You are on page 1of 18

ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.

ตน 92

บทที่5
ความรูพื้นฐานทั่วไปทางฟสิกสดาราศาสตร

5.1 กาแลกซีและกระจุกดาว
เมื่อเรามองขึ้นไปบนทองฟาในยามค่ําคืน สิ่งที่เรามองเขาไปนั้นเปนเวิ้งอวกาศอันกวางใหญไพศาล
ไมวาจะมองเขาไปในทิศทางไหนก็จะเห็นดาวนับแสนนับลานดวง โดยเฉพาะอยางยิ่งในบางทิศทางจะเห็น
ดาวอยูเ รียงรายกันหนาแนน เปนแถบขาวฟา พาดผานทองฟาขนาดกวางประมาณ 15 องศา บริเวณกลุมดาว
คนยิงธนู (Sagittarius) กลุมดาวแมงปอง (Scorpius) กลุมดาวนกอินทรี (Aquila) และกุลม ดาวหงส
(Cygnus) แถบขาวฟาซึ่งเกิดจากดาวจํานวนมหาศาล รูจ ักกันในนามของ “ทางชางเผือก (Milky Way)”

คําถาม : นักเรียนรูห รือไมวา ทางชางเผือกคืออะไร เกี่ยวของกับโลกเราอยางไร ทางชางเผือกมีรูปราง


อยางไร

รูปที่ 5.1 กาแลกซีทางชางเผือกบริเวณกลุมดาวแมงปอง


นักดาราศาสตร พบวา ดาวจํานวนนับแสนลานดวง อาจอยูรวมกันเปนระบบใหญมาก และเรียก
ระบบดาวในลักษณะนีว้ า “กาแลกซี (Galaxy)” สวนแถบขาวฟาที่พาดผานทองฟานัน้ เปนกาแลกซีที่ระบบ
สุริยะเราเปนสมาชิกอยู และมีชื่อเรียกวา “กาแลกซีทางชางเผือก (Milky Way Galaxy)”
จากการศึกษากาแลกซีทางชางเผือกโดยละเอียด ทั้งในแถบความยาวคลื่นที่มองเห็นได (Visible
Wavelength) และแถบความยาวคลื่นที่มองไมเห็น (Invisible Wavelength) เชน แถบความยาวคลื่นวิทยุ แถบ
ความยาวคลื่นอินฟราเรด เปนตน พบวากาแลกซีทางชางเผือก เปนกาแลกซีรูปกังหันหรือรูปกนหอยที่มีแกน
ตรงกลาง (Barred Spiral Galaxy) คลายๆกับกาแลกซีเพื่อนบานของเรา ที่มีชื่อเรียกวา “กาแลกซีแอนโดรเม
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 93

ดา (Andromeda Galaxy)” คาดกันวากาแลกซีทางชางเผือกมีเสนผานศูนยกลางยาวถึง 100,000 ปแสง และ


ระบบสุริยะของเรามีตําแหนงอยูที่ระยะ 27,500 ปแสง จากศูนยกลางของกาแลกซีทางชางเผือก

รูปที่ 5.2 ภาพวาดกาแลกซีทางชางเผือกและตําแหนงของดวงอาทิตย

คําถาม : (ก) ทําไมดาวจํานวนมากมายจึงมาอยูรวมกันเปนกาแลกซีได


(ข) ลองวิจารณดูวา ทําไมกาแลกซีทางชางเผือก จึงเปนกาแลกซีทมี่ ีรูปรางเหมือนกังหัน
(ค) มีวัตถุทองฟาชนิดอื่นใดที่เราเห็นบนทองฟา ที่มีดาวมากกวา 1 ดวง อยูรว มกัน

r
m1 m2

ถาลองพิจารณาดาวฤกษ 2 ดวง หรือวัตถุ 2 กอน ที่มีมวล m 1 และ m 2 อยูหางกันเปนระยะทาง r


แรงโนมถวงหรือแรงดึงดูด (F ) ระหวาง m1 และ m 2 มีคา

G m 1m 2
F =
r2

โดย Gเปนคาคงที่ความโนมถวงสากล (Universal Gravitational Constant) มีคา


นิวตัน.เมตร2/กิโลกรัม2
และมีคาพลังงานศักยเนื่องจากความโนมถวง (Gravitational Potential Energy, U) เทากับ
G m1m2
U =−
r
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 94

จึงสรุปไดวา ดาวฤกษ 2 ดวง ยิ่งอยูใกลกนั มาก จะมีแรงดึงดูดเนื่องจากความโนมถวงซึ่งกันและกัน


มากขึ้น
ในกรณีที่มีดาวฤกษ 3 ดวง อยูใกลกนั ตามรูป
m2

r12 r23

m1
r13 m3

เราอาจเขียนคาพลังงานศักยเนื่องจากความโนมถวงของระบบดาวทั้ง 3 ดวง มีคา

G m1m2 G m1m3 G m2 m3
U =− − −
r12 r13 r23

นักเรียนลองนึกดูวา กาแล็กซีทางชางเผือกซึ่งเปนระบบดาวขนาดใหญ ประกอบดวย สมาชิกที่เปน


ดาวฤกษจํานวนมากมายถึงแสนลานดวง จะมีคาพลังงานศักยเนื่องจากความโนมถวงของระบบเทาใด
นักดาราศาสตร คาดวา นอกจากแรงโนมถวงระหวางดาวฤกษในกาแล็กซีแลว ณ บริเวณใจกลาง
ของกาแลกซีอาจมีหลุมดํามวลมหาศาล (Supermassive Black hole) อยูบริเวณใจกลางของกาแล็กซี นักเรียน
อาจลองคิดดูวา หลุมดํามวลมหาศาลดังกลาวนี้มีผลอยางใดตอดาวฤกษจํานวนมหาศาลในกาแล็กซีหรือไม
อยางไร
จากการสังเกตการณดว ยกลองโทรทรรศนขนาด
ใหญ และกลองโทรทรรศนอวกาศ ฮับเบิล (Hubble Space
Telescope) นักดาราศาสตรพบกาแลกซีเปนจํานวนมาก
กระจัดกระจายอยูทวั่ ไปในอวกาศ บางบริเวณนักดาราศาสตร
พบวา กาแล็กซีจํานวนมากมายอยูรวมกันเปนกระจุก เชน
กระจุกกาแลกซีในกลุมดาวราศีกันย (Virgo Cluster) กระจุก
กาแล็กซีในกลุมดาวโคมาเบเรนิซ (Coma Cluster) เปนตน
รูปที่ 5.3 กระจุกกาแลกซีในกลุมดาวราศีกันย กาแล็กซีทางชางเผือกนั้น นักดาราศาสตรพบวาเปนสมาชิก
ของกระจุกกาแล็กซี ที่มีชื่อเรียกวา “กระจุกกาแล็กซีทองถิ่น (Local Cluster)” โดยมีสมาชิกที่เปนกาแล็กซี
มากกวา 20 กาแล็กซี สมาชิกของกระจุกกาแล็กซีทองถิ่น ที่รูจักกันดี ไดแก กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซี
แมกเจลแลนใหญ (Large Magellanic Cloud) กาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก (Small Magellanic Cloud)
นักดาราศาสตรยังพบอีกวา กาแล็กซีตางๆ ยังมีรูปรางแตกตางกันไป ซึ่งอาจแบงออกไดเปน 3 กลุม
ใหญ ๆ ตามรูปรางที่ปรากฏ ดังนี้
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 95

