You are on page 1of 18

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 2504-25541

เจริญพงศ์ พรหมศร2

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือ เอกสารด้านนโยบายสาธารณะที่ใช้ใน


การกำาหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ (ตั้งแต่แผนฉบับที่ 1) และสังคม (ตั้งแต่แผนฉบับที่ 2
เป็นต้นมา) ร่วมกันของประเทศไทย โดยได้ประกาศใช้ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2504 และ
มีการประกาศใช้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงแผน 10 ในปัจจุบัน
ประเทศไทยมีแนวคิดด้านการจัดทำาแผนพัฒนาขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในสมัย แรก
เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยใน พ.ศ.2475 คณะราษฎร์โดยหลวงประดิษฐมนูญธรรม (ปรีดี
พนมยงค์) ได้นำาเสนอแผนที่มีชื่อว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” แต่ประสบปัญหาความขัดแย้ง
ด้านแนวคิดของแผนที่มีลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบของรัฐสังคมนิยม จึงทำาให้แผน
ดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจแต่ประการใด
ในปี พ.ศ.2493 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อทำาหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้
แก่รัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจการคลัง และมีคณะกรรมการดำาเนินการทำาผังเศรษฐกิจ ซึ่งทำาหน้าที่วาง
กรอบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นคณะทำางานหลัก
ของสภาเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ.2504 รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการจัดทำาแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ระดับชาติ โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นผู้วางแผน โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ
เข้ามาให้การช่วยเหลือทางวิชาการในการกำาหนดแผนดังกล่าว ลักษณะสำาคัญที่ทำาให้แผน
พัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับดังกล่าวมีความเป็นพิเศษคือ การวางระบบความสัมพันธ์ของ
แผน เช่น ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
“โดยที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้พิจารณากำาหนดจุดหมาย นโยบาย แผนการ
และโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจเพื่อวางแผนการส่วนรวมสำาหรับระยะเวลาหนึ่ง และได้วางแผน
พัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่างระยะเวลา พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2506 และถึง พ.ศ. 2509 ...”
จากแผนดังกล่าวทำาให้ประเทศไทยมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม (Mix Economy) โดยที่มี
หลักการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีพร้อมกับการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการวางแผนเพื่อกำาหนด
เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของสภา
พัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้มีบทบาทในการเป็นหน่วยงานกลางในการกำาหนดทิศทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ใน พ.ศ.2502

1
เอกสารมีลิขสิทธิ์สมบูรณ์ อนุญาตให้เผยแพร่ได้ ทำาซำำาทัำงหมดได้โดยไม่ดัดแปลงเนืำอหาและไม่เพื่อประโยชน์ทางการค้า
2
นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรความขัดแย้งและสันติศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1
และเป็น “สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ใน พ.ศ.2515 เพื่อให้
สอดคล้องกับกระบวนการกำาหนดแผนที่เริ่มให้ความสำาคัญกับพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น
จากการกำาหนดแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ใน พ.ศ.2504 จนกระทั่งถึง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งกำาหนดใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2550 – 2554 ได้มี
พัฒนาการของแผนดังกล่าว ดังต่อไปนี้

พัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1- 10

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509)


การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับแรกนี้ มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ให้
ดีขึ้น โดยการเร่งรัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้แผนงานต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่วา่ จะเป็นถนน ไฟฟ้า ชลประทาน
และเขื่อน จนเป็นที่มาของคำาขวัญที่ว่า “นำ้าไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำา” นอกจากนี้ยังตั้งเป้า
หมายในการเพิ่มการผลิตสินค้าภาคการเกษตรให้มากขึ้นอย่างทวีคูณ และเป็นการเริ่มต้นปรับ
ลักษณะทางเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจการเกษตรมาเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการเกษตรในเวลาต่อมา
พร้อมกันนี้ยังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนเชิงอุตสาหกรรมของภาคเอกชนแทนการจัดตั้ง
รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นทีน่ ิยมในช่วงการปกครองสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยการที่รัฐบาลดำาเนิน
นโยบายทดแทนการนำาเข้า (Import-substitution policy) โดยการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (Board of Investment : BOI) เพื่อทำาหน้าที่ส่งเสริมสิทธิพิเศษแก่บริษัทเอกชนที่เข้าร่วม
นโยบายดังกล่าว เป็นต้น ในขณะที่การพัฒนาชนบทมุ่งเน้นไปที่การมอบอำานาจให้กระทรวง
มหาดไทยอบรมผู้นำาท้องถิ่นและประชาชนให้น้อมรับนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การ “ส่งเสริมประชาชนให้ประกอบเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น” นอกเหนือไป
จากการสร้างบ่อนำ้าและการพัฒนาถนนเชื่อมต่อกับทางหลวงจังหวัด ที่กำาหนดให้กระทรวง
มหาดไทยทำาหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นต้องให้ความสำาคัญเป็น 3 ลำาดับแรก
ในส่วนของการพัฒนาด้านสังคมนั้น แม้จะมีการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของ
คนในสังคมแต่ก็อยู่บนพื้นฐานทางความคิดที่ว่า ผลผลิตหรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
จะนำามาซึ่งความ “อยู่ดีกินดี” อย่างเท่าเทียมกันของประชาชนในสังคมอย่างอัตโนมัติ จึงไม่มี
การกำาหนดแผนงานหรือโครงการที่จะเข้าพัฒนาสภาพสังคมอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 1 ปรากฏว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยาย
ตัวในช่วงที่สูง กล่าวคือ สูงถึงร้อยละ 8 ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ผลิตผล
ทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ต่อปี โดยแร่ดีบุกได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำาคัญของ
ประเทศ รายได้ประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ในระหว่างปี 2504 – 2509 ประเทศไทยมีฐานะเป็น

2
ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสูงสุดอันดับที่ 5 ของโลก โดยมูลค่าสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ต่อปี มูลค่า
สินค้านำาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ต่อปี แต่กลับไม่ทำาให้ดุลการชำาระเงินขาดดุลและมีเงินทุนสำารอง
อยู่ในระดับที่สูง
นอกจากนี้การดำาเนินแผนฯ ฉบับที่ 1 ทำาให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง
โดยภาคการเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 36.7 ในปี พ.ศ.2503 เหลือร้อยละ 31.6 ในปี พ.ศ.2509 ใน
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.4 ในปี พ.ศ.2503 เป็นร้อยละ 12.2 ในปี
พ.ศ.2509 เป็นต้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514)


การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฯ ฉบับที่ 2 นี้ ได้มีการขยายขอบเขตของแผนให้
กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เน้นการพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสอดคล้องกับนโยบายการรักษาความมั่นคงของประเทศ มีการเติมคำาว่า “สังคม” ไว้ในชื่อ
แผนฯ เป็นครั้งแรก ในการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับที่ 2 นี้ มีการเน้น
การพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทห่างไกล และทุรกันดาร และจัดตั้งสำานักงาน
เร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ขึน้ ด้วย ในด้านการพัฒนากำาลังคน ได้วางแผนการศึกษาให้สอดคล้อง
กับความต้องการด้านกำาลังคนในระดับต่างๆ ของประเทศ ขยายการมีงานทำาและพัฒนาแรงงาน
ระดับต่างๆ ให้มฝี ีมือดียิ่งขึ้น สนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการ
ด้านประยุกต์ รวมทั้งส่งเสริมระบบสังคมให้มีความเสมอภาคยิ่งขึ้น
ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เน้นการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการคลัง โดยส่งเสริม
ให้มีการออมทรัพย์และการลงทุนของเอกชน และหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐบาลให้สูงขึ้น
โดยยึดหลักความเป็นธรรมแก่สังคม
นอกจากนี้ แผนพัฒนา ฯ ฉบับนี้ยังเน้นหนักในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำาคัญ ๆ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านเศรษฐกิจ
ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฯ ฉบับที่ 2 ปรากฏว่าในระยะแรกของแผนพัฒนา ฯ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2512 ระบบเศรษฐกิจ
ได้ขยายตัวช้าลง สินค้าออกหลักของไทย เช่นข้าวและยางพารา ตลาดมีความต้องการลดลง รายได้
ของรัฐเองก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยมาก ในช่วงหลังของแผนพัฒนา ฯ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 6 ต่อปี เฉลี่ยตั้งแต่ปี พ .ศ.2510-2514 อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่
ร้อยละ 7.2 และประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลการชำาระเงินเป็นครั้งแรกในปี
พ.ศ.2512 และขาดดุลติดต่อกันไปอีก 2 ปี โครงสร้างภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1
ต่อปี และภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ต่อปี

3
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519)
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 มีความสมบูรณ์กว่าแผนพัฒนาข้างต้นทั้ง 2 ฉบับ ในเกือบทุกด้าน
โดยการเน้นความร่วมมือของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กับเปิดโอกาส
ให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในกิจการต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยมีการกำาหนดแผนพัฒนาส่วนรวมของ
ประเทศขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำาแผนโครงการและกิจกรรมแต่ละสาขาให้สอดคล้องกับ
แผนรวมของประเทศ และเริ่มคำานึกถึงผลที่ตามมาจากการดำาเนินแผนพัฒนา เช่น
การให้ความสำาคัญกับผลกระทบของชุมชนต่อการสร้างนิคมอุตสาหกรรมกรรม หรือ
การใช้กฎหมายผังเมืองพิจารณาประกอบการกำาหนดพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจน
มีการประสานงานไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อจัดทำาโครงการที่มีประโยชน์ร่วมกัน
เป็นพิเศษทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการป้องกันประเทศ เช่น การสร้างถนน เป็นต้น
นอกจากนี้แผนดังกล่าวได้ให้ความสำาคัญต่อการพัฒนาด้านสังคมเพิ่มขึน้ กว่าแผนที่ผ่านมา
ด้วยการกระจายสวัสดิการและกิจกรรมทางสังคมไปสู่ชนบท ให้ความสำาคัญกับอนามัยแม่และเด็ก
มีการวางแผนครอบครัวเป็นครั้งแรก และเริ่มโครงการผันเงินสู่ชนบท เกิดโครงการสร้างงาน
ในชนบท (กสช.) เพื่อสร้างแหล่งงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว กระตุ้นบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วม
การพัฒนา โดยทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างเมืองและชนบทกับ
การพัฒนาในภูมิภาคและท้องถิ่น โดยการจัดให้มีแผนพัฒนาระดับภาคและระดับจังหวัดเป็น
ส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศ และยังคงเน้นการเร่งรัดพัฒนาชนบทอยู่ ริเริ่มโครงการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อการเกษตร ซึ่งได้สะท้อนด้วยการปรับเปลี่ยนชื่อแผน โดยเพิ่มเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ
ผลของแผนทำาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ผลผลิต
ในภาคอุตสาหกรรมเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.6 ในขณะที่ภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี
มูลค่าสินค้านำาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ต่อปี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)


ยังคงเน้นการกระจายรายได้ ลดความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทเหมือนเดิม มีการจัด
ทำาแผนพัฒนาจังหวัด โดยให้จังหวัดเป็นผู้จัดทำาโครงการ และส่งต่อให้ส่วนกลางพิจารณา นับเป็น
จุดเริ่มต้นของแนวคิดการวางแผนจากล่างขึ้นบน นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำาคัญกับ ความมั่นคง
ปลอดภัยของประเทศเป็นหลักเบื้องต้น มีความพยายามยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
โดยมุ่งขจัดความยากจนและการพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลำ้าของ การกระจายรายได้
และเริ่มมีการพูดถึงการลดอัตราการเติบโตของประชากรลง ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากร
เพื่อยืดอายุการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก มีการปฏิรูปและ

4
เปลี่ยนแปลงนโยบายหลายด้านที่จำาเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ อันเป็นผลพวงมาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนฯ ที่ 3 และ บางวิกฤติเกิดซำ้าใน
แผน 4 (วิกฤตราคานำ้ามัน พ.ศ.2516 และ 2520 วิกฤติการเมืองใน พ.ศ.2516 และ 2519) อัตรา
เงินเฟ้อทำาให้ข้าวยากหมากแพง ใน พ.ศ.2517 นอกจากนี้ ผลกระทบจากการแพ้สงครามเวียดนาม
และการถอนฐานทัพในไทยของกองทัพสหรัฐฯ ทำาให้เงินหมุนเวียนในประเทศลดลง
ในช่วงของแผนฯ 4 ได้มีการกำาหนดโครงสร้างในภาคการเกษตรเพื่อขยายอัตราเติบโตของ
ผลิตผลทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ มากขึน้ ในขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมได้มีการปรับปรุง
โครงสร้างเพื่อสามารถรองรับการขยายฐานการผลิตเพื่อการส่งออก และกระตุ้นการมีงานทำา
ในส่วนภูมิภาคเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายได้ ในส่วนของการกระจายความเจริญออกจาก
กรุงเทพมหานครซึ่งเริ่มมีความแออัดและมีปัญหามลพิษ ได้มีความพยายามสร้างเมืองหลัก
ในส่วนภูมิภาค เช่น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในภาคใต้ จ.นครราชสีมา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และ จ.เชียงใหม่ ในภาคเหนือ เป็นต้น
ผลของแผนปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.3 ต่อปี
ประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยประชากรมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นไปด้วย (ร้อยละ 5.2
ต่อปี) ภาคการเกษตรมีการเจริญเติบโตในอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งตำ่ากว่าที่กำาหนดไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี
ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ซึ่งใกล้เคียงกับที่กำาหนดไว้ที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี
การนำาเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 26.3 ต่อปี ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึน้ ร้อยละ 21.9 ต่อปี ทำาให้เกิด
การขาดดุลในบัญชีดุลการค้าและดุดการชำาระเงินอย่างมาก
นอกจากนี้แล้ว ผลจากสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการขึ้นราคา
นำ้ามัน ประมาณ 4 เท่าตัวของราคาปกติ สภาวะเงินเฟ้อที่สูงถึงร้อยละ 25 โดยเฉลี่ย และการตกตำ่า
ของเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.8 ต่อปี และปัจจัยทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว ทำาให้
ประเทศประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองค่อนข้างมาก เช่น ใน พ.ศ.2522
ประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤติตลาดการเงินและตลาดทุนเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมี
ปรากฏการณ์แชร์แม่ชะม้อย และบริษัทราชาเงินทุน ตลอดจนการเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่เรียก
ว่า “ขวาพิฆาตซ้าย” การหนีเข้าป่าของนักศึกษาหลังเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นต้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529)


