You are on page 1of 27

เพลงชาติไทย สิ่งสะท้อนการสร้างความเป็นชาติไทย

Thai National Anthem: The reflections on Thais national building

เจริญพงศ์ พรหมศร
นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาความขัดแย้งและสันติศึกษา
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Jarernpong.p@psu.ac.th

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพัฒนาการของมโนทัศน์ความเป็นไทย ผ่านการ
วิเคราะห์เพลงชาติ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach) ร่วมกับการ
วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ของเพลงชาติและบริบทแวดล้อมในการสร้างเพลงชาติใน
แต่ละยุคสมัย ผลการศึกษาพบว่า มโนทัศน์ความเป็นไทยได้ปรับเปลี่ยนลักษณะสำาคัญจากการมี
มโนทัศน์เชิงพหุลักษณ์-พหุวัฒนธรรม เป็นการมีมโนทัศน์เชิงเอกลักษณ์-เอกวัฒนธรรม โดย
สอดคล้องกับการสร้างเพลงชาติในแต่ละยุคสมัย

คำาสำาคัญ
เพลงชาติไทย, การสร้างคุณลักษณะของชาติ, สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมการเมือง,
พหุวัฒนธรรม, เอกวัฒนธรรม

Abstract
This paper is proposes to describe the Thais conceptual through Thai National
Anthem analysis. The methodology of this study is Historical approach and Content
analysis of Thai National Anthem invented and context of these invented times. The
study found Thais conceptual has changed theme from multi-cultural concept to mono-
cultural and consist with Thai National Anthem invented in each era.

Keyword
Thai National Anthem, National character building, Cultural Invention,
Multi-cultural, Mono-cultural

1
บทนำา
ประเทศไทยในลักษณะที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลจากการบูรณาการอำานาจการปกครอง
เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยการ
ปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินจากรูปแบบเดิมซึ่งเป็นการสมยอมทางอำานาจ
ระหว่างชนชั้นปกครอง หรือเรียกว่าระบบกินเมือง ที่เจ้าเมืองประเทศราชทั้งหลายต่างก็มีอำานาจ
สิทธิขาดในแว่นแคว้นของตน และการสวามิภักดิ์มีความหมายเพียงการถวายความจงรักภักดีต่อ
ราชสำานักกรุงเทพในเชิงสัญลักษณ์ พร้อมกับคำาสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือยามเกิดศึก
สงครามขึ้น มาเป็นการปกครองรูปแบบใหม่ ทีร่ าชสำานักกรุงเทพเข้ามามีบทบาทในการปกครอง
หัวเมืองทั้งหลายภายในราชอาณาจักรสยามโดยตรง พร้อมกับการเกิดขึ้นของระบบราชการแบบ
ใหม่ที่จะเป็นกลไกของอำานาจรัฐอันมีประสิทธิภาพ การกำาหนดการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ด้วยการจัดตั้งมณฑลต่าง ๆ และให้มีข้าหลวงเป็นผู้ดูแลปกครองโดยรับผิดชอบขึ้นตรงต่อราช
สำานักกรุงเทพ ตลอดจนการเริ่มกำาหนดปักปันเขตแดนและการทำาแผนที่เพื่อกำาหนดพรมแดนของ
อธิปไตยแห่งราชอาณาจักรสยามให้มีความชัดเจน เป็นต้น (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (แปล), 2552)
ผลจากการปฏิรูปการปกครองดังกล่าวคือ การสามารถรวมศูนย์กลางทางการเมืองการ
ปกครองเข้าสู่จดุ ศูนย์กลาง ซึ่งก็คือราชสำานักกรุงเทพซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัวทรงเป็นพระประมุขที่มีราชเดชและสิทธิ์ขาดต่อราชการทั้งปวงภายในราชอาณาจักรของ
พระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมีการปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสามารถบูรณ
าภาพอำานาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งราชอาณาจักรสยามทั้งมวลไว้ได้ และนับเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเป็นรัฐสมัยใหม่ของสยามประเทศ ซึ่งเกิดพร้อมกับการสร้างอำานาจรัฐและการสร้างชาติ
ของชนชั้นนำาชาวไทยในราชสำานักกรุงเทพ (เช่น การจัดตั้งกองทัพประจำาการ การกำาหนด
มาตรฐานการศึกษาจากส่วนกลาง และการกำาหนดมาตรฐานและแผ่อำานาจด้านการศาลไปทั่ว
อาณาเขตของประเทศ เป็นต้น) และที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง คือ การสถาปนาความมั่นคงเหนือ
ดินแดนสยามซึ่งเป็นสิ่งที่สำาคัญอย่างยิ่งในการรักษาเอกราชของประเทศสยามซึ่งถูกคุกคามจาก
อำานาจจักรวรรดินิยมในขณะนั้น (ลิขิต ธีรเวคิน, 2541 และ สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2551)
ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
ราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุข คณะราษฎร์ในฐานะผู้ก่อการได้สร้างสัญลักษณ์ทางการเมืองหลายประการ
เพื่อแสดงถึงการเริ่มต้นของรูปแบบการปกครองใหม่ เช่น การสร้างความสำาคัญให้แก่รัฐธรรมนูญ
(ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบลัทธิรัฐธรรมนูญ เช่น การสร้างอนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย โดยให้เป็นที่ประดิษฐานของรัฐธรรมนูญที่เป็นสมุดใบลานขนาดใหญ่ วางอยู่บน
พานแว่นฟ้าขนาดใหญ่ บนอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนวงเวียนที่ต้องขับรถเข้าเวียนรอบใน

2
พื้นที่สำาคัญ คือบริเวณท้องสนามหลวง หรือการกำาหนดให้มีวันเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ 10
ธันวาคม ของทุกปี เป็นต้น) การสร้างอนุสาวรีย์ระลึกถึงหลักปกครองทั้ง 6 ประการ1 (เช่น
อนุสาวรีย์หลัก 4 ที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร) ตลอดจนงานสถาปัตยกรรมในยุคดังกล่าว ที่
พยายามเปลี่ยนแปลงจากหน้าจั่วทรงไทย เป็นลักษณะอื่น ๆ (ชาตรี ประกิตนนทการ, 2550)
ต่อจากนั้นในสมัยของนายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) ยุคที่
จดจำากันได้ด้วยคำาขวัญที่ว่า “เชื่อผู้นำา ชาติพ้นภัย” ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่เพิ่งผ่าน
พ้นการเปลี่ยนแปลงจากโลกของราชอาณาจักรใหญ่น้อยมากมายภายใต้การครอบงำาของประเทศ
จักรวรรดินิยม เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะ
เป็นการเปลี่ยนแปลงจากราชอาณาจักรสู่สาธารณรัฐ การรวมประเทศเล็ก ๆ กันเข้าเป็นประเทศ
ใหญ่ และการเกิดประเทศมหาอำานาจใหม่ การล่มสลายของราชวงศ์ซาร์แห่งรัสเซียอันนำาไปสู่การ
เกิดขึ้นของรัฐบาลคอมมิวนิสต์อันส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคเอเชียเหนือถูกรวบรวมจัด
ตั้งเป็นสหภาพโซเวียต ประเทศเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ได้รวมตัวกันในนามว่า AXIS (ศัพท์บัญญัติ
ของไทยคือ อักษะ หมายถึง เพลา หรือ แกน) และเริ่มดำาเนินนโยบายชาตินิยม ในขณะที่สหราช
อาณาจักรบริเตนใหญ่และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้พ้นผ่านยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในฐานะประเทศเจ้า
อาณานิคม สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นประเทศเกิดใหม่กำาลังประสบความสำาเร็จในการสร้างประเทศ
และเริ่มมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้นทุกที (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2549)
โดยบริบทของโลกที่มีการแพร่กระจายของลัทธิชาตินิยมที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งและ
ความเป็นหนึ่งเดียวในชาติ การเกิดขึ้นของลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ที่เน้นความเข้มแข็งของผูน้ ำา
ตลอดจนความมีระเบียบวินัยสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ การเกิดขึ้นของประเทศ
จักรวรรดินิยมใหม่เช่นญี่ปุ่น รวมถึงสถานการณ์สงครามที่กำาลังเกิดขึ้นอย่างครุกรุ่นทั้งในภาคพื้น
ยุโรปและเอเชียบูรพา เหล่านี้ได้ส่งผลต่อการดำาเนินนโยบายต่าง ๆ ของประเทศไทยในขณะนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำาหนดบทบาทความเป็นไทยและคนไทยและการสร้างสัญลักษณ์แห่ง
ความเป็นชาติไทยขึ้นอย่างมากมาย และหนึ่งในสิ่งสำาคัญที่สุดซึ่งได้รับการสถาปนาในขณะนัน้
และยังใช้คงใช้ได้มาจนถึงทุกวันนี้อย่างเข้มแข็งและศักดิส์ ิทธิ์คงทน ก็คือ เพลงชาติไทย
ความเป็นมาของเพลงประจำาชาติไทย ก่อนจะมาเป็นเพลงชาติไทยในปัจจุบัน
1
หลัก 6 ประการของคณะราษฏร์ที่ประกาศเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ มีดังนี้
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำารุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำาโดยเต็มความสามารถ
จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู)่
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