รูปที่ 5.4 ภาพวาดกาแลกซีตามการแบงของฮับเบิล

(ก) กาแล็กซีทรงรี (Elliptical Galaxy)


(ข) กาแล็กซีกงั หัน หรือ สไปรัล (Spiral Galaxy) ซึ่งแบงยอยออกเปน 2 แบบคือ
-กังหันปกติ (Normal Spiral)
-กังหันมีแกน (Barred Spiral)
(ค) กาแล็กซีไรรูปราง (Irregular Galaxy)

คําถาม : กาแล็กซีทางชางเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ กาแล็กซีแมกเจล


แลนเล็ก กาแล็กซีเอ็ม 87 (M87) และกาแล็กซี เอ็น จี ซี 7479 (NGC 7479) เปนกาแล็กซี
แบบใดบาง

รูปที่ 5.5 กาแลกซีแบบตางๆ

นอกจากดาวฤกษที่มีอยูจ ํานวนมากมายในกาแล็กซีแลว ยังพบวามีกาซและฝุนปะปนอยูเปนจํานวน


มาก เห็นเปนแถบดํามืดเห็นอยูบางบริเวณในกาแล็กซี นักเรียนลองสังเกตกาแล็กซีทางชางเผือก นักเรียน
เห็นกาซและฝุน อยูบริเวณใดบาง
องคประกอบของกาซและฝุนในอวกาศ สวนใหญจะเปนกาซไฮโดรเจนและกาซฮีเลียม บางบริเวณ
ที่มีกาซและฝุน ในอวกาศเหลานี้เปนจํานวนมากอาจพบวามีดาวฤกษเกิดขึ้นใหมเปนจํานวนมาก ตัวอยางเชน
บริเวณเนบิวลาใหญในกลุมดาวนายพราน (Great Nebula in Orion) เปนตน ดังนัน้ อาจกลาวไดวา ดาวฤกษ
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 96

เกิดจากการยุบตัวของกาซและฝุนในอวกาศ ภายใตอิทธิพลของความโนมถวงระหวางอนุภาคฝุนและกาซ
เหลานั้น จนกอนกาซและฝุนขนาดใหญนี้มีอุณหภูมิบริเวณใจกลางสูงมาก สามารถจุดปฏิกิริยาเทอรโม
นิวเคลียร (Thermonuclear Reaction) บริเวณใจกลางของกลุมกาซ เปลงแสงและความรอนปริมาณมหาศาล
ออกมาได กลายสภาพเปน “ดาวฤกษ (Star)” ในที่สุด แสงที่เปลงออกมาจากดาวฤกษ อาจทําใหกาซและฝุน
ในอวกาศบริเวณขางเคียงสวางขึ้นมาได เรียกกาซและฝุนที่สวางเหลานี้วา “เนบิวลาสวาง (Bright Nebula)”
อยางไรก็ตาม กาซและฝุนในอวกาศบางบริเวณ อาจกอกําเนิดดาวฤกษอยูดานหลัง และแสงจากดาวฤกษไม
อาจทะลุผานกาซและฝุนที่บดบังอยูดานหนาได แตไปสะทอนกาซและฝุนที่เปนพืน้ หลังใหสวางขึ้นมา เรา
เรียกกาซและฝุนที่อยูดานหนาของดาวฤกษที่ปรากฏมืดดํานี้วา “เนบิวลามืด (Dark Nebula)” ตัวอยางเชน
เนบิวลาหัวมา (Horse Head Nebula) ดาวบริเวณเข็มขัดนายพราน (Orion Belt) เปนตน

รูปที่ 5.6 บริเวณใจกลางเนบิวลาใหญและเนบิวลาหัวมาในกลุมดาวนายพราน

ตอนนี้นักเรียนคงทราบแลววา กาแล็กซีเปนระบบดาวขนาดใหญทมี่ ีสมาชิกเปนดาวฤกษจํานวน


มหาศาล อยางไรก็ตาม นักดาราศาสตรยังพบวา มีระบบดาวฤกษขนาดเล็ก ที่เรียกวา “กระจุกดาว (Star
Cluster)” อยูเปนจํานวนมาก กระจัดกระจายอยูทวั่ ไปในอวกาศ
กระจุกดาวเปนระบบดาวทีม่ ีดาวฤกษเปนสมาชิกอยูรวมกันภายใตแรงโนมถวงระหวางกัน คาดวา
ดาวฤกษทเี่ ปนสมาชิกในกระจุกดาวนั้น เกิดจากกลุมกาซและฝุนขนาดใหญมหึมากลุมเดียวกัน โดยดาวฤกษ
จะกอกําเนิดจากการยุบตัวของกาซและฝุนในบริเวณตางๆ กลายเปนดาวฤกษจํานวนมากอยูใ กลกนั สมาชิก
ของดาวฤกษในกระจุกดาวอาจมีจํานวนตั้งแตไมกี่รอยดวง จนกระทั่งจํานวนเปนหมืน่ หรือแสนดวง

กระจุกดาวแบงออกเปน 2 ชนิดคือ
(ก) กระจุกดาวเปด (Open Cluster) หรือ กระจุกดาวกาแล็กติก (Galactic Cluster) เปนกระจุกดาวที่
ประกอบดวยสมาชิกที่เปนดาวฤกษจํานวนหลายรอยดวงอยูรวมกัน สวนมากเปนดาวฤกษทยี่ ังมีอายุนอย
และมักพบอยูบ ริเวณระนาบของกาแลกซี ตัวอยางเชน กระจุกดาวลูกไก (Pleiades) กระจุกดาวฮายเอเดส
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 97

(Hyades) ในกลุมดาวราศีพฤษภ หรือ กลุมดาววัว กระจุกดาวคู h และ χ ในกลุมดาวเปอรซิอัส (Pereus) เปน