เน้นแนวคิดการพัฒนาชนบทแนวใหม่ คือแผนพัฒนาชนบทในพื้นที่ยากจน จุดสำาคัญ
ที่เน้นในแผนพัฒนา คือ การมีระบบการบริหารงานพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) เป็นครั้งแรก
เน้นการทำางานร่วมกันของข้าราชการ นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่า แผน ฯ ฉบับที่ 5 เริ่มยึดพื้นที่
เป็นหลักในการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีความพยายามเป็นพิเศษในเรื่องของการรักษาเสถียรภาพ
ทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยมีการปรับสมดุลของแผนพัฒนาฯ ให้สะท้อนความต้องการ

5
การพัฒนาและการดูแลในด้านสังคมมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
ด้วยการกำาหนดแผนด้านการพัฒนาสังคมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสนับสนุนบทบาท
ของภาคเอกชนให้มีบทบาทและให้ความร่วมมือแก่รัฐบาลมากยิ่งขึ้น
อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายหลักของแผนฯ 5 คือการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
ของประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความพยายามแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแผนฯ 4 ไม่วา่ จะ
เป็นการดำาเนินนโยบายการคลังอย่างเข้มงวด เช่น การกำาหนดเพดานเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่
รัฐบาลจะสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ นอกจากนี้ยังมีการตรึงเงินเดือนของข้าราชการ ทำาให้ขา้ ราชการ
ทั่วประเทศไม่ได้รับการขึ้นขั้นเงินเดือน การชะลอการลงทุนภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีการลดค่าเงิน
บาท 2 ครั้ง คือ ร้อยละ 8 (20.75 เป็น 23.00 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ) ในปี พ.ศ.2524 และร้อยละ
14 (23.00 เป็น 27.00 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ) ในปี พ.ศ.2527 และการเงินขึ้น
ของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน (กรอ.) อันเป็นเครื่องมือที่ทำาให้ภาคเอกชนสามารถ
มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีการวางนโยบายไว้ตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4
แต่ได้เกิดเป็นรูปธรรมในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 โดยองค์กรภาคเอกชนที่อยู่ในคณะกรรมการ
ชุดดังกล่าวคือ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย
ในส่วนของการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน นับว่ามีความสำาเร็จพอควร โดย “นำ้ามันสามทหาร”
รัฐวิสาหกิจของกระทรวงกลาโหมที่จัดตั้งใน พ.ศ.2522 (ซึ่งจะพัฒนาเป็นการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย และ บมจ.ปตท.ในปัจจุบัน) ได้ประสบความสำาเร็จในการผลิตนำ้ามันดิบเพื่อ
การพาณิชย์ในช่วงของแผนฉบับนี้ โดยสามารถผลิตนำ้ามันดิบได้ประมาณ 1,440 ล้านลิตรต่อปี ส่ง
ผลให้ตัวเลขการนำาเข้านำ้ามันลดลงร้อยละ 1.6 ต่อปีในช่วงแผนฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ในแผนดัง
กล่าวได้เพิ่มความเข้มข้นในการตั้งเป้าหมายด้านการลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลือ ไม่
เกินร้อยละ 1.5 ต่อปี ลดอัตราการไม่รู้หนังสือให้เหลือร้อยละ 10.5 ลดอัตราป่วยไข้และ ตาย
ด้วยโรค ขยายบริการด้านการรักษาพยาบาลและขจัดปัญหาการขาดสารอาหารของทารกและเด็ก
ก่อนวัยเรียนให้หมดสิ้นไป นอกจากนี้ยังเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแล ความ
มั่นคงของประเทศด้วยการกำาหนดให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองเพื่อความ
มั่นคงในพื้นที่ชนบทประชาชนยากจน และเสี่ยงต่อการเข้าดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จำานวน 4,000 หมู่บ้าน ตลอดจนการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองตาม
แนวชายแดน ทั้งหมู่บา้ นป้องกันตนเองไทย-กัมพูชา 55 หมู่บ้าน และหมู่บ้านป้องกันตนเองไทย-
ลาว 48 หมู่บ้าน เป็นต้น
ผลของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 ปรากฏว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวสภาวะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่
สภาวะถดถอยอันเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตินำ้ามันทั้งสองครั้งใน พ.ศ.2516 และ 2520 นอกจาก
นัน้ ยังมีปัญหาจากมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำาเข้า ราคาสินค้าเกษตรตกตำ่า และอัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงผิดปกติ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้กดดันอัตราการเจริญเติบโต ทาง

6
เศรษฐกิจลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.6 จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 6.6 ต่อปี ผลผลิตภาคเกษตร
ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี จากเป้าหมายที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
เหลือร้อยละ 5.1 ต่อปี จากเป้าหมายหมายที่ร้อยละ 7.6 ต่อปี ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของประชากร
พบว่าลดลงเหลือร้อยละ 1.79 ต่อปี ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1.6 ต่อปี อัตราผู้ไม่รู้หนังสือ
ลดเหลือร้อยละ 4 ลดจำานวนเด็กขาดสารอาหารเหลือร้อยละ 0.7 ในส่วนของการพัฒนาชนบทพบว่า
หมู่บ้านที่กำาหนดในแผน (หมู่บ้านป้องกันตนเอง หมู่บ้านอาสา ฯ) หากเทียบข้อมูลใน พ.ศ.2526
กับ พ.ศ.2524 โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช.2 ค พบว่าในด้านโครงสร้างพื้นฐานของ
หมู่บ้านมีสภาพดีขนึ้ ร้อยละ 32.2 ด้านการประกอบอาชีพและการผลิตดีขึ้นร้อยละ 31.6
ด้านการศึกษาและความรู้มีสภาพดีขึ้นร้อยละ 45.6 ซึ่งแตกต่างกับหมู่บ้านนอกแผนที่มีสภาพดีขึ้น
ร้อยละ 15.4, 28.6 และ 27.5 ตามลำาดับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)