3
เพลงชาติ (National Anthem) หมายถึงเพลงประจำาชาติ เป็นเพลงที่แสดงถึงฐานะ
ทางการเมืองว่าเป็นประเทศเอกราช เพราะประเทศใด ๆ หากตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอื่นก็
จำาเป็นต้องใช้เพลงประจำาชาติของประเทศผู้ปกครองมาเป็นเพลงชาติของตน เช่นเดียวกับในยุค
ของการล่าอาณานิคม ที่เพลง God Save the Queen เป็นเพลงที่ดังกระหึ่มไปทั่วทั้งดินแดน
อาณานิคมของอังกฤษไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำาชาติ และ
แสดงถึงวัฒนธรรมของผู้คนชนในชาติ ตลอดจนการสร้างสำานึกความเป็นชาติและความเป็นพี่น้อง
มิตรร่วมชาติให้เกิดขึ้นกับปวงชนคนในชาติ (สุกรี เจริญสุข, 2532 และ สุพจน์ มานะลัภนเจริญ,
2545)
ด้วยเหตุนี้เพลงชาติจึงหมายถึงเพลงที่ชาตินั้น ๆ ใช้เพื่อแสดงถึงความมีตัวตนอันน่าภาค
ภูมิใจของชาตินั้น ๆ
เนื้อร้องและทำานองของเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบันนั้น ได้รับการประกาศรับรองอย่างเป็น
ทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 อย่างไรก็ดี ก่อนปีดังกล่าว ประเทศไทย (หรือสยามก่อน
การเปลี่ยนชื่อประเทศใน พ.ศ. 2482) เคยใช้เพลงต่าง ๆ ในฐานะของเพลงประจำาชาติมาก่อนทั้ง
อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ สำาหรับบทความนี้ ได้แบ่งช่วงเวลาพัฒนาการของเพลง
ประจำาชาติไทยและเพลงประจำาชาติสยามรวมถึงเพลงที่มีสถานะใกล้เคียงกันเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1.) สมัยก่อนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 2
2.) สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
3.) ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง

วิวัฒนาการของเพลงชาติสมัยก่อนสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า สยามได้มีเพลงประจำาชาติของตนเองมาตั้งแต่สมัยใด หรืออาจจะ
กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สยามในกาลก่อนไม่ได้มีแนวคิดที่จะประดิษฐ์เพลงชาติ แม้ว่าในขณะนั้น
ชาติกับพระมหากษัตริย์จะเป็นสิ่งเดียวกันและในการเสด็จพระราชดำาเนินออกมาว่าราชการ หรือที่
เรียกว่า “เสด็จท้องพระโรง” จะมีวงดนตรีปี่พาทย์บรรเลงทุกครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีความสำาคัญจน
กระทั่งกล่าวได้ว่า เพลงเหล่านั้นเป็นเพลงชาติ
จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระองค์ได้ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าให้วงมโหรีบรรเลงเพลง “พระสุบิน” เมื่อพระองค์เสด็จลงว่าราชการ ณ ท้องพระ
2
ในการศึกษานี้ได้แยกวิธีการปกครองแบบราชาธิปไตยของสยามเป็นสองลักษณะคือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ เทวราชย์ (ใน
ลักษณะอธิราช) โดยแยกแยะด้วยสิทธิ์ขาดในการปกครองประเทศว่า อยู่ ที่ ชนชั้ นกษั ตริ ย์ เพี ยงผู้ เดี ยวหรื อไม่ ซึ่ งสำา หรั บสยาม
นั้ น ก่ อนหน้ าการปฏิ รู ปการปกครองใน พ.ศ.2436 นั้ น กษั ตริ ย์ จะปกครองประเทศโดยการแบ่ งสรรอำา นาจระหว่ างขุ นนางชั้ น
ผู้ ใหญ่ (เช่ น ตระกูลบุ นนาค อมาตยกุ ล สิงหเสนี ย์ และ ณ บางช้าง เป็ นต้ น) และเหล่าราชาธิราชต่าง ๆ (เช่น เจ้าเมือง
ประเทศราช หัวเมืองมลายู หัวเมืองลานนาลานช้าง) เป็นต้น และเรียกลักษณะของอำานาจเช่นนี้ว่า “อำานาจอธิราช” (Suzerainty)

4
โรง หรือเมื่อเสด็จพระราชดำาเนินไป ณ ทีใ่ ด เพลงนี้เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงซอสามสายคู่พระหัตถ์ ชื่อซอสายฟ้าฟาด ก็เสด็จเข้าที่
พระบรรทม ทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า พระองค์ได้เสด็จพระราชดำาเนินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่ง
สวยงามมากไม่มีที่แห่งใดในโลกเสมอเหมือน ขณะนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ ลอย
เลื่อนเข้ามาใกล้พระองค์ทีละน้อย ๆ และสายแสงสว่างไปทั่วบริเวณ ทันใดนั้นก็ปรากฏเสียงทิพย
ดนตรีแว่วกังวานหวานไพเราะเสนาะพระกรรณ (หู) พระองค์ทรงประทับสดับเสียงดนตรีด้วยความ
เพลิดเพลินพระราชหฤทัย จนด้วยจันทร์ค่อย ๆ ลอยเลื่อนห่างออกไปพร้อม ๆ กับสำาเนียงทิพย์
ดนตรีที่จางหายไปด้วย จนพลันหมดเสียงพระองค์ได้เสด็จตื่นบรรทม แต่สำาเนียงดนตรีในพระสุบิน
ยังคงแว่วกังวานในโสตประสาทอยู่ จึงโปรดให้เจ้าพนักงานดนตรีเข้ามาต่อเพลงนั้นไว้ พระองค์
พระราชทานนามเพลงนี้ว่า “บุหลันลอยเลื่อน” (บุหลัน หมายถึง ดวงจันทร์) หรือที่รู้จักกันทั่วไปใน
ชื่อว่า “เพลงพระสุบิน” (สุกรี เจริญสุข, 2530)
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ได้ปฏิรูป
ประเพณีและการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่าง ๆ ของประเทศให้มีความทันสมัยตามแบบ
อย่างของประเทศตะวันตก ทั้งนี้เพื่อรักษาฐานะความเป็นชาติเอกราชที่มีความเป็นอารยะเอาไว้
หนึ่งในการดำาเนินการหลาย ๆ อย่างนั่นก็คือ การปฏิรูปกองทัพให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ด้วย
การฝึกทหารโดยอาศัยแบบแผนการฝึกของประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้ฝึก3 ได้นำาเอาเพลง God Save
the Queen มาใช้ในการฝึกแถวทหารด้วย และได้ใช้เพลงดังกล่าวในฐานะเพลงเกียรติยศถวาย
ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ของกองทหารไทยระหว่างปี พ.ศ.2395 จนกระทั่งปี พ.ศ.2414
และเรียกว่าเพลงดังกล่าวว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี จนกระทั่ง พระยาศรีสนุ ทรโวหาร (น้อย
อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องโดยใช้ทำานองเพลง God Save the Queen แล้วให้ชื่อว่า เพลง
จอมราชจงเจริญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

เพลงจอมราชจงเจริญ
ความสุขสมบัตทิ ั้งบริวารเจริญพละปฏิภาณผ่องแผ้ว
จงยืนพระชนมานนับร้อยปีแฮ
มีพระเกียรติเพริศแพร้วเล่ห์เพี้ยงจันทร