ตน
(ข) กระจุกดาวปด หรือ กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เปนกระจุกดาวที่ประกอบดวย
สมาชิกที่เปนดาวฤกษจํานวนหลายหมื่นหรือหลายแสนดวงอยูรว มกันเปนกระจุกทรงกลม สวนมากเปนดาว
ฤกษที่มีอายุมาก และมักพบอยูบริเวณฮาโล (Halo) ของกาแลกซี

รูปที่ 5.7 กระจุกดาวลูกไกและกระจุกดาวปดโอเมกา เซนทอรี

คําถาม : บริเวณฮาโล (Halo) ของกาแล็กซีคืออะไร และทําไมดาวฤกษที่เปนสมาชิกของกระจุก


ดาวปด หรือ กระจุกดาวทรงกลมจึงมีอายุมาก

5.2 ระบบดาวคู
ระบบดาวคู เปนระบบดาวที่ประกอบดวย สมาชิกที่เปนดาวฤกษ 2 ดวง อยูภ ายใตสนามความโนม
ถวงซึ่งกันและกัน ดังนั้นดาวฤกษทั้ง 2 ดวงในระบบดาวคูจึงโคจรรอบกัน ในบรรดาดาวฤกษทั้งหมดพบวา
ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกวาเปนระบบดาวคู โดยทั่วไปแลวสมาชิกทั้ง 2 ดวงของระบบดาวคูจ ะถือกําเนิด
ในกลุมกาซเดียวกัน ดังนั้นสมาชิกแตละดวงจึงมีอายุและองคประกอบเริ่มตนเหมือนกัน อยางไรก็ตามอาจ
เปนไปไดวาระบบดาวคูบางระบบอาจเกิดจาก “กระบวนการจับโดยความโนมถวง (Gravitational Capture
Processes)” ระหวางดาวเดีย่ วๆ หรือเกิดการแลกเปลี่ยนคูซ ึ่งกันและกันระหวางระบบดาวคูดว ยกันก็ได

รูปที่ 5.8 ภาพวาดดาวคูชื่อ ไมซาร(Mizar) ในกลุมดาวหมีใหญ


ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 98

การศึกษาวงโคจรของระบบดาวคู ทําใหสามารถวัดมวลของดาวฤกษไดอยางแมนยํา การทราบมวล


ของดาวฤกษอยางถูกตอง จะทําใหทราบวงจรชีวิตและแนวทางการวิวัฒนาการของดาวฤกษไดอยางถูกตอง
ดวย
คําถาม : นักเรียนทราบหรือไมวา นักดาราศาสตรสามารถคํานวณหามวลของสมาชิกแตละดวง
ในระบบดาวคูไ ดอยางไร

พิจารณาดาว 2 ดวง ที่มีการโคจรรอบจุดศูนยกลางของมวลรวมกัน ตามรูป

a1 a2
m1 m2
O

สมมติวา ดาวฤกษทั้ง 2 ดวงมีมวล m1 และ m2 ตามลําดับ และดาวฤกษแตละดวงอยูหางจากจุด


m
ศูนยกลางของมวล (O) เปนระยะ a1 และ a2 ตามลําดับ แลว คาอัตราสวนมวล ( 1) อาจหาไดจาก
m2
ความสัมพันธของระยะ a1 และ a 2 ดังนี้

m 1 a2
= (1)
m 2 a1

และถาดาวฤกษทั้ง 2 ดวง มีระยะหางกัน a ( = a1 + a 2 ) และมีคาบการโคจรรอบกัน (Period)


เทากับ P แลว จากกฎขอที่ 3 ของเคปเลอร พบวา

4π 2
P2 = a3 (2)
G (m 1 + m 2 )
ดังนั้นจากสมการ (1) และ (2) นักเรียนอาจคํานวณคามวลของดาวฤกษแตละดวง m 1 และ m 2 ได
นอกจากนี้ ยังพบวาระบบดาวคูบางระบบประกอบดวย สมาชิกมากกวา 2 ดวงขึ้นไป เรียกวา “ระบบ
ดาวพหุ (Multiple Systems)” โดยพบวาประมาณ 1 ใน 5 ของระบบดาวคูจะเปนระบบดาวพหุ อยางไรก็ตาม
ดาวที่เพิ่มเขามาอาจเปนดาวฤกษหรือดาวเคราะหกไ็ ด แตมักจะสังเกตไดยากเนื่องจากมีขนาดเล็กและความ
สวางนอยมากจนสังเกตเห็นดวยตาเปลาไมได

คําถาม : ถาดาวที่เพิ่มเขามาในระบบดาวคูสังเกตเห็นไดยากแลว นักดาราศาสตรทราบไดอยางไรวา


มีดาวดวงที่ 3 อยูในระบบดาวคู
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 99

นักดาราศาสตรจําแนกระบบดาวคูออกเปน 4 ประเภทใหญ ๆ ไดแก

รูปที่ 5.9 ระบบดาวคูทั้ง 4 แบบ


(1) ระบบดาวคูที่มองเห็นได (Visual Binaries) ซึ่งสมาชิกทั้ง 2 ดวง สามารถมองเห็นแยกกันไดโดย
ตาเปลาหรือใชกลองดูดาว นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตเห็นการโคจรของสมาชิกทั้ง 2 ดวงรอบกันได
(2) ระบบดาวคูแบบการวัดดาราศาสตร (Astrometric Binaries) ซึ่งสมาชิกดวงหนึ่งมีความสวาง
มากกวาสมาชิกอีกดวงหนึ่ง ทําใหสามารถสังเกตเห็นสมาชิกดวงสวางไดเพียงดวงเดียวเทานัน้ อยางไรก็
ตาม จากการสังเกตการณพบวา สมาชิกดังกลาวจะมีการเคลื่อนที่สายเปนคาบ (Oscillatory Motion) รอบ
สมาชิกอีกดวงหนึ่งซึ่งมองไมเห็น
(3) ระบบดาวคูสเปกโทรสโคป (Spectroscopic Binaries) ซึ่งระบบดาวคูประเภทนี้ไมสามารถ
สังเกตเห็นสมาชิกทั้ง 2 ดวงแยกกันได แตพบวาเสนสเปกตรัมของระบบดาวคูทถี่ ายไดจากเครื่องแยกแสง
(Spectrograph) มีการเลื่อนกลับไปกลับมาได
(4) ระบบดาวคูอุปราคา (Eclipsing Binaries) ซึ่งระบบดาวคูประเภทนี้ สังเกตเห็นเปนดาวดวงเดียว
เทานั้น เนื่องจากสมาชิกทั้ง 2 ดวงอยูใกลกันมาก เนื่องจากระนาบวงโคจรของระบบดาวคูประเภทนี้ เกือบ
อยูในแนวสายตา เราจึงเห็นดาวทั้ง 2 ดวงเคลื่อนที่บังกัน (Eclipse) ระบบดาวคูอปุ ราคาจึงแปรแสงไดเมื่อ
สมาชิกทั้ง 2 ดวงเคลื่อนที่บังกัน