จุดมุ่งหมายสำาคัญของแผน ฯ ฉบับดังกล่าวคือ การพยายามรักษาระดับการเจริญเติบโตของ
ประเทศให้มีอัตราที่ก้าวหน้าสมำ่าเสมอต่อไปในอนาคต ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
และสังคมที่สะสมมาตั้งแต่การดำาเนินแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในประเด็นของ
ความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ และปัญหาครอบครัว อาจจะกล่าวได้ว่า แผนพัฒนา ฯ
ฉบับนี้ ได้ตั้งคำาถามที่สำาคัญเอาไว้ คือ จะทำาอย่างไรจึงสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยไม่ทำาให้เกิดการบั่นทอนความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การ
เงิน การคลัง และความมั่นคง และจะต้องก่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ ที่
เหมาะสม และการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจาก
นี้ยังพยายามกำาหนดนโยบายที่จะสามารถยกระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึน้ แม้จะ
เผชิญกับสภาวะวิกฤติ เช่นที่เกิดในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 เป็นต้น
การกำาหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำาคัญในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 นี้ คือการพยายาม
ระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ให้ไม่ตำ่ากว่าร้อยละ 5 ต่อปีโดยเฉลี่ยตลอดทั้งแผน
เพื่อรองรับกับจำานวนแรงงานใหม่ที่กำาลังเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกกว่า 3.9 ล้านคน ด้วยการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ โดยการให้ความสนใจกับทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีความพยายาม
จะปรับปรุงระบบการบริหารจัดการในภาครัฐเป็นครั้งแรกเพื่อให้สนองตอบต่อสภาพเศรษฐกิจและ
สังคมที่เปลี่ยนไป และเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นไม่เฉพาะเพียงการให้ความ
เห็นในที่ประชุม แต่รวมถึงการให้บริการพื้นฐานบางอย่างซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้ยังให้
ความสำาคัญกับภาคอุตสาหกรรมที่จำาเป็นจะต้องปรับปรุงกระบวนการในการผลิต การตลาด เพื่อให้
ต้นทุนสินค้าลดลง เพื่อทำาให้สินค้าของไทยจะยังคงแข่งขันในตลาดโลกได้ เนื่องจาก ในช่วงเวลา

7
ดังกล่าวประเทศไทยออกห่างจากสถานะของประเทศที่มีค่าจ้างตำ่าแล้ว ในส่วนของ การพัฒนาใน
ภาคสังคมนั้น แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 มุ่งที่จะพัฒนาคุณภาพคนเพื่อให้สามารถพัฒนาสังคมให้
ก้าวหน้า มีความสงบสุข และความเป็นธรรม และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ส่วนร่วมกับ
เอกลักษณ์ ค่านิยม และวัฒนธรรมความเป็นไทย และยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนใน
ชนบทและในเมืองอยู่ในเกณฑ์ความจำาเป็นพื้นฐาน ซึ่งได้มีแผนงานหลักที่เกี่ยวข้อง 2 แผน คือ
แผนพัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ กับ แผนพัฒนาชนบท เป็นตัวแกนกลางในการขับเคลื่อน
ผลของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 พบว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากจะฟื้นตัวแล้วยังสามารถขยายอัตราการเจริญเติบโตได้ถึงร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้า
หมายที่กำาหนดไว้ที่ร้อยละ 5 ต่อปี และนับว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดนับ
ตั้งแต่มีการดำาเนินการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา นอกจากนี้ประเทศเริ่ม
มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์ มวล
รวมในประเทศได้เพิ่มขึน้ เป็นร้อยละ 80 ของทำาให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกอย่างเต็ม
ตัวและเป็นการนำาประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตรา การจ้าง
งานและค่าแรงก็สูงขึ้นเป็นลำาดับ ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น จาก
21,000 บาทต่อปี ในปี 2529 เป็น 41,000 บาทต่อปี ในปี 2534 ทั้งนี้เพราะรายได้ประชาชาติ ที่เพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 10.5 ต่อปี ในขณะที่อัตราประชาชนเพิ่มในอัตราเพียง 1.4 ต่อปี อย่างไรก็ดีพบว่าเกิด
ปัญหาเงินเฟ้อระดับอ่อนขึ้น คือ มีเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
อย่างไรก็ดี ในช่วงของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 ปัญหาด้านสังคมมีท่าทีว่าจะวิกฤติมากขึน้
เช่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก อันเนื่องมาจากการอพยพย้ายถิ่นของประชาชนในวัยทำางาน
โดยในช่วงดังกล่าว กรุงเทพมหานครมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ร้อยละ 42 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมทั้งประเทศ นอกจากนี้ การที่สังคมไทยกำาลังปรับตัวเข้าสู่สังคมเมือง และสังคมเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม ทำาให้ครัวเรือนจำาเป็นต้องหารายได้เพิ่มมากขึน้ จนส่งผลกระทบถึงปัญหาช่องว่าง
ในครอบครัวจากการที่พ่อแม่จะต้องอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำา หรือในกรณีที่พ่อแม่อยู่ในเมือง
ก็จำาเป็นต้องทำางานจนไม่มีเวลาได้เจอลูก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเกิดขึ้นของชุมชนแออัดและ
แหล่งเสื่อมโทรมต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งยิ่งซำ้าเติมคุณภาพชีวิตให้ยำ่าแย่ลง เกิดปัญหาความเหลื่อมลำ้าของ
รายได้ที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุดประมาณร้อยละ 20 ครอบครอง
สัดส่วนรายได้เฉลี่ยทั้งประเทศที่ร้อยละ 54.9 ในขณะที่ครัวเรือนที่รายได้ตำ่าสุดประมาณร้อยละ 20
ครอบครองสัดส่วนรายได้เฉลี่ยทั้งประเทศที่ร้อยละ 4.5 แต่ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยกำาลัง
ประสบปัญหาช่องว่างระหว่างเงินออมในประเทศกับการลงทุนที่มีระยะห่างมากขึ้น ซึ่งจะเป็น
ปัญหากับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต ในด้านของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบ
ว่า มีความเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการเร่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะ ที่ดิน ป่าไม้ แหล่ง
นำ้า ประมง และแร่ธรรมชาติ มาป้อนเข้าระบบเศรษฐกิจในอัตราที่สูง จนพื้นที่ป่าทั้งประเทศเหลือ