3
ผูผ้ ึกในที่นี้คือ ร้อยเอกโทมัส น็อกซ์ (Thomas George Knox) ซึง่ เข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 และต่อมาได้เป็นกงสุลอังกฤษ
ประจำาสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 มีภรรยาเป็นคนไทย ชื่อปรางมีบุตรสาวชื่อแฟนนี่ซงึ่ ได้สมรสกับพระปรีชากลการ (สำาอาง อมาตยกุล)
อันนำามาสู่ความยอกย้อนและคดีอันลือลั่นของสังคมสยามในเวลาต่อมา กับ ร้อยเอกอิมเปย์ (impey) ซึง่ ได้อยู่ในสยามในระยะ
เวลาสั้น ๆ และออกนอกประเทศไปในช่วงรัชกาลที่ 4 นั่นเอง สำาหรับข้อมูลโดยละเอียด ขอให้ดู สุพจน์ มานะลัภนเจริญ, 2545:
137 ที่อ้างข้อความในหนังสือพิมพ์สยามรีโปสิตอรี (The Siam Repository)

5
วิวัฒนาการของเพลงชาติสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เพลงจอมราชจงเจริญและเพลง God Save the Queen ยังคงถูกใช้ในฐานะของเพลง
ถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ยังคงใช้เพลงนี้ในฐานะเพลงถวายความเคารพอยู่ จนกระทั่งเมื่อพระองค์เสด็จ
ประพาสสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2414 ซึ่งในขณะนัน้ เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร กองทหาร
ดุริยางค์สิงคโปร์ได้ใช้เพลง God Save the Queen ถวายความเคารพ ทั้งต่อพระองค์และผู้แทน
อาณานิคม จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำาให้พระองค์ตระหนักถึงความจำาเป็นที่จะต้องมีเพลงที่ใช้
สำาหรับบรรเลงถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยามเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้
เพื่อแสดงถึงความเป็นชาติเอกราช ครั้นพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร จึงทรงเรียกครูดนตรีไทย4มา
ปรึกษาเพื่อหาบทเพลงไทยเพื่อที่จะมาแทนเพลง God Save the Queen โดยใช้เป็นเพลงคำานับ
ถวายความเคารพ และแสดงถึงความเป็นเพลงประจำาชาติด้วย ในขณะนัน้ เหล่าครูเพลงได้ถวาย
ความเห็นให้ใช้เพลงพระสุบิน และเรียกว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี (สุกรี เจริญสุข, 2532)
เพลงพระสุบิน ถูกใช้ในลักษณะของเพลงถวายความเคารพและเพลงประจำาชาติที่บรรเลง
ในโอกาสต่าง ๆ ทัง้ ในแง่ของราชพิธีและรัฐพิธีระหว่างปี พ.ศ.2414 ถึงปี พ.ศ.2431 ต่อมาในปี
พ.ศ.2431 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทำานองเพลงสรรเสริญพระบารมีใหม่โดยการประพันธ์ทำานองโดย
ปโยตร์ สชูโรสกี้ (Pyotr Schurovsky) และประพันธ์เนื้อร้องโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
จิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน5 (สุกรี เจริญสุข, 2530)

เพลงสรรเสริญพระบารมี (ฉบับปรับปรุงโดยรัชกาลที่ 6)
ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล บุญดิเรก
เอกบรมจักริน พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิด์ ัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ชโย

4
รายชื่อครูดนตรีไทย ประกอบด้วย ครูมรกฎ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) และพระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร)
5
อย่างไรก็ดี เนื้อร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีมีการเปลี่ยนแปลงสำาหรับผู้ร้องแต่ละกลุ่ม (เช่น ผูห้ ญิง ทหาร นักเรียน เป็นต้น)
โดยครั้งสุดท้ายเป็นแก้ไขของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ส่วนทำานองนั้น แม้จะมีการเรียบเรียงเสียง
ประสานใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องเล่นแต่ละประเภท แต่โดยหลักแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลง ดู สุกรี เจริญสุข, 2530: 76-79

6
วิวัฒนาการของเพลงชาติสมัยเปลีย่ นแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน
ด้วยความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น
ระบอบประชาธิปไตย คณะผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะนั้นตั้งใจที่จะใช้เพลงเป็นสื่อ
เสริมสร้างและตอกยำ้าลัทธิการเมืองแบบประชาธิปไตยให้กับประชาชน ด้วยการสร้างเพลงชาติขึ้น
มาใหม่แทนเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยให้เหตุผลว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงของพระ
มหากษัตริย์ ส่วนเพลงชาติเป็นเพลงของประชาชน (สุกรี เจริญสุข, 2532)
ในช่วงปลายของ พ.ศ. 2474 นาวาตรี หลวงเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) หนึ่งในคณะผู้
ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ทาบทามให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร6) ดำาเนินการ
ประพันธ์ทำานองเพลงชาติฉบับใหม่โดยขอให้เพลงชาติดังกล่าวมีลักษณะปลุกใจเหมือนเพลง La
Marseillaise ซึ่งเป็นเพลงที่ทหารฝรั่งเศสใช้ในช่วงของการปฏิวัติและล้มล้างระบอบกษัตริย์เมื่อ
พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) และยังใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย
ในครั้งแรกนั้น พระเจนดุริยางค์ได้ปฏิเสธที่จะประพันธ์เพลง โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีความ
จำาเป็นที่จะต้องมีเพลงในลักษณะดังกล่าวเนื่องจากในขณะนั้นประเทศสยามมีเพลงสรรเสริญพระ
บารมีเป็นเพลงชาติของประเทศอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี หลวงเทศกลกิจ ได้ขอร้องซำ้าโดยให้เหตุผลว่า
“ชาติต่าง ๆ เขามีเพลงประจำาชาติอยู่หลายบท เช่นเพลงธง เพลงราชนาวี เพลงทหารบกและ
เพลงอื่น ๆ อีกมากมาย ใคร่อยากจะให้ไทยเรามีเพลงปลุกใจเพิ่มเติมขึ้นไว้อีกบ้าง เพราะ เพลง
สรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระมหากษัตริย์ แต่เพลงสำาหรับประชาชนนั้นเราหามีไม่”
แต่พระเจนดุริยางค์ก็ปฏิเสธการประพันธ์ทำานองเพลงชาติสำาหรับประชาชนตามแนวคิดของคณะผู้
ก่อการ โดยให้เหตุผลในท้ายที่สุดว่า ไม่สามารถประพันธ์เพลงดังกล่าวได้เนื่องจากไม่ใช่คำาสั่งของ
ทางราชการ
ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในนาม
คณะราษฏร์ได้ทำาการอภิวัฒน์การปกครองสยามจากระบอบการปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (หรือที่ใช้คำาว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในปัจจุบันนี้)
ในวันดังกล่าวปรากฏว่า เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้แต่งเนื้อร้อง
เพลงหนึ่งให้แก่คณะผู้ก่อการ โดยอาศัยทำานองเพลงมหาชัย และใช้ชื่อเพลงว่า เพลงชาติมหาชัย
เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชนให้เกิดความรักชาติและความสามัคคีในระหว่างที่มี
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีเนื้อร้องดังนี้

6
พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นบุตรของ Jacob Feit ครูดนตรีเชื้อชาติเยอรมัน สัญชาติอเมริกัน ซึง่ เข้ามารับราชการเป็นครู
ดนตรีในกองมหาดเล็กวังหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 กับ นางทองอยู่ เชื้อชาติมอญ สัญชาติไทย ชื่อเดิมของพระเจนดุริยางค์ คือ
Peter Feit ได้รับพระราชทานนามสกุล วาทยะกร เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2460 และเปลี่ยนชื่อจากปีเตอร์เป็นปิติในเวลาต่อมา

7
เพลงชาติมหาชัย
สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำาสยามเหมือนนำาเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสนับสนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำารงไทย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า

หลังจากวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 5 วัน คือ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลวงเทศ


กลกิจได้กลับไปขอร้องให้พระเจนดุริยางค์ประพันธ์ทำานองเพลงดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ เหตุผล
ต่าง ๆ ที่พระเจนดุริยางค์ได้ใช้เพื่อบ่ายเบี่ยงที่จะไม่ประพันธ์เพลงชาติฉบับประชาชนไม่สามารถ
ใช้ได้ต่อไป จึงได้ตอบตกลงแม้ไม่เต็มใจนักโดยมีเงื่อนไขคือ ขอเวลาสำาหรับการประพันธ์ทำานอง
เพลงดังกล่าว 7 วันและขอให้ปกปิดนามผู้ประพันธ์เพลงดังกล่าวด้วย
หลังจากเวลาผ่านไป 7 วันพระเจนดุริยางค์ได้ส่งมอบทำานองเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ให้แก่
คณะผู้ก่อการ และมีการทดลองบรรเลงโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
และมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวเรื่องเพลงชาติใหม่อีกด้วย7 ต่อจากนั้นจึงได้มีการมอบหมายให้ ขุนวิจิตร
มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์คำาร้องเพลงชาติให้เข้ากับทำานองของพระเจน
ดุริยางค์เป็นฉบับแรก ซึ่งมีคำาร้องอยู่ 2 บท ดังนี้