รูปที่ 5.10 ภาพวาดแบบจําลองการโคจร


ของดาวคูแบบอุปราคาและกราฟแสง

คําถาม : (1) ใหนักเรียนศึกษากราฟแสง (Light Curve) ของระบบดาวคูอุปคราและทําความเขาใจ


กลไกการแปรแสงที่สัมพันธกับการโคจรบังกันของสมาชิกในระบบดาวคูอุปราคา
(2) นักเรียนทราบหรือไมวา ถาดาวฤกษ 2 ดวงอยูใ กลกันมาก ดังเชนระบบดาวคู
สเปกโทรสโคปหรือระบบดาวคูอุปราคาแลว แรงโนมถวงระหวางดาวฤกษทั้ง 2 ดวง
จะมีผลอยางไรกับระบบดาวคูดังกลาว
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 100

5.3 กําเนิดและการวิวัฒนาการของดาวฤกษ
ดาวฤกษเกิดจากการยุบตัวของสารระหวางดาว (Interstellar Matter) หรือเนบิวลา เนื่องจากสาร
ระหวางดาวมีองคประกอบสวนใหญเปนไฮโดรเจน ดังนั้นดาวฤกษจึงเปนกอนกาซไฮโดรเจนขนาดใหญที่
สามารถเปลงแสงไดดว ยตัวเอง

คําถาม : ดาวฤกษเปลงแสงและความรอนออกมาไดอยางไร

ดวงอาทิตยเปนดาวฤกษสีเหลือง ที่มีมวลนอย (Low Mass Star) และอยูใ กลโลกที่สุด ดวงอาทิตยจึง


เปนดาวฤกษทนี่ ักดาราศาสตรศึกษามากทีส่ ุด เมื่อเทียบกับดาวฤกษดวงอื่นๆ ดวงอาทิตยเกิดจากการยุบตัว
ของสารระหวางดาว เมื่อประมาณ 5,000 ลานปมาแลว และเนื่องจากนักดาราศาสตรไดคํานวณอายุของดวง
อาทิตยวาประมาณ 1 หมื่นลานป ดังนั้นดวงอาทิตยจะสองแสงสวางตอไปไดอีกประมาณ 5,000 ลานป
กอนที่จะสูญสลายไปตามวัฎจักรการวิวัฒนาการของดาวฤกษ

รูปที่ 5.11 ภาพวาดแบบจําลองวิวัฒนาการของดาวฤกษมวลนอย

การยุบตัวของกลุมกาซในอวกาศ เกิดจากแรงโนมถวงระหวางอะตอมหรือโมเลกุลของกาซใน
เนบิวลาเอง เมื่อกาซยุบตัวลง ความดันของกาซจะสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คืออุณหภูมิของกอนกาซนี้จะสูงขึ้น
ตามลําดับ ยิ่งกาซยุบตัวตอไปเรื่อยๆ บริเวณแกนกลางของกาซนี้จะเริม่ มีอุณหภูมิสูงมาก ชวงนี้กลุมกาซจะ
เริ่มเขาสูสมดุลระหวางแรงโนมถวงที่ทําใหกาซยุบตัวกับแรงดันภายในจากแกนกลางของกาซ แตยังไม
สมบูรณ จึงมีการพนกาซออกมาเปนลํา หรือที่เรียกวา “เจ็ต (Jet)” เปนระยะๆ อยางไรก็ตาม ขณะนี้บริเวณ
ใจกลางกลุมกาซมีอุณหภูมิสงู พอที่กลุมกาซจะเริ่มแผพลังงานความรอนและแสงสวางออกมาไดบาง เรียก
ชวงนีว้ า “สภาพกอนดาวฤกษ (Protostar)” ซึ่งแกนกลางจะมีอุณหภูมิสูงถึงหลายแสนองศาเซลเซียส
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 101

เมื่อแรงโนมถวงดึงดูดใหกาซยุบตัวลงไปอีก ความดันที่บริเวณแกนกลางจะสูงมากและแกนกลางมี
อุณหภูมิสูงถึง 15 ลานองศาเซลเซียส ณ สภาวะเชนนี้อะตอมของไฮโดรเจนจะแตกออก โดยอิเล็กตรอน
หลุดออกจากอะตอม เหลือแตนิวเคลียสของไฮโดรเจนหรือโปรตอน นั่นเอง และอุณหภูมิ 15 ลานองศา
เซลเซียส นี้สูงมากพอที่จะกอใหเกิดปฏิกิรยิ าเทอรโมนิวเคลียร (Thermonuclear Reaction) หลอมนิวเคลียส
ของไฮโดรเจนเปนนิวเคลียสของฮีเลียม (หรือที่รูจักกันอีกชื่อหนึ่งวา “อนุภาคอัลฟา”) แลวปลอยพลังงาน
ความรอนและแสงสวางออกมา ขณะนี้จะเกิดความสมดุลระหวางแรงโนมถวงและแรงดันของกาซอยาง
สมบูรณ กอนกาซรอนนี้กลายสภาพเปน “ดาวฤกษ (Star)” ที่สมบูรณ

คําถาม : ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส (Nuclear Fusion) หรือปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรบริเวณใจกลาง


ของดาวฤกษ ปลดปลอยพลังงานมากนอยเทาใด
ปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรทบี่ ริเวณแกนกลางของดาวฤกษ เกิดจากนิวเคลียสของไฮโดรเจนหรือ
โปรตอน 4 ตัว หลอมไปเปนนิวเคลียสของฮีเลียม หรือ อนุภาคอัลฟา 1 ตัว พรอมกับการปลดปลอยพลังงาน
จํานวนมหาศาลออกมา
4 H → He + พลังงานมหาศาล
จากปฏิกิริยาดังกลาว พบวามวลของนิวเคลียสของฮีเลียมที่เกิดขึน้ มีคานอยกวามวลของนิวเคลียส
ของไฮโดรเจน 4 ตัวรวมกัน ไอนสไตน (Einstein) พบวา มวลที่หายไป (m) จากปฏิกิริยาการหลอม
นิวเคลียสนี้ กลายไปเปนพลังงาน (E) จํานวนมหาศาล ตามสมการ
E = mc 2
โดย c เปนอัตราเร็วแสงในอวกาศมีคาเทากับ 300,000 กิโลเมตร/วินาที
ขั้นตอนการคํานวณพลังงานที่เกิดจากปฏิกริ ิยาเทอรโมนิวเคลียรของนิวเคลียสของไฮโดรเจน เปน
ดังนี้
4 H = 4 x 1 . 6726 x 10 −27 กิโลกรัม
= 6 . 6905 x 10 −27 กิโลกรัม
He = 6 . 6465 x 10 −27 กิโลกรัม

