประโยชน์จะทยอย
ตามมา
• ไม่สนใจกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นหลังจากที่คืนทุนแล้ว
5.2) วิธีระยะเวลาคืนทุนโดยคำานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน
( Discount payback period : DPM )
วิธีนี้จะซื้อลดกระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยต้นทุนของเงินทุน (WACC) แล้ว
ใช้ วิธีการหาระยะเวลาคืนทุน

ตัวอย่าง โครงการ S กำาหนด WACC 10%


0 1 2 3 4

- 1000 500 400 300 100


PV ของ NCF - 1000 454.55 330.58 235.39 68.30

ระยะเวลาคืนทุน = 2 + 214 = 2.95 ปี


225
ตัวอย่าง โครงการ L กำาหนด WACC 10%
0 1 2 3 4

- 1000 100 300 400 600


PV ของ NCF - 1000 90.91 247.93 300.32 409.81

ระยะเวลาคืนทุน = 3 + 360 = 3.88 ปี


410

5.3) วิธีระยะเวลาคืนทุนโดยคำานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน
การประเมินโครงการวิธีนี้จะคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่าย
เปรียบเทียบกัน
NPV = PV กระแสเงินสดรับ - PV กระแสเงินสดจ่าย
( ดูสูตรและวิธีการคำานวณใน Power point หน้า 10-27 , 10-28, 10-29, 10-30, 10-31, 10-32
โดยในหนังสือจะอ้างอิงโครงการ S และ L ในวิธีระยะเวลาคืนทุน ) โทษทีครับไม่รู้จะพิมพ์ยังไง !
เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. NPV = 0 หมายความว่าอัตราผลตอบแทนของโครงการเท่ากับต้นทุนของเงินทุนพอดี

2. NPV = + หมายความว่าลงทุนแล้วมีผลกำาไรหรือโครงการนั่นทำาให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้น

3. ถ้าเป็นโครงการที่ทดแทนกันได้ จะเลือกโครงการที่ให้ NPV สูงกว่า

4. ถ้าโครงการเป็นอิสระต่อกัน จะเลือกโครงการที่ได้ NPV เป็นบวก คือลงทุนได้ทั้งโครงการ

S และโครงการ L ( จากตัวอย่างในหนังสือตามหน้าที่กล่าวข้างต้น )

5.4) วิธีอัตราผลตอบแทนของโครงการ IRR


การประเมินโครงการวิธีนี้จะหาอัตราส่วนลด ( Discount rate ) ที่ทำาให้ผลรวมของมูลค่า
ปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตเท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรก นั่นคืออัตราส่วนลดที่ทำาให้ NPV = 0
( ดูสูตรและวิธีการคำานวณใน Power point หน้า 10-27 , 10-28, 10-29, 10-30, 10-31, 10-32
โดยในหนังสือจะอ้างอิงโครงการ S และ L ในวิธีระยะเวลาคืนทุน ) โทษทีครับไม่รู้จะพิมพ์ยังไง !
เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. IRR ของโครงการคือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนั้น

2. IRR = ต้นทุนของเงินทุน คือโครงการนั้นให้อัตราผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนของเงินทุน

3. เลือก IRR > ต้นทุนของเงินทุน

4. ปฎิเสธ IRR < ต้นทุนของเงินทุน

5. กรณีเป็นโครงการที่ทดแทนกันเลือก IRR ทีม ่ ากกว่า

เปรียบเทียบวิธี NPV และ วิธี IRR


ดูกราฟใน Powerpoint หน้า 10-41 ประกอบ ในกราฟจะมีข้อขัดแย้งระหว่าง การเลือกด้วยวิธี IRR
และวิธี NPV ที่อยู่ก่อนหน้าและหลัง crossover rate อ่านใน หน้า 10-43 และ 10-44

ซึ่งจากกราฟและข้อขัดแย้งจากกราฟจะได้ว่า
1) IRR คืออัตราส่วนลดที่ทำาให้ NPV ของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์
ตามรูป จุดที่เส้น NPV ตัดกับแกนนอนคือ IRR ของโครงการนั่นเอง
2) วิธี NPV นั่น การตัดสินใจเลือกโครงการอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนลด แต่วิธี IRR
การตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลง
3) โครงการที่เป็นอิสระต่อกัน วิธี NPV และ IRR ตัดสินใจไม่ขัดแย้งกัน
จากตัวอย่างโครงการ S และ L
• ถ้าต้นทุนของเงินทุนตำ่ากว่า IRR จะรับทัง้ สองโครงการเพราะ NPV เป็นบวกทั้งสอง

โครงการ
• ถ้าต้นทุนของเงินทุนสูงกว่า IRR จะปฎิเสธทั้งสองโครงการ

4) โครงการที่ทดแทนกันได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างผลของวิธี NPV และวิธี IRR