8
เพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมดใน พ.ศ.2532 จากร้อยละ 34 ในปี พ.ศ.2531 ท้ายที่สุด จากการ
เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำาให้เอกชนมีการปรับปรุงระบบ การ
บริหารจัดการต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยและรวดเร็วเพื่อสนองตอบความต้องการทางธุรกิจ แต่
ในการบริหารจัดการของภาครัฐ พบว่ากลับไม่สามารถปรับตัวให้สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง
ของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ โดยเฉพาะกฎระเบียบต่าง ๆ ทีเ่ ป็นข้อจำากัดและ
สร้างความล่าช้าในการทำางาน อีกทั้งยังเกิดปรากฏการณ์การถ่ายเทกำาลังคนจากภาครัฐไปยังภาค
เอกชน ด้วยเหตุผลด้านค่าตอบแทนและโอกาสในความเจริญก้าวหน้า จนเป็นที่มาของสิ่งที่เรียกกัน
ว่า “ปัญหาสมองไหล” เป็นต้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)


มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้โดยคำานึงถึงความสมดุลระหว่างการรักษาอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
ในการเติบโตอย่างมั่นคง การกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทที่มากขึ้น
เพื่อความเท่าเทียมในสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ อาจกล่าวได้ว่าในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 นีเ้ ริ่มมีการพูดถึงความสมดุลของ
การพัฒนาเป็นครั้งแรก แม้จะยังไม่ได้กำาหนดแผนงานที่ชัดเจน โดยให้ความสำาคัญกับความสมดุล
ของการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณ ซึ่งได้แก่การอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงคุณภาพ
ซึ่งได้แก่สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม และในเชิงความเป็นธรรม ซึ่งได้แก่การพยายาม
กระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครแต่เพียงที่เดียว
ในช่วงของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 สภาวะผันผวนของเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ
ที่เริ่มมาตั้งแต่เหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียใน พ.ศ.2533 ต่อมาด้วยการรัฐประหารของคณะรักษา
ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ใน พ.ศ.2534 ภายใต้คำาครหาเรื่องการฉ้อราษฏร์บังหลวง
จนสื่อมวลชนตั้งฉายาคณะรัฐบาลชุดดังกล่าวว่า “บุปเฟต์คาบิเน็ต” ซึ่งมีผลให้ชนชัน้ กลาง
เกิดความรู้สึกไม่พอใจประกอบกับการพยายามแทรกแซงอำานาจทางทหารของรัฐบาลที่มีคณะ
รัฐมนตรีที่มาจากภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ได้ทำาให้กลุ่มพลังอำามาตยาธิปไตยเริ่มเห็น กลุ่ม
อำานาจทางการเมืองว่าเป็นปฏิปักษ์กับตนเอง เหล่านี้ทำาให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ได้
ร้อนแรงในช่วงของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 ถูกตั้งคำาถามว่ามีความร้อนแรงเกินควรหรือไม่ ใน
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 จึงได้มีความพยายามรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อลดความร้อนแรงที่
ขยายตัวมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นต้นมามากกว่าการสร้าง ความ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการเปิดเสรีในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิตและ
ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งถือเป็นพันธะกรณีที่ได้รับจากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมภาคีเศรษฐกิจ
ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรการค้าโลก เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิค เป็นต้น

9
จนทำาให้ในช่วงของแผนดังกล่าวการพัฒนาภาคเศรษฐกิจถือได้ว่าประสบผลสำาเร็จตามที่ต้องการ
กล่าวคือ แม้จะมีผลกระทบมาจากการก่อรัฐประหารใน พ.ศ.2534 ตามมาด้วยเหตุการณ์พฤษภา
ทมิฬใน พ.ศ.2535 แต่นักลงทุนต่างชาติยังคงให้ความเชื่อมั่นต่อภาคเศรษฐกิจของไทย และยังคง
ลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคสังคมมีการกำาหนดเป้าหมาย ใน
การกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรยากจน ลูกจ้างแรงงานในภาคเกษตร กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว
ขนาดเล็กในเมือง (ในความหมายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปัจจุบัน) การกระ
จายความเท่าเทียมในการถือทรัพยากร โดยเฉพาะการจัดสรรที่ดินทำากินในเกษตรกร และจัดหาที่อยู่
อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น นอกจากนี้มีความพยายามที่จะลดอัตราเพิ่มของประชากรให้
เหลือเพียงร้อยละ 1.2 ใน พ.ศ. 2539 และเพิ่มอัตราผู้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษา จากร้อยละ 45
ของผู้เรียนจบชั้นประถมศึกษาเป็นร้อยละ 60 ใน พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ยังได้วางนโยบายคร่าว ๆ
เกี่ยวกับการลดมลพิษทางนำ้า อากาศ กากของเสีย สารเป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดมลพิษ เช่น
สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารตะกั่วในนำ้ามันเชื้อเพลิง และการแก้ไข
ปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
ผลของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ปรากฏว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ใน
เกณฑ์ดี คือร้อยละ 8 ต่อปี จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 9 ต่อปี และประเทศไทยกำาลังจะพัฒนา
เข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือนิกส์ (NICs) อย่างไรก็ดี ในส่วนของสังคมปรากฏว่า แม้จะ
มีการพยายามมองถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ปัญหาสังคมที่เกิดจากการที่สถาบันครอบครัว
แตกแยกเนื่องจากการอพยพแรงงานสู่เมืองใหญ่หรือเมืองอุตสาหกรรมยังคงเป็นปัญหาสำาคัญ
ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเสื่อมโทรม
เนื่องจากการเร่งใช้ทรัพยากรจนมากกว่าอัตราเกิดทดแทนประกอบกับการขาดประสิทธิภาพของรัฐ
ในการควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรัดกุมอีกด้วย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)


เป็นแผนแรกที่ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจาก
การสรุปบทเรียนจากแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ผ่านมา ๆ ว่า “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนา
ไม่ยั่งยืน” ทำาให้ต้องสร้างแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของ
การพัฒนา มีการพัฒนาเป็นลักษณะองค์รวม โดยเปิดโอกาสให้คนในสังคมมีส่วนร่วม และ
มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำาคัญคือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชนและ
การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน เสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจโดยเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี เน้นการมีส่วนร่วม เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน นอกจากนี้
ยังกำาหนดแผนเพื่อรองรับวิกฤต โดยการปรับกรอบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนไป การลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อการพัฒนาคนและสังคม ปรับโครงสร้าง