ดังนั้น มวลที่หายไป (m ) = 0 . 440 x 10 −27 กิโลกรัม

E = mc 2
= (0.440 x10 −27 kg ) x (3 x108 m / s ) 2

= 3.96 x10 −12 จูล


ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 102

ทุกวินาที ดวงอาทิตยจะหลอมนิวเคลียสของไฮโดรเจน 564 ลานตัน ไปเปนนิวเคลียสของฮีเลียม


560 ลานตัน และมวลจํานวน 4 ลานตันถูกเปลี่ยนไปเปนพลังงาน โดยมวล 1 กิโลกรัม จะเปลี่ยนไปเปน
พลังงานเทียบไดกับพลังงานไฟฟาจํานวน 25,000 ลานกิโลวัตต
ดาวฤกษจะเปลงแสงและพลังงานตอไปเรือ่ ยๆ โดยชวงชีวิตของดาวฤกษจะยาวหรือสั้น จะขึ้นอยู
กับมวลของดาวฤกษนนั้ ๆ

คําถาม : ใหนักเรียนลองวิเคราะหดวู า ดาวฤกษที่มีมวลมาก (High Mass Star) กับดาวฤกษที่มีมวลนอย


ดวงไหนจะมีชว งชีวิตยืนยาวกวากัน
ดาวฤกษดํารงชีวิตอยูได ดวยการเผาผลาญนิวเคลียสของไฮโดรเจนโดยปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียร
อยางไรก็ตาม เมื่อนิวเคลียสของไฮโดรเจนบริเวณแกนกลางของดาวฤกษถูกหลอมเปนนิวเคลียสของฮีเลียม
หมด ดาวฤกษก็จะหมดอายุลง
เมื่อแกนกลางของดาวฤกษกลายเปนนิวเคลียสของฮีเลียมหมด ปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรจะยุติลง
เนื่องจากอุณหภูมิ 15 ลานองศาเซลเซียส ไมสามารถเผาไหมนิวเคลียสของฮีเลียมตอได ผลก็คือ แรงดันจาก
ภายในแกนกลางของดาวฤกษ น อ ยกว า แรงโน ม ถ ว งทํ า ให แ กนกลางของดาวยุ บ ตั ว ลง การยุ บ ตั ว ของ
แกนกลางทําใหอุณหภูมิสูงขึ้นมากกวาเดิมเปน 100 ลานองศาเซลเซียส ซึ่งสูงพอที่จะจุดปฏิกิริยาเทอรโม
นิ ว เคลี ย ร ห ลอมรวมนิ ว เคลี ย สของฮี เ ลี ย มเป น นิ ว เคลี ย สของคาร บ อน ในขณะเดี ย วกั น นิ ว เคลี ย สของ
ไฮโดรเจนที่อยูรอบนอกแกนฮีเลียม จะมีอุณหภูมิสูงตามขึ้นไปดวย จนกระทั่งถึงคา 15 ลานองศาเซลเซียส
จะเกิดการเผาไหมนิวเคลียสของไฮโดรเจนรอบแกนฮีเลียมโดยปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียร การเผาไหม
ดังกลาวเปนผลใหเปลือกของดาวฤกษถูกผลักดันออกดวยแรงมหาศาล เปนผลใหดาวฤกษขยายขนาดใหญ
ขึ้นเปน 100 เทาของขนาดเดิม การขยายขนาดใหญขึ้นจะทําใหอุณหภูมิผิวของดาวฤกษลดลง เปลี่ยนไปเปน
สีแดง เรียกดาวฤกษในขั้นตอนการวิวัฒนาการจนมีขนาดใหญมากนี้วา “ดาวยักษแดง (Red Giant)” ชวงนี้
พลังงานจะถูกปลดปลอยออกจากดาวฤกษมาก

คําถาม : เมื่อดวงอาทิตยกลายสภาพเปนดาวยักษแดง ในชวงเวลาอีกประมาณ 5,000 ลานป ในอนาคต


นักเรียนคิดวาจะมีผลอยางไรตอโลกเราบาง
เมื่อเวลาผานไป แกนกลางของดาวฤกษจะยุบตัวลงเรื่อยๆ เปนวัตถุขนาดเล็กที่มีความหนาแนนมาก
เรียกแกนกลางของดาวฤกษในภาพนี้วา “ดาวแคระขาว (White Dwarf)” เมื่อแกนกลางของดวงอาทิตยกลาย
สภาพเปนดาวแคระขาว จะมีขนาดเสนผานศูนยกลางประมาณ 1/100 เทา ของขนาดดวงอาทิตยปจจุบัน
(ประมาณ 13,000 กิโลเมตร) และในขณะเดียวกันนี้เปลือกนอกของดาวฤกษจะขยายออกไปเรื่อยๆ คลายการ
กระจายของควันบุหรี่ สภาพดาวฤกษในชวงนี้จึงปรากฏมีแกนกลางเปนดาวแคระขาว ที่มีชั้นของกาซหุมอยู
เกิดเปน “เนบิวลาดาวเคราะห (Planetary Nebula)” ซึ่งจะเคลื่อนที่หางออกไปจากดาวแคระขาวเรื่อยๆ คอยๆ
กระจายออกไปในอวกาศ ตัวอยางของเนบิวลาดาวเคราะห ไดแก “เนบิวลาวงแหวน (Ring Nebula)” ใน
กลุมดาวพิณ (Lyra)
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 103

รูปที่ 5.12 ภาพถายเนบิวลาวงแหวน

ดาวแคระขาวจะเปนซากของดาวฤกษที่มีอุณหภูมิสูงมาก แตมีขนาดเล็ก สามารถสรางพลังงาน


เพิ่มขึ้นจากปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรไดอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะบริเวณรอบแกนฮีเลียมที่ยังมีการเผาไหม
นิวเคลียสของไฮโดรเจนเนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียรอยู ทําใหดาวแคระขาวยังสามารถสองแสงตอไปไดนาน
อีกนับลานป แตในที่สุดเมื่อปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรยุติลง ดาวแคระขาวจะเย็นตัวลงเรื่อยๆ จนกลายเปน
ซากดาวที่มีอุณหภูมิต่ํา ที่เรียกวา “ดาวแคระดํา (Black Dwarf)”