เพลงชาติสยาม (พ.ศ. 2475-2477)


บทที่ 1
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำาบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

บทที่ 2
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย นำ้ารินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำานาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครยำ่ายีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัยชโย

7
หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวคือ ศรีกรุง ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2475 ซึง่ ได้ลงความเห็นชื่นชมทำานองเพลงชาติฉบับใหม่ว่า “
ไพเราะคึกคักน่าฟัง...กะทัดรัด” พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้ประพันธ์คือพระเจนดุริยางค์ อันเป็นเหตุให้ถูกปลดจากราชการในเวลาต่อมา แต่
ได้เข้ารับราชการใหม่ โดยได้รับเงินเดือนเพียงครึง่ เดียวจากอัตราเงินเดือนเก่า ดู สุกรี เจริญสุข, 2532: 20, 40-45

8
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิป
พงศ์ประพันธ์ ได้แก้ไขเนื้อร้องบางส่วน และใช้เป็นเพลงชาติสยามตั้งแต่ พ.ศ. 2477 – 2482 ดังนี้

เพลงชาติสยาม (พ.ศ. 2477-2482)


บทที่ 1
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำาบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชวี ิตร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา

บทที่ 2
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย นำ้ารินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครยำ่ายีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย

หลังจากนั้น ใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลภายใต้การนำาของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (แปลก ขีต


ตะสังคะ8) นายกรัฐมนตรี9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและหนึ่งในคณะราษฎร์สายทหาร ผู้
ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย
ผ่านการออกประกาศสำานักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เรื่อง การใช้ชื่อ
8
จอมพล ป. พิบลู สงคราม ชื่อเดิม แปลก ขีตตะสังคะ บุตรของนายขีด กับนางสำาอางค์ ขีตตะสังคะ อาชีพเป็นเกษตรกร ถือเป็น
ตัวอย่างสำาคัญในการเปลี่ยนแปลงเรื่องชนชั้นของสังคมไทยที่ให้เริ่มให้ความสำาคัญกับ คุณวุฒิ มากกว่า ชาติวุฒิ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่อง
มาตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2435 หรือก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ราว 40 ปี
ต่อมานำาราชทินนามมาเป็นนามสกุล เป็น แปลก พิบลู สงคราม ดู ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2549: 184
9
จอมพล ป. พิบลู สงคราม อยู่ในตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี รวม 8 สมัย รวมระยะเวลา 14 ปี 11 เดือน 18 วัน
 สมัยที่ 1 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2485
 สมัยที่ 2 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
 สมัยที่ 3 - 8 เมษายน พ.ศ. 2491 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2492
 สมัยที่ 4 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
 สมัยที่ 5 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
 สมัยที่ 6 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
 สมัยที่ 7 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
 สมัยที่ 8 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 - 16 กันยายน พ.ศ. 2500
ยศในขณะเข้ารับตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 คือ พันเอก ทั้งนี้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
เลื่อนยศเป็นจอมพล เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484

9
ประเทศ ประชาชน และสัญชาติ โดยมีเนื้อหาสำาคัญคือการเปลี่ยนชื่อประเทศ ประชาชน และ
สัญชาติจากสยามมาเป็น “ไทย” นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นประเทศ
สยามด้วยประกาศที่เรียกว่า “รัฐนิยม”10 โดยเน้นยำ้าการเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ด้วย “ร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศ" ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 26
สิงหาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งนำาไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อประเทศในรัฐธรรมนูญที่ประกาศในวันที่ 3
ตุลาคม พ.ศ. 2482 ในเวลาต่อมา
การเปลี่ยนชื่อประเทศดังกล่าว ทำาให้เกิดปัญหาขึ้นกับเพลงชาติสยามอีกครั้ง เนื่องจาก
เนื้อร้องของเพลงชาติดังกล่าวยังคงใช้นามประเทศว่าสยามอยู่ ทางรัฐบาลจึงได้จัดประกวดแข่งขัน
การประพันธ์เนื้อร้องเพลงชาติขึ้นมาอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 เพื่อให้เหมาะสมกับการ
เปลี่ยนชื่อประเทศ โดยในที่สุดแล้วเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
ซึ่งส่งเข้าประกวดในนามของกองทัพบก เป็นผู้ชนะเลิศ และรัฐบาลได้ออกประกาศสำานักนายก
รัฐมนตรี ว่าด้วย เรื่องทำานอง และเนื้อร้องเพลงชาติ ในวันที่ 10 ธันวาคม 2482 และนับตั้งแต่นั้น
เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์11กับทำานองของพระเจนดุริยางค์ก็คือเพลงชาติไทยฉบับที่ใช้มา
จนถึงทุกวันนี้

10
รัฐนิยมที่ประกาศใช้มีจำานวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ ได้แก่
• รัฐนิยม ฉบับที่ 1 เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ
• รัฐนิยม ฉบับที่ 2 ประกาศไม่ให้คนไทยประพฤติตนเป็นตัวแทนของต่างชาติ และไม่ให้ขายที่ดินให้ต่างชาติ
• รัฐนิยม ฉบับที่ 3 เรื่องการเรียกคนในประเทศว่า “คนไทย” แม้มีเชื้อสายอื่นก็ให้ถือว่ามีสัญชาติไทย มิให้แบ่งแยก
• รัฐนิยม ฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี
• รัฐนิยม ฉบับที่ 5 เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
• รัฐนิยม ฉบับที่ 6 เรื่องทำานอง และเนื้อร้องเพลงชาติ
• รัฐนิยม ฉบับที่ 7 เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ
• รัฐนิยม ฉบับที่ 8 เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี
• รัฐนิยม ฉบับที่ 9 เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี
• รัฐนิยม ฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย
• รัฐนิยม ฉบับที่ 11 เรื่องกิจประจำาวันของคนไทย
• รัฐนิยม ฉบับที่ 12 เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก คนชรา หรือ ทุพพลภาพ

11
เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ถูกแก้ไขโดยคณะรัฐมนตรีเล็กน้อย โดย แก้คำาว่า “ประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน” เป็น “เป็น
ประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน” และ “อยู่ยืนยงดำารงไว้ได้ทั้งมวล” เป็น “อยู่ดำารงคงไว้ได้ทั้งมวล” กับ “เอกราชไม่ยอมให้ใครข่มขี่”
เป็น “เอกสารจะไม่ให้ใครข่มขี่” สังเกตว่าส่วนใหญ่ของการแก้ไขไม่ได้ทำาให้ความหมายเปลี่ยนไป ยกเว้น การเปลี่ยนประชาธิปไตย
เป็น ประชารัฐ เท่านั้น

10
เพลงชาติไทย (พ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน)

“ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำารงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทย ทวี มีชัย ชโย”