10
การผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมด้วยการกระจายการผลิตและเพิ่มผลิตภาพ มีการปรับระบบ
การบริหารเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นต้น
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา จึงมี
การวางแผนงานในการพัฒนาศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย สุขอนามัย และจิตใจ การพัฒนา
สติปัญญา ทักษะและฝีมือแรงงาน และการจัดการด้านโครงสร้างประชากร ซึ่งในระดับประเทศ
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว แต่ในบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ยังคงมีสัดส่วน
ประชากรที่สูงซึ่งจะยังดำาเนินแผนการควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรต่อไป แต่ยกเลิก
การกำาหนดแผนควบคุมอัตราการเพิ่มประชากรในพื้นที่ที่มีอัตราการเกินทดแทนเท่ากันหรือตำ่ากว่า
อัตราการตาย เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคเหนือ นอกจากนี้อาจจะกล่าวได้ว่า
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนแรกที่เริ่มให้ความสนใจกับคนไทยต่างวัฒนธรรม หรือชนชายขอบ
ต่าง ๆ โดยได้สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์
ในการวางแผนพัฒนาโดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนต่างวัฒนธรรมเหล่านั้น ในส่วนของสถาบัน
ครอบครัวซึ่งยังเป็นปัญหาสำาคัญและทวีความวิกฤติมากขึ้นนั้น ในแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ได้มุ่งเน้นให้
ชุมชนเป็นที่พึ่งของครอบครัว โดยการกำาหนดบทบาทให้ชุมชนสามารถให้การศึกษาและดูแล
เยาวชนในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับ
ศักยภาพไม่วา่ จะเป็นการรวมกลุ่มด้านอาชีพ หรือการจัดองค์กรในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดจน
การกล่าวถึงบทบาทของชุมชนในฐานะผู้มีอำานาจตรวจสอบการทำางานของรัฐ ซึ่งจะช่วยส่งเสริม
การเป็นประชารัฐของประเทศไทยต่อไปอีกด้วย ในส่วนของภาคเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนา ฯ ดัง
กล่าวได้กำาหนดเป้าหมายไปที่การรักษาเสถียรภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยลด การ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 และรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ ที่
เหมาะสมเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี เพิ่มอัตราการออมภาคครัวเรือนให้อยู่ที่ร้อยละ 10 ของอัตราผลผลิต
รวมในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงในตลาดการเงินในกรณีที่เงินออมในประเทศไม่สามารถ
สนับสนุนการลงทุนในประเทศในประเทศได้อย่างเพียงพอ
ในปีที่เริ่มใช้แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 ประเทศไทยประสบกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
ครั้งใหญ่ที่สุด และส่งผลกระทบไปสู่ระบบเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นวงกว้าง จนได้รับการขนานนาม
ว่าเป็นวิกฤติต้มยำากุ้ง อันเป็นเครื่องชี้วัดได้เป็นอย่างดีว่า เศรษฐกิจไทยได้เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับ
ระบบเศรษฐกิจโลกแล้ว ดังนั้นในระหว่างการดำาเนินแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 จึงต้องมีการปรับแผน
เพื่อแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มคี วามมั่นคงและสร้างความเชื่อมั่นต่อการค้า
การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อค่าเงินบาทซึ่งเป็นกระจกสะท้อนที่เป็นรูปธรรมและส่งผลกระทบ
เป็นวงกว้างที่สุดของสภาความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทย โดยหลังจากมีประกาศเปลี่ยนแปลง
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินที่ทำาให้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์
สหรัฐ ฯ มีเสถียรภาพอยู่ที่ประมาณ 25 ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ในช่วงก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2540

11
ซึ่งเป็นวันประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ภายหลังจากวันดังกล่าวค่าเงินบาทขาดเสถียรภาพและมีค่า
ตกลงเรื่อย ๆ จนถึงจุดตำ่าสุดที่ประมาณ 56 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ.2541
ปัญหาดังกล่าว ทำาให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะเวลาหนึ่ง ภาคธุรกิจโดย
เฉพาะในสาขาการเงินการธนาคารจำาเป็นต้องปรับลดคนเป็นจำานวนมาก มีธรุ กิจที่ต้อง ปิด
กิจการลงเนื่องจากการหดตัวของรายได้ นอกจากนี้ดัชนีราคาที่ตกตำ่าลงทำาให้มูลค่าสินทรัพย์โดย
เฉพาะที่ดินที่เคยมีราคาสูงขึ้นสูงสุดในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 กลับถึงจุดตำ่าสุด ในช่วง
ของแผนพัฒนาฉบับที่ 8 มีการบังคับขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการ
เงินต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกรัฐบาลสั่งปิดเนื่องจากไม่อยู่ในสถานะที่จะดำาเนิน
ธุรกิจทางการเงินได้อย่างมั่นคง เป็นต้น
ผลของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 พบว่า ในช่วง พ.ศ.2540 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ในขณะที่ พ.ศ. 2541 ติดลบเฉลี่ยร้อยละ 10.4 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก
ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย และเป็นการตกตำ่าที่สุดอีกด้วย อย่างไรก็ดี อัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจได้กลับมาเป็นบวกอีกครั้งใน พ.ศ.2542 ที่ร้อยละ 4.4, พ.ศ.2543 ที่ร้อยละ 4.6 และ
ใน พ.ศ.2544 ที่ร้อยละ 1.9 ส่งผลให้มผี ู้ว่างงานใน พ.ศ.2541 กว่า 1.13 ล้านคน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)


แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9 นี้ นับเป็นแผนแรกที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามพระราชดำารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำาทางในการพัฒนาและบริหาร
ประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่ อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำารงอยู่ ได้
อย่างมั่ นคง และนำา ไปสู่ การพั ฒนาที่ สมดุ ล มี คุ ณภาพและยั่ งยื น ภายใต้ กระแสโลกาภิ วั ฒน์ และ
สถานการณ์ ที่ เปลี่ ยนแปลงต่าง ๆ โดยยังคงยึดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางต่อจาก
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 เช่นเดิม ทั้งนี้ จากการสรุปบทเรียนจากแผนพัฒนา ฯ ตั้งแต่ฉบับที่ 1-8 พบ
ว่า ปัญหาที่สำาคัญคือการขาดความสมดุลของการพัฒนา และการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืน กล่าวคือ
แผนพัฒนาฉบับก่อนหน้าส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวัตถุและเงินตราเป็นสำาคัญ
ขาดการคำานึงถึงเสถียรภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมี
ปัญหาในการดำาเนินแผนให้ได้ผลเกิดขึ้นจริงตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ในแผน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า เศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถดำารงอยู่อย่างมั่นคง
และเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ดังจะเห็นได้จากเมื่อต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจทุกครั้งก็จะทำาให้เกิด
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้างเสมอ ๆ นอกจากนี้แล้วยังมีปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทั้ง
ภายในและภายนอกประเทศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น กระแสโลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
ที่เริ่มมีความแปรปรวน ตลอดจนกติกาใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้