สําหรับดาวฤกษที่มีมวลมาก จะมีความสวางมากและมีการ
ใชเชื้อเพลิงโดยการเผาไหมนิวเคลียสของไฮโดรเจนจาก
ปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรในอัตราที่สูงมาก และดาวฤกษที่
มีมวลมากจะมีอายุสั้นมาก โดยอาจมีอายุประมาณไมกี่ลาน
ปเทานั้น การเผาไหมนิวเคลียสภายในดาวฤกษที่มีมวล
มาก สามารถสังเคราะหธาตุหนักตางๆ ไดเปนจํานวนมาก
นอกจากนิ ว เคลี ย สของฮี เ ลี ย มแล ว ยั ง สามารถสร า ง
นิ ว เคลี ย สของคาร บ อน ไนโตรเจน ออกซิ เ จน ซิ ลิ ก อน
จนถึงนิวเคลียสที่เสถียรที่สุดคือนิวเคลียสของเหล็ก คาด
วาแกนกลางของดาวฤกษที่มีมวลมากในขั้น ตอนสุดทาย
รูปที่ 5.13 ภาพวาดแบบจําลองโครงสราง ของการวิวัฒนาการ จะเปนแกนหลักและมีธาตุอื่นๆ ที่
ภายในดาวซึ่งเปนชั้นคลายหัวหอม ถู ก สั ง เคราะห ขึ้ น มาอยู กั น เป น ชั้ น ๆ คล า ยวงหั ว หอม
(Onion Ring)

คําถาม : นักเรียนลองเขียนโครงสรางภายในของดาวฤกษที่มีมวลมาก ในขั้นตอนสุดทายของการ


วิวัฒนาการ และ ณ อุณหภูมภิ ายในที่สูงมากหลายรอยลานองศาเซลเซียส นักเรียนคิดวา
ดาวจะยังคงรักษาสภาพเปนดาวตอไปไดหรือไม
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 104

จุดจบของดาวฤกษที่มีมวลมาก คือ การระเบิดของเปลือกของดาวฤกษที่เรียกวา “ซุปเปอรโนวา


(Supernova)” เปนการระเบิดที่รุนแรง ปรากฏสวางมาก ตัวอยางเชน เนบิวลาปู (Crab Nebula) ซึ่งเปนซาก
หลงเหลือของซุปเปอรโนวา (Supernova Remnant) ที่ระเบิดเมื่อป ค.ศ.1054 บริเวณใกลๆกับดาวเซตา ทอรี
(Zeta Tauri) ชาวจีนไดบันทึกการสังเกตการณการระเบิดของดาวดังกลาววามีความสวางมากจนสามารถ
สังเกตไดอยางชัดเจนและสวางอยูเปนเวลาหลายเดือนกอนที่จะเห็นเปนซากของดาวระเบิดเล็กๆ ดังทีเ่ ห็นใน
ปจจุบัน

รูปที่ 5.14 ภาพถายเนบิวลาปู

รูปที่ 5.15 ภาพวาดแบบจําลองวิวัฒนาการของดาวฤกษมวลมาก

สําหรับแกนกลางของดาวฤกษที่มีมวลมาก จะมีการยุบตัวอยางมาก จนกลายเปนวัตถุที่มีความ


หนาแนนสูงมาก และมีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดเสนผานศูนยกลางไมกี่กิโลเมตรเทานั้น ในสภาพเชนนี้
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 105

อะตอมจะแตกออกหมด ทําใหอิเล็กตรอนไปรวมกับโปรตอน กลายเปนนิวตรอนหมด จึงเรียกซากของดาว


ในลักษณะนี้วา “ดาวนิวตรอน (Neutron Star)” ดาวนิวตรอนจะมีสนามแมเหล็กที่เขมขนมากและสามารถ
เปลงรังสี เชน คลื่นวิทยุ ออกมาได และเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองอยางรวดเร็ว คลื่นวิทยุทแี่ ผออกมาจาก
ดาวนิวตรอน จึงมีลักษณะเปนหวงๆ (Pulse) นักดาราศาสตรจึงเรียกดาวนิวตรอนอีกชื่อหนึ่งวา “พัลซาร
(Pulsar)” ปจจุบันนักดาราศาสตรคนพบพัลซารมากกวา 400 ดวง ในกาแลกซีทางชางเผือก
สําหรับดาวฤกษที่มีมวลสูงมาก ๆ การยุบตัวของแกนกลางจะดําเนินไปอยางมาก จนกลายเปนซาก
ดาวที่มีความหนาแนนและสนามความโนมถวงสูงมาก จนกลาววาแมกระทั่งแสงก็ยังไมอาจหลุดรอดจาก
อิทธิพลของแรงโนมถวงอันมหาศาลนี้ได จึงเรียกซากของดาวในสภาพเชนนี้วา “หลุมดํา (Blackhole)”

คําถาม : นักเรียนลองคิดดูวา ถาเราอยูใ กลหรือตกลงสูหลุมดําแลว นักเรียนจะมีสภาพเปนเชนใด


เปลือกของดาวฤกษมวลสูงที่ระเบิดเปนซุปเปอรโนวา จะกระจัดกระจายออกไปในอวกาศเปนสาร
ระหวางดาว (Interstellar Matter) อีกครั้งหนึ่ง แตในคราวนี้องคประกอบของสารระหวางดาวจะไมมีเฉพาะ
ธาตุไฮโดรเจนและธาตุฮีเลียม แตจะมีอะตอมของธาตุหนักอืน่ ๆ ที่เกิดจากการสังเคราะหนวิ เคลียสภายใน
ดาวฤกษโดยปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรเปนจํานวนมากมาย และเมื่อสารระหวางดาวเหลานี้มกี ารยุบตัวลงอีก
ครั้งหนึ่งกลายไปเปนดาวฤกษ ดาวฤกษรนุ ที่ 2 นี้จะสามารถสรางดาวเคราะห (Planet) ใหเกิดขึ้นได

คําถาม : นักเรียนคิดวา ดวงอาทิตยของเราเปนดาวฤกษรุนที่ 1 หรือรุนที่ 2

5.4 การแผพลังงานของดาวฤกษ
ปฏิกิริยาเทอรโมนิวเคลียรภายในดาวฤกษ ทําใหดาวฤกษแผพลังงานความรอนและแสงสวาง
ออกมาได พลังงานที่แผออกมาจากดาวฤกษเปนคลื่นแมเหล็กไฟฟา (Electromagnetic Wave) หลากหลาย
ความยาวคลื่น (Wavelength, λ) หรือความถี่ (Frequency, f) โดยความยาวคลื่น λ กับความถี่ f ของคลื่น
แมเหล็กไฟฟาสัมพันธกันตามสมการ
λf = c