บริบทของสังคม-การเมือง ต่อการสร้างชาติและเพลงชาติไทย
นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของรัฐชาติ (Nation State) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากสนธิสัญญาเวสต์ปา
เลีย (Westphalia) เมื่อ พ.ศ.2191 (ค.ศ.1648) ที่มีผลให้เกิดการกำาหนดอาณาเขตของผู้ปกครอง
ดินแดนต่าง ๆ (ธีรยุทธ บุญมี, 2546) จากแต่เดิมที่รัฐจารีต (Traditional State) ทัง้ หลายจะไม่มี
ขอบเขตของเส้นพรมแดนที่แน่นอนและอำานาจของกษัตริย์จะมีความเข้มแข็งสูงสุดในตัวเมือง
หลวง ในขณะที่ตามหัวเมืองที่ห่างออกไป อำานาจของกษัตริย์ก็จะลดลงไป จนกระทั่งใน
ประเทศราช แม้จะมีการยอมสวามิภักดิ์หรือยอมรับว่าอยู่ภายใต้บารมีของกษัตริย์องค์ใด แต่ในแง่
ของการปกครองแล้ว กิจการทั้งปวงจะอยู่ที่เจ้าท้องถิ่นของประเทศราชนั้น ๆ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิใน
การดูแลและใช้สอยทรัพยากรตลอดจนประชาชนของตนก็เป็นสิทธิ์ขาดของเจ้าผู้ปกครองประเทศ
นั้น ๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้สรุปเอาไว้ว่า “อำำนำจของกษัตริย์ในศูนย์กลำง
หนึ่ง ๆ เปรียบเหมือนดวงเทียนที่ถูกจุดในห้องมืด แสงสว่ำงหรือพระรำชอำำนำจมีอย่ำงเข้มข้นแต่
เพียงในอำณำบริเวณทีใ่ กล้กับองค์พระมหำกษัตริย์ หรือดวงเทียนนั้น ยิ่งไกลออกไปเพียงไร แสง
เทียนหรือพระรำชอำำนำจก็ยิ่งสลัวลง จนกว่ำจะไปเผชิญกับดวงเทียนอีกดวงหนึ่งที่จุดสว่ำง ณ อีก
ที่หนึ่ง แสงสลัวจำกเทียนดวงแรกจึงค่อย ๆ สว่ำงขึ้นเมื่อใกล้เทียนดวงที่สอง และตรงที่ซึ่งแสงสลัว
ของเทียนสองดวงชนกันนั้น คืออำณำเขตที่บอกไม่ได้แน่ชัดว่ำเป็นของใคร หรือใครเป็นนำยอย่ำง
แท้จริง” (นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างใน ชนิดา เผือกสม, 2546) มาเป็นรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ทีผ่ ู้
ปกครองที่อยู่ในฐานะองค์อธิปัตย์มีอำานาจเด็ดขาด สมบูรณ์และไม่ขาดตอนจนกว่ากระแสแห่ง
อำานาจนั้นจะไปหยุดอยู่ ณ เส้นอาณาเขตของประเทศสนธิสัญญาเวสต์ปาเลียจึงเป็นที่มาของรัฐ
สมัยใหม่ที่มีอาณาเขตที่แน่นอน (Territorial state) มีประชากร (Population) ในบังคับของรัฐนั้น ๆ
อย่างชัดเจน และมีองค์อธิปัตย์หรือผู้มีอำานาจสูงสุดของรัฐนั้น ๆ (Sovereign) เป็นศูนย์กลางแห่งผู้
ปกครองดูแลรัฐนั้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2549)

11
อาจจะกล่าวได้ว่านับตั้งแต่ พ.ศ. 2191(ค.ศ.1648) เป็นต้นมา ความเป็นรัฐชาติได้ถูก
พัฒนาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึน้ เรื่อย ๆ ด้วยการเรียกร้องให้แต่ละดินแดนในรัฐจารีตที่มีเส้น
อาณาเขตอันพร่ามัวและอยู่ในบังคับปกครองของกษัตริย์ที่ไม่ใช่คนชาติเดียวกับตน12 แปรเปลี่ยน
เป็นรัฐของประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกันและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมกัน เพราะรัฐชาติ
เท่านั้นที่จะสามารถประกันลักษณะความเป็นคนพวกเดียวกัน มีเชื้อชาติเดียวกัน และปกครองเพื่อ
ประโยชน์ของคนชาติเดียวกันเหล่านั้นไว้ได้ ด้วยแนวคิดนี้ อำานาจอธิปไตยจึงเป็นสิ่งต้องมีอยู่ในรัฐ
ชาติ เพื่อประกันและคุ้มครองความเป็นชาติ และนำาไปสู่การเรียกร้องให้คนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน
สถาปนารัฐของคนชาติเดียวกันขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “รัฐที่เป็นธรรมชาติที่สดุ คือ รัฐที่ประกอบด้วย
ประชาชนกลุ่มเดียวกันและมีลักษณะประจำาชาติเดียวกัน” (Peter Alter, 1994 อ้างใน สมเกียรติ
วันทะนะ, 2544: 79) จนกระทั่งปัจจุบันที่ประเทศทั้งหมดล้วนแต่มีความเป็นรัฐชาติครบถ้วนแทบ
ทุกประเทศ13 (ทั้งชาติที่เกิดโดยสำานึกตามธรรมชาติและชาติที่เกิดโดยการแปลงชาติ) อีกทั้งรูป
แบบความสัมพันธ์ทางสังคม-การเมืองทั้งหลายต่างอธิบายได้บนบริบทของการเป็นรัฐชาติ ตั้งแต่
ในช่วงแรกของการเป็นรัฐชาติ เช่น การทำาสงครามเพื่อขยายดินแดน การล่าหรือแบ่งสรรเขตแดน
อาณานิคม ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ความเป็นรัฐชาติกับความเป็นรัฐจารีตถูกผนวกกลมกลืน
เข้าด้วยกัน และเกิดเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิขนาดใหญ่และประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จน
กระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เกิดลัทธิที่เรียกว่า ชาตินิยม (Nationalism)14 อย่างชัดเจนและ
ทำาให้ความเป็นรัฐชาติมีความชัดเจนเด่นชัดจนถึงปัจจุบันนี้ (สุเทพ แสงทอง: 2549)

12
ตัวอย่างเช่น ราชวงศ์ต่าง ๆ ที่ปกครองสหราชอาณาจักร ซึง่ บ่อยครั้งพบว่า กษัตริย์ไม่ใช่คนเชื้อชาติเดียวกับพสกนิกรและบาง
ครั้งก็ไม่ได้ใช้ภาษาเดียวกับพสกนิกรอีกด้วย ซึง่ เป็นลักษณะเช่นเดียวกับกษัตริย์ ราชา และเจ้าผู้ครองนครในอาณาจักรราชวงศ์และ
รัฐจารีตเดิม ซึง่ ปกครองและแผ่ขยายอำานาจทางการเมืองอย่างมั่นคงด้วยการอภิเษกสมรสกับลูกหลายของกษัตริย์ ราชา และเจ้าผู้
ครองนครอื่น ๆ พร้อม ๆ กับการทำาสงคราม ดู ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2552 บทที่ 1-3 และ 5
13
ข้อสังเกตคือ มีบางประเทศ/ชาติในปัจจุบันที่ไม่มีความเป็นรัฐชาติอย่างสมบูรณ์ เช่น นครรัฐวาติกัน เช่น The Order Of Malta
ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยทหาร หรือที่สับสนกว่า เช่น ประเทศ Sealand (ซึ่งเป็นเพียงป้อมปราการกลางทะเล) และ สาธารณรัฐโรสไอส์
แลนด์ (ซึ่งถูกทำาลายโดยอิตาลีไปแล้ว) เป็นต้น รวมถึงที่พิลึกพิลั่นอย่างที่สุด อย่าง Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea
Islands เป็นต้น ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Micronation
14
อาจกล่าวได้ว่า จุดกำาเนิดของลัทธิชาตินิยม ที่เน้นความสำาคัญสูงสุดของ ชาติ) นั้น มีจุดกำาเนิดจากการเสื่อมสลายของระบอบ
การปกครองแบบราชาธิปไตย ที่เน้นความสูงส่งเหนือผู้คนและดินแดนที่หลากหลายพร้อมการสถาปนาความมั่นคงของรัฐราชวงศ์
ด้วยการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ต่าง ๆ กับ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในรูปของชุมชนศาสนาที่มีภาษาศักดิ์สิทธิ์ เช่น
ขอม บาลี-สันสกฤต ลาติน และ อาหรับ เป็นต้น โดยมีประมุขสูงสุดของศาสนาเป็นผู้สร้างความชอบธรรมให้แก่กษัตริย์ในฐานะผู้
ปกครองอีกชั้นหนึ่ง และเป็นที่มาของลัทธิเทวสิทธิ์ในตะวันตก กับ ลัทธิเทวราชย์ในตะวันออก ดู ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2552
อนึ่ง คำาว่า Nation สมเกียรติ วันทะนะ อธิบายว่ามาจากภาษาลาติน Nasci ซึ่งหมายถึง การเกิด และ คำาว่า Natio ซึ่งหมายถึง เป็น
ของสถานที่ใดที่หนึ่งตัง้ แต่แรก ซึง่ ใกล้เคียงกับคำาว่า Native, Nature คำานี้ ธีรยุทธ บุญมี ได้ตงั้ ข้อสังเกตว่า มีรากศัพท์มาจากคำาว่า
Gene ซึง่ ตรงกับคำาว่า ชาตะ ในภาษาสันสกฤต