• กรณีดังกล่าวใช้ NPV ดีกว่า เพราะทราบว่าเลือกแล้วผู้ถือหุ้นมั่งคั่งอย่างไร

แต่ วิธี NPV นัน่ การตัดสินใจเลือกโครงการอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนลด แต่


วิธี IRR การตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลง

5) วิธี NPV และ IRR เกิดจากข้อสมมติที่แตกต่างกัน


• วิธี NPV สมมติว่าเงินสดที่โครงการได้รีบมาในปีแรก ๆ นำาไปลงทุนต่อจนกว่าจะ

สิ้นสุดดครงการโดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนของเงินทุน
• วิธี IRR สมมติว่าเงินสดที่โครงการได้รับมาในปีแรก ๆ นำาไปลงทุนต่อจนกว่าจะสิ้น

สุดโครงการโดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับอัตรา IRR

6) ข้อสมมติ NPV เหมาะสมกว่า


• กรณีโครงการที่เป็นอิสระต่อกัน ไม่ว่าจะใช้วิธี NPV หรือวิธี IRR จะมีผลต่อการ

ตัดสินใจเหมือนกัน
• กรณีเป็นโครงการที่ทดแทนกันได้ ขนาดและระยะเวลาของกระแสเงินสดโครงการ

ต่างกันควรใช้วิธี NPV ในการประเมินโครงการ

ต่อจากการเปรียบเทียบ NPV และ IRR หนังสือจะต่อด้วยเรื่องของ IRR หลายอัตรา


เพราะบางครั้งในโครงการเดียวกันอาจจะมีค่า IRR ที่คำานวณได้หลายอัตรา เนื่องจากกระแสเงินสด
ผิดปกติ ถ้ากรณีนี้เกิดขึ้นควรจะใช้วิธี NPV หรือ MIRR มาเป็นเกณฑ์ในการประเมินโครงการแทน
( ดูตัวอย่างจากหน้า 10-54, 10-55, 10-56, 10-57, 10-58 การคำานวณได้ IRR สองค่า ) โทษที
ครับไม่รู้จะพิมพ์ยังไง !
5.5) วิธีอัตราผลตอบแทนของโครงการที่ปรับปรุงใหม่
Modified Internal Rate of Return : MIRR

1) วิธีนี้สมมติว่านำาเงินสดที่ได้รับในปีแรก ๆ ไปลงทุนจนถึงปีสุดท้ายของโครงการโดย
ได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนของเงินทุน
2) นำาผลที่คำานวณได้ตามข้อ 1 มารวมกันเป็นมูลค่า ณ ปีสุดท้ายของโครงการ
โดยผลรวมนั่นเรียก Terminal value : TV
3) หาอัตราส่วนลดที่ทำาให้ TV เท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรกพอดีซึ่งก็คือ MIRR นัน
่ เอง
( ดูสูตรและวิธีการคำานวณใน Power point หน้า 10-61, 10-62, 10-63 ) โทษทีครับไม่รู้จะ
พิมพ์ยังไง !

6) สรุปวิธีต่าง ๆ ในการประเมินโครงการลงทุน
6.1) วิธีระยะเวลาคืนทุน จะให้ข้อมูลของความเสี่ยงและสภาพคล่องของโครงการ
6.2) วิธี NPV ประเมินว่าโครงการจะให้ผลตอบแทนมากน้อยเท่าใดในรูปของตัวเงิน
6.3) วิธี IRR ประเมินว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผู้ตัดสินใจจะชอบ
มากกว่าและยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (safety margin) ของโครงการอีกด้วย
โดย โครงการที่ NPV เท่ากัน แต่ IRR สูงกว่าจะดีกว่า
6.4) MIRR สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการเดียวแต่มี IRR หลายอัตรา และข้อพก
พร่องเรื่องการนำากระแสเงินสดที่ได้รับในปีแรก ๆ มาลงทุนต่อ

7) การตรวจสอบติดตามผล
7.1) ตรวจสอบว่าผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจริงกับการพยากรณ์แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร
7.2) ตรวจสอบหาสาเหตุว่าข้อแตกต่างนั้นเกิดจากอะไร แล้วจึงดำาเนินการแก้ไขต่อไป
8) การใช้เทคนิคของงบลงทุนเพื่อการตัดสินใจด้านอื่น ๆ
8.1) ผู้บริหารสามารถนำาเทคนิคของงบลงทุนไปใช้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ เช่น การควบกิจการ
การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มกำาลังการผลิต หรือการขยายตลาด
8.2) ใช้เพือ่ การตัดสินใจ เช่น การลดจำานวนพนักงานหรือการขยายกิจการของแผนก
8.3) การตัดสินใจส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นฐานว่าการตัดสินใจนั้นสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือ
หุ้นหรือไม่

You might also like