โดย c เปนคาอัตราเร็วแสง (3x108 เมตร/วินาที)

คําถาม : ดาวฤกษสามารถแผรังสีหรือคลื่นแมเหล็กไฟฟาชนิดใดไดบาง
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 106

รูปที่ 5.16 ภาพแผนผังคลื่นแมเหล็กไฟฟา

คลื่นแมเหล็กไฟฟาเปนคลื่นที่มีความเร็วเทากับความเร็วแสง สามารถเคลื่อนที่ผานสุญญากาศได
คลื่นแมเหล็กไฟฟามีทั้งชวงคลื่นที่ตามองเห็นได (Visible) และตามองไมเห็น (Invisible) ชวงคลื่นที่ตา
มองเห็นไดแก คลื่นแสง ซึ่งมีชวงความยาวคลื่นตั้งแต 400 นาโนเมตร (สีมวง) จนถึง 700 นาโนเมตร (สี
แดง) แสงอาทิตยที่สองมายังโลกในชวงคลื่นที่ตามองเห็นไดเปน “แสงขาว” ซึ่งเกิดจากการรวมของแสง
สเปกตรัมทั้ง 7 สี คือ มวง คราม ฟา เขียว เหลือง แสด และ แดง

คําถาม : นักเรียนทราบไดอยางไรวา แสงขาวของดวงอาทิตยประกอบดวย แสงสเปกตรัมทั้ง 7 สี


นอกจากชวงคลื่นที่ตามองเห็นแลว ดาวฤกษยังสามารถแผพลังงานในชวงคลื่นที่ตามองไมเห็นได
อีกดวย โดยในชวงความยาวคลื่นที่สั้นกวาสีมวง ไดแก รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet) รังสีเอกซ (X-ray)
และรังสีแกมมา (Gamma Ray) รังสีเหลานี้เปนรังสีที่มีพลังงานสูง จึงมักแผออกมาจากวัตถุทองฟาที่มี
อุณหภูมิสูงหรือมีแหลงปลดปลอยพลังงานสูง เชน ดาวฤกษที่รอนมากๆ บริเวณใกลๆ หลุมดํา เปนตน สวน
รังสีในชวงที่ความยาวคลื่นยาวกวาสีแดง ไดแก รังสีอินฟราเรด (Infrared) ไมโครเวฟ (Microwave) และ
คลื่นวิทยุ (Radio Wave) รังสีเหลานี้แผนออกมาจากวัตถุทองฟาที่มีอุณหภูมิต่ํา เชน สารระหวางดาว เนบิวลา
เปนตน และวัตถุทองฟาที่มีคุณสมบัติพิเศษบางชนิด เชน ดาวนิวตรอนหรือพัลซาร เปนตน
พลังงาน (E) ที่แผออกมาจากคลื่นแมเหล็กไฟฟา จะมีพลังงานมากหรือนอย ขึ้นอยูกบั ความยาวคลื่น
และความถี่สูง ก็จะมีพลังงานสูง เชน รังสีเอกซ รังสีแกมมา ในทางกลับกัน ถาคลื่นแมเหล็กไฟฟามีความ
ยาวคลื่นยาวหรือความถี่ต่ํา ก็จะมีพลังงานต่าํ เชน คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ

E = hf
hc
=
λ

โดย h เปนคาคงที่คาหนึ่งที่มชี ื่อเรียกวา “คาคงที่ของแพลงค (Planck’s Constant)”


มีคา 6.626068 x 10-34 เมตร2.กิโลกรัม/วินาที
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 107

5.5 ความสวางและอันดับความสวางของดาวฤกษ
เมื่อเราดูดาวในคืนฟาใส ปราศจากเมฆหมอก จะเห็นดาวนับพันดวงปรากฏใหเห็นบนทองฟา จะ
สังเกตเห็นวา ดาวแตละดวงที่เราเห็นนัน้ มีความสวางแตกตางกัน บางดวงสวางสุกใสมาก เชน ดาวซิริอัส
(Sirius) ในกลุมดาวสุนัขใหญ (Canis Major) เปนดาวฤกษที่มีความสวางปรากฏมากที่สุดบนทองฟา บาง
ดวงก็มีความสวางนอย นักดาราศาสตรพยายามทีจ่ ะจัดอันดับความสวางของดาวฤกษออกเปนหมวดหมู
โดยเมื่อประมาณ 120 ปกอนคริสตศักราช ฮิปปาคัส (Hippachus) ไดเริ่มทําบัญชีดาวที่สามารถมองเห็นดวย
ตาเปลา ประมาณ 1000 ดวง และจัดดาวตามลําดับความสวางไว โดยดาวที่สวางที่สดุ เรียกวา ดาวแมกนิจูดที่
หนึ่ง (First Magnitude) รองลงมาเรียกวา ดาวแมกนิจูดที่สอง (Second Magnitude) ตามลําดับ ตอมาไดมีการ
กําหนดคาอันดับความสวางใหชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดย พอกสัน (Pogson) ไดกําหนดกฏเกณฑเกี่ยวกับคา
แมกนิจูดไว ดังนี้
“ดาวแมกนิจูดที่ 1 จะสวางกวาดาวแมกนิจดู ที่ 6 ถึง 100 เทา”
เนื่องจากตาคนปกติมองเห็นดาวที่สวางไดถึงแมกนิจูดที่ 6 เทานั้น จึงเอาดาวแมกนิจูดที่ 6 เปนหลัก
โดยถือวาถาดาวดวงใดสวางกวาดาวหลัก 100 เทา จะถือวาเปนดาวแมกนิจูดที่ 1 หมด เชน ดาวสปกา (Spica)
ดาวอัลดิบาเรน (Aldebaran) ดาวอัลแตร (Altair) เปนตน

คําถาม : ตามเกณฑทกี่ ําหนดวา ดาวแมกนิจูดที่ 1สวางกวาดาวแมกนิจูดที่ 6 ถึง 100 เทา


นักเรียนทราบหรือไมวา ถาดาวฤกษมแี มกนิจูดตางกัน 1 แมกนิจูด ความสวาง
จะตางกันกี่เทา

คาแมกนิจดู หรืออันดับความสวางของดาวฤกษ ไมมหี นวย เปนเพียงตัวเลขที่กําหนดขึ้นเทานั้น เรา