12
สยามสมัยใหม่ : มโนทัศน์ความเป็นไทยเพื่อความเป็นเอกราชในรัชกาลที่ 5
ด้วยเหตุข้างต้น การสร้างเพลงประจำาชาติที่มีลักษณะเป็นทางการเป็นครั้งแรกในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากการเสด็จเยือนประเทศสิงคโปร์ จนเกิด
เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น จึงเป็นผลกระทบต่อมาจากการต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมในสมัย
รัชกาลที่ 5 เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นท่ามกลางความหลากหลายและแตกต่างภายในชาติสยาม
ในขณะนั้น และสิ่งสำาคัญที่สุดขณะนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของสยามจากรัฐจารีตไปสู่ความเป็นรัฐ
สมัยใหม่ในฐานะรัฐชาติ (Nation State) ด้วยการจัดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การ
สร้างระบบราชการ (Bureaucracy System) การจัดตั้งรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและการ
รวบรวมอาณาเขตต่าง ๆ ในรูปแบบมณฑล เหล่านี้ สะท้อนถึงความต้องการเข้าไปมีอำานาจเหนือ
ดินแดน (Territorial Sovereignty) ทุกภาคส่วนในสยาม
ในขณะนั้นการปลูกฝังแนวคิดเรื่องความเป็นผู้คนในประเทศชาติเดียวกันนั้น ยังตั้งบนพื้น
ฐานความจริงทีว่ ่าสยามยังคงเป็นราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยดินแดนและผู้คนที่หลากหลาย ดัง
จะสังเกตได้จากการสร้างตราพระราชลัญจกรและธงบรมราชธวัชมหาสยามมินทร์หรือตรามหาราช
ซึ่งมีตราในลักษณะเดียวกับตราพระราชลัญจกรอยู่บนผืนธง ตราดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับตรา
อาร์ม (Coat of Arm) ที่นิยมใช้ในหมู่ราชวงศ์และขุนนางต่าง ๆ ในประเทศตะวันตก ซึ่งสะท้อนถึง
ความอิทธิพลของการพยายามพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย (modernization) หรือในความ
หมายของอัศดงนุวัติ ซึ่งหมายถึงการพยายามทำาให้เป็นตะวันตก (westernization) ของประเทศ
สยามเพื่อป้องกันความพยายามในการยึดครองประเทศเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกในขณะ
นั้น และในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ปรากฏบนตราดังกล่าว อันได้แก่ ช้างสามเศียร อันเป็นสัตว์พาหนะ
ของพระอินทร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระบรมรามาธิบดี อันเป็นคติของลัทธิเทวราชย์ที่สยามได้
อิทธิพลมาจากขอม ทีว่ า่ กษัตริย์คือร่างอวตารมาจากพระอินทร์ สัญลักษณ์ช้าง ที่หมายถึง
อาณาจักรลาวล้านนาและลาวล้านช้างทางตอนเหนือของประเทศ สัญลักษณ์กริชไขว้ ซี่งหมายถึง
ดินแดนหัวเมืองมลายูทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงทัศนคติเดิมของรัฐจารีตที่มองว่า การ
เป็นประเทศความหลากหลายทั้งปวงสามารถผสมผสานกันอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์
เพียงองค์เดียว และมีผู้คนที่แตกต่างกันเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ นัน่ คือสิ่งที่
แสดงถึงยิ่งใหญ่ของรัฐจารีตแบบเดิม ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงความชัดเจนในการพยายามขีด
เส้นดินแดนของสยามว่าประกอบไปด้วยไทยตอนกลาง ลาวล้านนาทางตอนเหนือ และแขกมลายู
ในตอนใต้ไปด้วย (ชาตรี ประกิตนนทการ: 2550)
การจะทำาความเข้าใจกับบริบทของสังคม-การเมือง และการดำาเนินรัฐประศาสนโยบายใน
ช่วงรัชกาลที่ 5 นั้น มีความจำาเป็นที่จะต้องทำาความเข้าใจกับประวัติศาสตร์บาดแผลชิ้นสำาคัญของ
ประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักในเรื่องของการเสียดินแดนที่เคยอยู่ในปกครองของสยามให้แก่ชาติ

13
ตะวันตก โดยที่ในช่วงรัชสมัยดังกล่าว ชาติสยามถูกบีบคั้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศ
มหาอำานาจจักรวรรดินิยม 2 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร หรือ อังกฤษ ก่อนหน้านั้นในช่วง
รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สยามได้เสียดินแดนต่าง ๆ ทั้งสิ้น 7 ครั้ง อันได้แก่ (ชนิดา
เผือกสม: 2546)
1. พ.ศ. 2410 เสียเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศส
2. พ.ศ. 2431 เสียแคว้นสิบสอบจุไทย และหัวเมืองพันให้ฝรั่งเศส
3. พ.ศ. 2435 เสียหัวเมืองเงี้ยว และหัวเมืองตะวันออกให้แก่อังกฤษ
4. พ.ศ. 2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่นำ้าโขง ให้กับฝรั่งเศส
(ซึ่งเป็นที่มาของ วิฤตการณ์ ร.ศ. 112)
5. พ.ศ. 2446 สยามสละสิทธิ์เหนือดินแดนฝั่งขวาแม่นำ้าโขงให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลก
กับจันทบุรี
6. พ.ศ. 2449 เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส
7. พ.ศ. 2451 เสียไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้กับอังกฤษ

การเสียดินแดนต่าง ๆ เหล่านี้ ทำาให้สยามในขณะนั้นจำาเป็นต้องพยายามรักษาดินแดน


ส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ให้มีความมั่นคงที่สุดเท่าที่จะทำาได้และเป็นที่มาของการปฏิรูปการบริหาร
ราชการแผ่นดินที่นำามาสู่การรวมอำานาจสู่ศูนย์กลาง (Centralization) การปกครองของประเทศ
อย่างเข้มแข็งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสยาม-ไทย เลยทีเดียว
ความพยายามต่อสู้กับการขยายอาณานิคมของชาติตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 5 จน
สามารถสร้างบูรณาภาพเหนือดินแดนของสยามได้ในเวลานั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ต่อประเทศ
สยามนั่นคือ จะทำาอย่างไรให้ประชาชนที่แตกต่างกันสามารถมีความเป็นไทยได้เหมือนกัน และ
ลัทธิชาตินิยมคือเครื่องมือที่ถูกใช้ในการสร้างคำาตอบต่อ “ความเป็นไทย” ในคำาถามดังกล่าว
ในช่วงของการปรับปรุงประเทศให้เป็นรัฐสมัยใหม่ในช่วงรัชกาลที่ 5 นัน้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิยามสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ลงไปที่ การทรงพระ
มหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ต่อพสกนิกรต่างชาติ ต่างภาษา เพื่อสร้างมโนทัศน์ว่า “
เมืองไทยนี้ดี”15 ขณะเดียวกันก็ทรงพยายามที่จะลบเลือนความเป็นชาติอื่นของดินแดนต่าง ๆ ใน

15
สำานวนเมืองไทยนี้ดี เป็นของ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งสายชล สัตยานุรักษ์ ได้นำามาใช้ในการอธิบายความเป็นชาตินิยมทาง
วัฒนธรรมซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ทั้งในฐานะพระมหากษัตริย์ และ วชิรญาณภิกขุ ผ่านการนิยามศิลปวัฒนธรรม ภาษา
มารยาท สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และศาสนา ดู สายชล สัตยานุรักษ์ “ประวัติศาสตร์การสร้าง “ความเป็นไทย” ใน กฤตยา อา
ชวนิจกุล, 2551 หน้า 61-83