12
ภาคประชาสังคมเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการทำางานของรัฐมากยิ่งขึ้น ทำาให้การพัฒนา
ประเทศต้องดำาเนินการให้มีความสมดุลในทุก ๆ ด้านและต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับสภาพสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ
ประเทศไทยและคนไทยให้สามารถดำารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและพัฒนาอย่างสมดุลเพื่ออยู่ในสังคม
โลกที่กำาลังเปิดกว้างมากขึ้น
เป้าหมายทางเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงเป็นเรื่องของการสร้างดุลยภาพระหว่าง
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาด้านสังคม โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ย
ร้อยละ 4-5 ต่อปี อัตราการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นประมาณ 230,000 คนขึ้นไปต่อปี และกำาหนดเป้าหมาย
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดให้คงอยู่เฉลี่ยประมาณ
ร้อยละ 1-2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยจะต้องรักษาทุนสำารองเงินตราต่างประเทศ
ให้มีเสถียรภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ที่เพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตให้แข่งขันได้ โดยให้การส่งออกขยายตัวไม่ตำ่ากว่าร้อยละ 6 ต่อปี
ให้ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคเกษตรเพิม่ ขึน้ เฉลีย่ ร้อยละ 0.5 ต่อปี ผลิตภัณฑ์ การผลิตรวม
ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่ มขึ้ นเฉลี่ ยร้อยละ 2.5 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการตั้ งเป้าหมายใน
การเพิ่ มรายได้จากการท่องเที่ ยว โดยกำาหนดให้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ
7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ตำ่ากว่าร้อยละ 3 ต่อปี ในด้านของ
การพัฒนาด้านสังคมและการยกระดับคุณภาพชีวิต ได้กำาหนดให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากร
ที่สมดุล และขนาดครอบครัวที่เหมาะสม โดยรักษาแนวโน้มภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรให้อยู่ใน
ระดับทดแทนอย่างต่อเนื่อง (มีอัตราการเพิ่มที่ร้อยละ 0-1 ต่อปี) คนไทยมีสุขภาพดี มีคุณภาพ รู้
เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรมและจิตสำานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้น
ไป มีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ตำ่ากว่า 9 ปี ภายใน พ.ศ.2549 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย ให้ถึง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ตำ่ากว่าร้อยละ 50 ใน พ.ศ.2549 ลดจำานวนประชากร ที่
ยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12 จากจำานวนประชากรทั้งประเทศใน พ.ศ.2549 ขยายการประกัน
สุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคม
ที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ตลอดจนเพิ่มความเข้มแข็งให้ชุมชนและประชาสังคมและ
ใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งขับเคลือ่ นให้เกิดการมีสว่ นร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ รวมทัง้
ปรับระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเปิดโอกาส
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง เป็นต้น
ผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ปรากฏว่า อัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับ
ที่นา่ พอใจ คือ เฉลี่ยที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจน
ลดลง ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการดำาเนินการเสริม

13
สร้างสุขภาพอนามัย การมีหลักประกันสุขภาพที่มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพโดย
ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพย์ติด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)


มุ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนมองไปที่องค์ประกอบที่จะนำาไปสู่ความสุขมากกว่าการเน้น
เรื่องการขยายตัวในส่วนเศรษฐกิจและสังคม ได้อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
แนวปฏิบัติ มาเป็นแนวทางในการจัดทำาแผน
ในช่วงของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 สภาวะเศรษฐกิจของโลกกำาลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลง
จากการตกตำ่าของอำานาจนำาในทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่กลุ่มสหภาพยุโรป จีน
และอินเดีย กำาลังมีบทบาทนำาในระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเข้ามาแทนที่ ทำาให้กองทุนประกัน
ความเสี่ยงต่าง ๆ ต้องสร้างประสิทธิภาพในการลงทุนในหลักทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกมากขึ้น
ซึ่งจะยิ่งเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะผันผวนกับระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต
อีกครั้ง ในส่วนของเทคโนโลยีที่มีการก้าวกระโดดจากความสำาเร็จด้านพันธุวิศวกรรม นาโน
เทคโนโลยี เทคโนโลยีวัสดุ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สร้างเงื่อนไขใหม่ ๆ ในการพัฒนา
ซึ่งอาจจะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมไทยได้ นอกจากนี้
จากการดำาเนินการควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรในช่วงที่ผ่านมา ทำาให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากอัตราทดแทนใกล้เคียง 0 ทุกขณะ และคาดว่า อัตราทดแทน
จะเริ่มติดลบใน พ.ศ.2563 ซึ่งจะทำาให้ประชากรไทยมีจำานวนลดลง ในด้านของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม แม้สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะด้านป่าไม้จะดีขึ้นร้อยละ 28
ของพื้นที่ทั้งประเทศใน พ.ศ.2532 เป็นร้อยละ 32 ใน พ.ศ.2551 แต่ในด้านสิ่งแวดล้อมกลับเกิด
ปัญหาสภาวะโลกร้อนและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลกจนเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติ
ธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำานวนมากและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที ดังนั้นแผนพัฒนา ฯ
ฉบับดังกล่าวจึงต้องคำานึงถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศอย่างหลากหลายยิ่ง
ขึ้น จนเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาเพื่อ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness
Society) คนไทยมีคุณธรรมนำาความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคม
สันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและ
ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำารงไว้ซึ่งระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” โดยการ
กำาหนดเป้าหมายในการพัฒนาดังนี้
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ
ความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำารงชีวิตครอบคลุม
ทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับตนเองที่จะนำาไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว

14
ชุมชน และสังคมไทย โดยเพิ่มจำานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี พัฒนากำาลังแรงงาน
ระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ของกำาลังแรงงานทั้งหมด โดยรายได้เฉลี่ยของแรงงาน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และเพิ่มสัดส่วนนักวิจัยเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน พร้อมทั้งกำาหนด
ให้อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรค
ป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมอง
และนำาไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพร้อยละ 10
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชน
แบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำาแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบ
ประมาณ ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด โดยลดคดีอาชญากรรมลงร้อยละ 10 และขยายโอกาสการ
เข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อย
ละ 4 ภายในปี 2554
(3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความสมดุลและยั่งยืน
โดยให้สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึน้ เป็นร้อยละ 75
ภายในปี 2554 ผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นไม่ตำ่ากว่าร้อยละ 3 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกิน
ร้อยละ 4 ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 50
ความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน 1 : 1 ในระยะของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 สัดส่วนรายได้
ของกลุ่มที่มีรายได้สูงร้อยละ 20 ระดับบนต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ 20 ระดับล่าง
ไม่เกินร้อยละ 10ภายในปี 2554 และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2554
(4) เป้าหมายการสร้างความมัน่ คงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รักษาความอุดม
สมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพโดยให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 33 และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 ของพื้นที่ประเทศ รักษาความอุดม
สมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในเขตพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ชีวมณฑล รักษาพื้นที่ทำาการเกษตร
ในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า 31 ล้านไร่ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับ
ที่เหมาะสมต่อการดำารงคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ โดยรักษาคุณภาพ
ของแหล่งนำ้าอยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 คุณภาพอากาศ
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กต้องมีค่าเฉลี่ย 24 ชัว่ โมงไม่เกิน 120
มก./ลบ.ม. อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรลดลงร้อยละ 5 จากปี 2545 คือ
ไม่เกิน 3.5 ตัน/คน/ปี ควบคุมอัตราการผลิตขยะในเขตเมืองไม่ให้เกิน 1 กก./คน/วัน และจัดการ
ของเสียอันตรายจากชุมชนให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
(5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขนึ้ มีคะแนนภาพลักษณ์
ของความโปร่งใสอยู่ที่ 5.0 ภายในปี 2554 ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำาเนินงาน

15
ที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น ลดกำาลังคนภาคราชการส่วนกลางให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2554 ธรรมาภิบาล
ในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้และมีอิสระ
ในการพึ่งตนเองมากขึ้น และภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้น
ในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัย พัฒนา
องค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรม ประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธี
จำานวนปีละไม่ตำ่ากว่า 20 เรื่อง

ตารางสรุป
แผนฯ ที่ ระยะเวลา จุดเด่นที่สำาคัญ นายกรัฐมนตรี
1 2504- พัฒนาการลงทุนพื้นฐานในรูปของระบบคมนาคม ถนอม กิตติขจร
2509 และขนส่ง
2 2510- พัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริม ถนอม กิตติขจร
2514 การลงทุนจากต่างประเทศ
3 2515- มุ่งเน้นการกระจายรายได้เพื่อลดช่องว่างทางสังคม สัญญา ธรรมศักดิ์
2519 โดยการขยายการบริการด้านเศรษฐกิจและสังคม ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ของรัฐไปในเขตชนบทและส่งเสริมการวางแผน คึกฤทธิ์ ปราโมช
ครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวที่ยากจนลดภาระ
ทางเศรษฐกิจ
4 2520- ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชน เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
2524 ให้น้อยลง
5 2525- แก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง และ เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
2529 เน้นบทบาทและความร่วมมือจากภาคเอกชน เปรม ติณสูลานนท์
ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
6 2530- ยกระดับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เปรม ติณสูลานนท์
2534 โดยมุ่งการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องและ ชาติชาย ชุณหะวัณ
สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
ของตลาดโลก
7 2535- เน้นให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สุจินดา คราประยูร
2539 การกระจายรายได้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อานันท์ ปันยารชุน
ในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชวน หลีกภัย
บรรหาร ศิลปอาชา
ชวลิต ยงใจยุทธ

16
แผนฯ ที่ ระยะเวลา จุดเด่นที่สำาคัญ นายกรัฐมนตรี
8 2540- เน้นการพัฒนาที่ทำาให้เกิดความสมดุลระหว่าง ทักษิณ ชินวัตร
2544 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
9 2545- การเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน สุรยุทธ์ จุลานนท์
2549 ในทุกระดับทุกขั้นตอน และได้อันเชิญแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำารัส
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญา
นำาทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
10 2550- องค์ประกอบที่จะนำาไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืน สมัคร สุนทรเวช
2554 ความสมดุลของการพัฒนา การดำารงอยู่ในสังคมโลก สมชาย วงศ์สวัสดิ์
อย่างมีศักดิ์ศรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

สรุป
โดยทั่วไปแล้วการจัดทำาแผนพัฒนาเศรษฐกิจมีเป้าหมายพื้นฐานที่สำาคัญอยู่ 4 ประการคือ
1. การเร่งรัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
3. การกระจายรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
4. การรักษาสมดุลยภาพทางการค้าและการเงิน
เมื่อพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้ง 10 ฉบับจะพบว่า แผน ฯ ที่ 1 และ
2 มุ่งเน้นเป้าหมายในการเร่งรัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาสาธารณูปโภค
และโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก จนกระทั่งเกิดปัญหาด้านการกระจายรายได้และการเจริญเติบโต
แผน ฯ ที่ 3 จึงได้ให้ความสำาคัญกับการพัฒนาสังคม การกระจายรายได้และการกระจาย
ความเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่ส่วนภูมิภาค และส่งขยายผลต่อในแผน ฯ ที่ 4 ที่ให้ความสำาคัญ
กับการกระจายความเติบโตไปสู่ทุกจังหวัด การสร้างงานในชนบท และการพัฒนาสวัสดิการสังคม
ให้เข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารมากขึ้น ด้วยการเปิดโอกาสให้แต่ละจังหวัดสามารถ
วางแผนพัฒนาจังหวัดได้ด้วยตนเอง ถือเป็นก้าวแรกของการวางแผนจากส่วนล่าง (Bottom – Up
Planning)
ในแผน ฯ ที่ 5 และ 6 มุ่งเน้นไปที่การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการสร้างดุลยภาพ
ด้านการค้าและการเงิน และพยายามรักษาศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ การกระจายรายได้-
การเจริญเติบโต และการแก้ไขปัญหาความยากจน เริ่มมีการกระจายความร่วมมือในการกำาหนด
ทิศทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคเอกชนมากขึ้น และมีการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ เช่น Eastern Sea Board

17
นับตั้งแต่แผน ฯ ที่ 7 เป็นต้นมา มีการเริ่มให้ความสนใจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยในแผน ฯ ที่ 7 นอกจากการรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสนใจ
เรื่องของคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในแผนฯ 8 เน้นการเจริญเติบโตอย่างสมดุลทั้ง ทาง
ด้านเศรษฐกิจ-สังคม-ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกล่าวถึงการเน้นคน เป็น
ศูนย์กลาง ในขณะที่แผน ฯ ที่ 9 นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ใน
การทำาแผนอย่างกว้างขวางและได้นำาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ให้ก้าวหน้าควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลและยั่งยืน จนกระทั่งถึงแผน ฯ ที่ 10 ในปัจจุบัน
ที่มุ่งเน้นการนำาประเทศไปสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” โดยให้ความสำาคัญ กับความ
สมดุลของเศรษฐกิจ-สังคม-ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากกว่าตัวเลข การเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง
สมชาย ภคภาภาสน์วิวัฒน์. การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทย.กรุงเทพ.คบไฟ.2542

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. กระบวนการกำาหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย : บทวิเคราะห์เชิง


ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ.2475-2530. กรุงเทพ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
2532

เมธี กรองแก้ว (บรรณาธิการ). สหรัฐอเมริกากับการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงใน


ประเทศไทย. กรุงเทพ: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2532

สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ www.nesdb.go.th

18

You might also like