สามารถคํานวณไดวา ถาคาอันดับความสวางตางกัน 5 ความสวางของดาวฤกษตางกัน 100 เทาแลว อาจเขียน
ในเทอมของเลขยกกําลังไดเทากับ (2.512)5 ดังนัน้ ถาดาวฤกษมแี มกนิจูดตางกัน 1 แมกนิจูด ความสวาง
ของดาวฤกษจะตางกัน 2.512 เทา
ขอที่นาสังเกตอีกประการหนึ่งในการที่ใชดาวแมกนิจูดที่ 6 เปนหลักก็คือ จะพบวาดวงอาทิตย ดวง
จันทร และดาวเคราะห หรือดาวฤกษบางดวงที่มีความสวางมาก จะมีคาแมกนิจดู ติดลบ เชน ดวงอาทิตยมี
แมกนิจูด –26.7 ดาวศุกรเมื่อสวางที่สุดมีแมกนิจูด –4.5 ดาวซิริอัส –1.5 ดาวอังคารเมื่อเขาใกลโลกมากที่สุด
มีคาแมกนิจดู –2.7 เปนตน

คําถาม : นักเรียนสามารถคะเนไดหรือไมวา ดวงจันทรมีคาอันดับความสวาง


หรือแมกนิจดู ที่เทาใด
ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 108

ความสวางของดาวฤกษที่เราเห็น เปนเพียงความสวางปรากฏ (Apparent Brightness) เทานั้น


เนื่ องจากว าดาวแตละดวงอยูหางจากเราไมเทากัน ถาจะเปรียบเทียบความสวางที่แ ทจ ริงของดาวฤกษ
จะตองพิจารณาความสวางของดาวฤกษ ณ ระยะหางจากเราเทากันหมด ระยะมาตรฐานที่นักดาราศาสตร
กําหนด เพื่อเปรียบเทียบความสวางที่แทจริงของดาว คือ ระยะ 10 พารเซค (Parsec) โดย
1 พารเซค = 3.26 ปแสง
1 ปแสง = 9.5 x 1012 กิโลเมตร

คําถาม : นักเรียนลองคํานวณดูวา ระยะทาง 1 พารเซค มีคากี่กิโลเมตร

ดาวฤกษอยูไกลจากโลกเรามาก และระยะหางระหวางดาวฤกษก็หางไกลกันมาก ดังนั้นการบอก


ระยะางในทางดาราศาสตรจึงไมสะดวกที่จะกําหนดเหมือนกับระยะทางบนโลก เชน เมตร กิโลเมตร เปนตน
นักดาราศาสตรจําเปนตองกําหนดหนวยของระยะทางทีใ่ หญขึ้น ไดแก ปแสง และพารเซค ระบบดาวฤกษที่
อยูใกลระบบสุริยะมากที่สดุ คือ แอลฟา เซนทอรี (Alpha Centauri) ซึ่งอยูหาง 4.26 ปแสง หรือประมาณ 40
ลานลานกิโลเมตร ดวงอาทิตยอยูห างจากโลก 8.3 นาทีแสง
การวัดระยะหางจากโลกถึงดาวฤกษทําไดหลายวิธี วิธีที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การหาพารัลแลกซของ
ดวงดาวนัน้ ซึ่งนักดาราศาสตรใชวัดระยะทางของดาวฤกษที่อยูใ กลไดอยางแมนยํา หลักการของพารัลแลกซ
คือ การเห็นดาวฤกษเปลีย่ นตําแหนงเมื่อสังเกตจากโลกในเวลาที่หางกัน 6 เดือน ทัง้ นี้เพราะจุดสังเกตทั้ง 2
ครั้ง อยูหางกันเปนระยะทาง 2 เทาของระยะระหวางโลกถึงดวงอาทิตย โดยใชการคํานวณทางตรีโกณมิติ
แบบงายๆ นักดาราศาสตรสามารถคํานวณหาระยะทางของดาวฤกษได

ถาให s เปนระยะทางของดาวฤกษใน
P”
หนวยพารเซค และ P เปนคามุมพารัลแลกซใน
หนวยฟลิปดา
S
1
s=
P ′′

Earth Earth
Sun

รูปที่ 5.17 ภาพวาดการหาระยะทางของดาวโดยวิธีพารัลแลกซ

คําถาม : ใหนักเรียนลองคํานวณระยะทางของดาวฤกษที่วดั คามุมพารัลแลกซได 0 ′′. 1


ดาราศาสตรโอลิมปก ระดับม.ตน 109

5.6 สีของดาวฤกษ
การพิจารณาความสวางและลําดับความสวางของดาวฤกษ ยังไมใหขอมูลที่สมบูรณเกีย่ วกับความ
สวางของดาวเลยทีเดียว การที่จะไดขอมูลที่สมบูรณ จําเปนตองพิจารณาสีของดาวฤกษดวย ซึ่งเราคงเห็น
แลววา ดาวฤกษทั้งหลายที่ปรากฏบนทองฟามีสีแตกตางกันไป ตั้งแต สีแดง จนกระทั่งถึงสีน้ําเงิน เชน ดาว
บีเทลจูส (Betelgeuse) และดาวแอนทารีส (Antares) จะมีสีแดง สวนดาวซิริอัส (Sirius) และดาววีกา (Vega)
มีสีขาว สวนดาวไรเจล (Rigel) มีสีน้ําเงิน เปนตน
นอกจากนี้ สีของดาวฤกษยังมีความสัมพันธกับอุณหภูมทิ ี่ผิวของดาวฤกษ นักดาราศาสตรแบงชนิด
ของดาวฤกษตามสีและอุณหภูมิผิวออกเปนชนิดหลักๆ ได 7 ชนิด ดังแสดงในตาราง
ชนิด สีของดาว อุณหภูมิผิว (เคลวิน)
O น้ําเงิน 35,000
B น้ําเงินแกมขาว 25,000-12,000
A ขาว 10,000-8,000
F เหลือง-ขาว 7,500-6,000
G เหลือง 6,000-5,000
K สม 5,000-4,000
M แดง 4,000-3,000

รูปที่ 5.18 ภาพวาดสีของดาวฤกษ

เนื่องจากสีของดาว สัมพันธกับคาความยาวคลื่น (λmax) ของพลังงานของคลื่นแมเหล็กไฟฟาทีด่ าว


ฤกษแผออกมามากที่สุด ซึ่งจะสัมพันธกบั อุณหภูมิผิว (T) ของดาวฤกษ ตามกฎการขจัดของวีน (Wein’s
Displacement Law) ดังนี้

λmaxT = 2 . 897 x 10 6นาโนเมตร-เคลวิน


คําถาม : นักเรียนลองพิจารณาจากกฎการขจัดของวีนวา ดาวที่มีอุณหภูมิสูง ควรแผคลื่น
แมเหล็กไฟฟาชนิดใดมากทีส่ ุด และดาวทีม่ ีอุณหภูมิต่ํา ควรแผคลื่นแมเหล็กไฟฟาชนิดใดมากที่สดุ

You might also like