14
ราชอาณาจักร เช่น การเปลี่ยนคำาเรียกอย่างไม่เป็นทางการของหัวเมืองลาวต่าง ๆ ด้วยการกำาหนด
นามอย่างเป็นทางการของมณฑลตามชื่อทิศ เช่น พายัพ อุดร อีสาน รวมถึงการเรียกอาณาจักร
ล้านนา ว่า “ลานนาไทย” อีกด้วย ในขณะเดียวกับที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศว
รกุมาร กรมพระยาดำารงราชานุภาพ ในฐานะเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงนิยามลักษณะ
ของความเป็นไทยไปที่อุปนิสัยสำาคัญ 3 ประการ คือ ความจงรักในอิสรภาพของชาติ ความ
ปราศจากวิหิงสา และความฉลาดในการประสานประโยชน์ (กฤติยา อาชวนิจกุล, 2551) พร้อมกัน
นั้นความจำาเป็นของการมีประวัติศาสตร์ร่วมกันของประชากรที่เป็นไทย (และที่ต้องการให้เป็นไทย)
ก็นำาไปสู่ประวัติศาสตร์นิพนธ์และการชำาระพงศาวดารต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของ “
โบราณคดีสโมสร” และ “นิทานโบราณคดี” ส่วนความจำาเป็นในการควบคุมประชากรในพระราช
อาณาจักรของพระองค์ ก็เป็นเหตุนำามาสู่การจัดการระบบไพร่ทาส เมื่อผนวกกับการต้องการเสรี
ชนที่จะมาเป็นกำาลังในการผลิตในระบบเศรษฐกิจใหม่ ชาวจีนอพยพ จึงเป็นแรงงานรับเชิญ16 ที่
สำาคัญโดยมีข้าราชการไทยซึ่งเป็นตัวแทนของราชการส่วนกลางที่เข้ามาแทนที่เจ้าเมืองเดิมใน
ระบบรัฐจารีตแบบเดิมเป็นผู้ควบคุมแรงงานรับเชิญเหล่านี้ รวมถึงการพยายามปรับปรุงระบบ
กฎหมายของราชอาณาจักร เพื่อรักษาไว้ซึ่ง “สัปเยกต์สยาม”17 ให้สามารถมีทนายแก้ต่างคดีความ
ได้ โดยไม่เสียเปรียบ “สัปเยกต์ต่างประเทศ” ซึ่งนำาไปสู่การเมืองเรื่องสิทธิภาพของคนในบังคับใน
เวลาต่อมา การสร้างสาธารณูปโภค ระบบสื่อสาร ระบบขนส่ง ตลอดจนการริเริ่มระบบทหาร
ประจำาการและการจัดการศึกษาโดยรัฐ ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะรวมศูนย์อำานาจไว้ที่ราชสำานักกรุงเทพ
รวมถึงการสร้างสัญลักษณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ธงชาติสยาม18 ตราแผ่นดิน19 รวมถึงเพลง
ประจำาชาติ เป็นต้น นิยามความเป็นไทยในขณะนั้นจึงเป็นเรื่องความพยายามที่จะนิยามความเป็น
“เจ้าเข้าครอง” ของชนชั้นนำาเชื้อชาติไทยของประเทศสยามซึ่งทำาการปกครองประชากรต่างชาติ

16
แรงงานรับเชิญดังกล่าว มีความสำาคัญคือ เป็นเสรีชนที่ไร้ซึ่งอำานาจทางการเมือง และทำางานที่ใช้แรงงานอย่างหนัก สกปรกและ
ค่าตอบแทนน้อย ซึ่งชนพื้นเมืองเจ้าของประเทศไม่ต้องการทำา ซึ่งแตกต่างกับเสรีชนสยามที่เคยสังกัดไพร่ทาสมาก่อน ดู ชาญวิทย์
เกษตรศิริ, 2552: 182-185 สำาหรับผลงานชิ้นสำาคัญของแรงงานรับเชิญเหล่านี้ เช่น การขุดคลองรังสิตซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตเพื่อส่งออก และ การสร้างทางรถไฟ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการเมืองหลวงเข้ากับมณฑล
ต่าง ๆ ในประเทศ
17
คำาว่า สัปเยกต์ มาจากภาษาอังกฤษว่า Subject สัปเยกต์สยาม จึงหมายถึง Siamese Subjects ซึ่งก็คือ คนในบังคับสยาม
นั่นเอง ดู นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2549: 10
18
สำาหรับรูปแบบและประกาศพระราชบัญญัติเกี่ยวกับธงชาติในสมัยรัชกาลที่ 5 ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม ได้ศึกษาไว้ดีแล้ว ดู
ชนิดา เผือกสม, 2546
19
ตราแผ่นดินที่เรียกว่า coast of arm นั้น แม้ภายหลังจะเลิกใช้ไปด้วยพระราชดำาริของรัชกาลที่ 5 ว่า เป็นอย่างฝรั่งไป แต่ปัจจุบัน
ตราดังกล่าวยังคงใช้เป็นตราดังกล่าว เช่น กรมป่าไม้ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ธนาคารไทย
พาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ พึงสังเกตถึงคาถาบาลีที่อยู่ในส่วนล่างสุดของตรานั้น คือ “สพฺเพสำ สำฆภูตานำ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา” ซึ่ง
แปลได้ว่า ความพร้อมเพรียงของชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำาเร็จ

15
ต่างภาษา และสถาปนาความเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาประชาราชทั้งปวง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถ
สรุปลงไปที่คำาว่า “เอกราช” (ในความหมายของราชาหนึ่งเดียว) เหนือแว่นแคว้นทั้งปวง (และอธิ
ราชาทั้งหลายซึ่งยังคงปกครองแว่นแคว้นเหล่านั้น) ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม พร้อม ๆ
กับการพยายามพัฒนาสยามให้มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
แม้จะยังไม่มีการขับเน้นความเป็นไทยอย่างชัดเจนดังที่ปรากฏในยุคต่อมา แต่ก็นับเป็นครั้งแรกที่
กระบวนการสร้างรัฐชาติเกิดขึ้น ณ ราชอาณาจักรสยาม
ด้วยเหตุเหล่านี้ การสร้างเพลงสรรเสริญพระบารมีจึงสะท้อนอัตลักษณ์สำาคัญของชนชั้น
นำาที่ปกครองสยาม ถึงการเป็นผู้นำาสูงสุดของชาติที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่หลากหลายและมี
ความแตกต่างทั้งทางชาติกำาเนิด สถานภาพ ภูมิหลัง วัฒนธรรม ภาษา และหน้าที่ต่อชาติ โดยมี
จุดร่วมกันคือ อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พร้อมกันนัน้ ก็
เป็นการกำาหนดถึงอัตลักษณ์ของคนในประเทศว่า คือผู้ถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
พระองค์นั้นไปพร้อม ๆ กัน

ราชาชาตินิยม: ความเป็นไทยเพื่อรักษาความมั่นคงภายใน สมัยรัชกาลที่ 6


ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ลัทธิชาตินิยมได้
มีสำาคัญอย่างมากต่อการสร้างชาติให้มีความชัดเจนและติดอยู่ในสามัญสำานึกร่วมกันของคนใน
ชาติ ทั้งนี้ โดยการปลูกฝังความคิดเรื่องความเป็นชาติและหน้าที่ต่อชาติในรัชสมัยของพระองค์
ทั้งนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากบริบททางการเมืองในขณะนั้นที่ภาวะบีบคั้นจากประเทศ
จักรวรรดินิยมที่มุ่งล่าอาณานิคมเริ่มอ่อนลงพร้อมกับที่สถานการณ์ด้านการเมืองการปกครองของ
รัฐจารีตและอาณาจักรราชวงศ์ทั้งหลายเริ่มเข้าสู่จุดวิกฤติ เช่น การยกเลิกระบบกษัตริย์ในตรุกี การ
ปฏิวตั ิในจีน เหตุการณ์กบฏในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่เริ่ม
มีเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนเริ่มกลายเป็นสื่อสาธารณะยิ่งขึ้น ดังกรณีของเทียน
วรรณ เป็นต้น (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2549) เหตุการณ์ชุมนุมนัดหยุดงานของกลุ่มพ่อค้าจีนซึ่ง
เป็นลูกหลานของแรงงานรับเชิญชาวจีนที่สามารถเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจขึ้นมาได้ ใน พ.ศ.
2453 และเหตุการณ์นายทหารชั้นผู้น้อยที่วางแผนจับตัวพระองค์เพื่อบังคับให้พระราชทาน
รัฐธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย หรือที่รู้จักกันว่า เหตุการณ์กบฏ
ร.ศ. 130 (พ.ศ.2455 ก่อนเหตุการณ์เปลี่ยนการปกครองของคณะราษฎร์ 20 ปี) คือตัวอย่างของ
ความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในรัชสมัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดี (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2552)
การสร้างมโนทัศน์ความเป็นไทยเพื่อตอบรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นเรื่องของการ
สถาปนาความเป็นชาติของชนชั้นนำาผู้ปกครองประเทศให้มั่นคงเพียงพอต่อแรงปะทะภายในที่
กำาลังนำารัฐจารีตไปสู่ความเป็นรัฐประชาชาติ โดยมีลูกหลานชาวจีนที่เป็นคนชาติจีนอย่างเต็มตัว

16
ในสยามเป็นผู้นำาเข้าระบบสาธารณรัฐตามสายตาของชนชั้นนำาผู้ปกครองประเทศในขณะนัน้ ดัง
นั้นเพื่อสงวนพระราชอำานาจนำาในการปกครองประเทศ การตอกยำ้าความเป็นไทยแท้ของพระองค์
พร้อมกับการกำาหนดคุณลักษณะความเป็นไทยแท้ของบรรดาพสกนิกร ด้วยการกำาหนดให้
พระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์คือศูนย์กลางแห่งชาติ โดยมี “คณชน” ทั้งหลายไม่ว่าจะสืบเชื้อ
สายใด มีวัฒนธรรมอย่างไร แต่จะต้องเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และคณชนเหล่า
นั้นก็คือคนไทยอย่างแท้จริง จึงเป็นการอธิบายร่วมกันระหว่างความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ระหว่าง
ชาติกับสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง
การสร้างมโนทัศน์เรื่องชาติในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่าน
พระราโชบายนานัปการ ไม่ว่าจะเป็น การขยายการจัดการศึกษาภาคบังคับพร้อมหลักสูตร
มาตรฐานที่จะทำาให้ประชนของราชอาณาจักรสยามได้รับความรู้ในทิศทางเดียวกัน การจัดตั้ง
เสือป่า ทีม่ ีลักษณะเป็นการฝึกอบรมให้บุรุษมีความคิดรักชาติบ้านเมือง (Patriotism) หรือการ
เขียนพระราชนิพนธ์ปลุกใจทางการเมืองการปกครองหลาย ๆ ต่อหลายครั้ง (ทีส่ ำาคัญคือ คำาขวัญที่
ว่า “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ซึ่งกลายเป็นมโนทัศน์ความเป็นไทยที่แข็งแรงที่สุดจนถึงปัจจุบันนี้) จนแม้
กระทั่งการเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเป็นธงไตรรงค์และบรรจุคำาอธิบายของสีบนธงชาติที่มีความ
หมายว่า สีแดง คือ ชาติ คือเลือดเนื้อของบรรพบุรุษที่ได้หลั่งออกมาเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ สี
ขาว คือ ศาสนา ที่ทำาให้ชาติสงบและเป็นที่ตั้งแห่งคุณธรรม และสีนำ้าเงินคือ ตัวพระมหากษัตริย์ ซึ่ง
ก็คือพระองค์เอง ก่อกำาเนิดเป็นคำาขวัญของเสือป่า และกองทหารต่าง ๆ ในภายหลังว่า ชาติ
ศาสนา กษัตริย์ ได้ก่อให้เกิดมโนทัศน์ของการเป็นพลเมืองที่ดีไทย ดังที่พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้ว่า
“กำรที่จะตัดสินว่ำผู้ใดเป็นชำติใดโดยแท้จริงนั้น ต้องพิจำรณำว่ำผู้นั้นมีควำมจงรักภักดี
ต่อใคร ถ้ำเขำจงรักภักดีต่อพระบำทสมเด็จพระเจ้ำแผ่นดินสยำม เขำจึงจะเปนไทยแท้ แต่ถ้ำใคร
แสดงตนว่ำเปนอิศรแก่ตน ไม่มีควำมจงภักดีต่อผู้ใดดังนี้ ต้องจัดผู้นั้นเปนคนไม่มีชำติ เพรำะคน ๆ
เดียวหรือหมู่เดียวจะตั้งตนขึ้นเปนชำติต่ำงหำกหำได้ไม่” (พระนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ความเห็น 10 เรื่องของอัศวพาหุ หน้า 44 อ้างใน นครินทร์ เมฆ
ไตรรัตน์, 2549 อักขระต่าง ๆ ใช้ตามแบบนิยมในยุคนั้น) และ
“เราอุทิศตัวเราทั้งหลายและอุทิศกำาลังกาย กำาลังสติปัญญาไว้เพื่อป้องกันรักษาชาติ,
ศาสนา, พระมหากษัตริย์ สิง่ ซึ่งเป็นที่เคารพรักใครทั้ง 3 คือ ความเป็นไทยของเราอย่าง 1 ความ
มั่นคงของชาติเราอย่าสง 1 พระศาสนาของเราอย่าง 1 สามอย่างนี้ปู่ย่าตายายของเราได้ยอมสละ
เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อป้องกันแล้ว; เราทั้งหลายผู้เป็นบุตรหลาน ย่อมมีหน้าที่ ๆ จะต้องทำาให้
สมควรที่เป็นบุตรหลานของท่าน ต้องไม่ให้มีผู้ใดว่าได้” (พระนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน เทศนาเสือป่า หน้า 58 อ้างใน ชนิดา เผือกสม, 2546)

17
ในช่วงดังกล่าว จึงเป็นยุคสมัยของราชาชาตินิยม หรือ การสร้างลัทธิชาตินิยมโดยกษัตริย์
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสร้างความมั่นคงของประเทศในลักษณะของความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวอย่างไม่แตกต่างกันให้เกิดขึ้น โดยจุดสูงสุดของมโนทัศน์ความเป็นไทยในช่วงดังกล่าวคือ การ
ถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง (กฤตยา อาชวนิจกุล :2551)

รัฐนิยม ชาตินิยมและการแปลงชาติให้เป็นไทยและแปลงไทยให้เป็นหนึ่งเดียว
ต่อมาในช่วงที่มีการสร้างเพลงชาติไทยในฉบับปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2482 ประเทศไทยภาย
ใต้การนำาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการขับเน้นเรื่องชาตินิยมในการสร้างความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันของคนในชาติผ่านนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนคือเอกสาร
ประกาศของสำานักนายกรัฐมนตรีที่เรียกว่า “รัฐนิยม” ทัง้ 12 ฉบับ ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงครามได้
กล่าวสุนทรพจน์ที่เกี่ยวข้องกับความหมายของสิ่งที่เรียกว่า “รัฐนิยม” ไว้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
2482 (ในขณะนั้นวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี ถูกกำาหนดให้เป็นวันชาติแทนวันพระราชสมภพ)
ความว่า
“คือ กำรปฏิบัตใิ ห้เป็นประเพณีนิยมที่ดีประจำำชำติ เพื่อให้บุตรหลำนของอนุชนไทยเรำ
ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ รัฐนิยมนี้มีลักษณะละม้ำยคล้ำยคลึงกับจรรยำมำรบำทของอำรยชนจะพึง
ประพฤตินนั่ เอง” และได้อธิบายถึงสาเหตุของการประกาศรัฐนิยมไว้ใน “ประกาศคำาอธิบายรัฐ
นิยม” ที่ออกในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 ความว่า “เพื่อให้งำนที่ทำำมำแล้ว และที่จะทำำต่อไป
ได้ผลยั่งยืน ประชำชนชำวไทยจำำต้องปลูกคุณลักษณะขึ้นใหม่สมกับระบอบใหม่ ด้วยเหตุนี้
รัฐบำลจึงสนใจในกำรสร้ำงควำมวัฒนำให้บังเกิดคู่กันไปกับควำมถำวรที่ได้พยำยำมทำำมำแล้ว...
แต่กำรสร้ำงควำมวัฒนำนั้น ไม่สะดวกที่จะใช้กฎหมำย รัฐบำลจึ่งได้จัดให้มีระเบียบอันหนึ่งเรียก
ว่ำรัฐนิยม... รัฐนิยมมีลักษณะเช่นเดียวกับพระรำชนิยมในสมัยก่อน ผิดกันแต่ว่ำพระรำชนิยมเป็น
มติของพระมหำกษัตริย์พระองค์เดียว ส่วนรัฐนิยมเป็นมติของรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นโดนอนุโลมตำม
มติมหำชน เป็นประเพณีนิยมประจำำชำติ” ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่ารัฐนิยม จึงเป็นข้อกำาหนดที่รัฐในเรื่อง
การกำาหนดว่าประชาชนของตนควรมีวิถีการดำาเนินชีวิตอย่างไรจึงจะทำาให้ประเทศมีความเจริญ
ทัดเทียมอารยะประเทศอื่น ๆ โดยมีคณะกรรมการรัฐนิยมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2482 ซึ่งประกอบ
ไปด้วย (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : 2547)
1. หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ
2. ขุนสมาหารหิตะคดี
3. นายพันโทประยูร ภมรมนตรี
4. นายพันเอกหลวงสฤษฎ์ยุทธศิลป์
5. นายพันตำารวจโทขุนศรีศรากร

18
ดังนั้น การจะเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงครามนั้น การทำาความเข้าใจกับความคิดและทัศนคติของหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลี
ยง วัฒนปฤดา) ซึ่งเป็นเป็นผู้มีบทบาทสำาคัญในการสร้างและใช้นโยบายชาตินิยมในประเทศไทย
สมัยนั้น ประกอบกับตำาแหน่งอย่างเป็นทางการในฐานะรัฐมนตรี20 และประธานคณะกรรมการรัฐ
นิยม ตลอดจนตำาแหน่งอย่างไม่เป็นทางการในฐานะ “มันสมองของท่านผู้นำา” จึงเป็นสิ่งที่มีความ
สำาคัญและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
หลวงวิจิตรวาทการได้แสดงปาฐกถาเรื่องการเสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งแสดงแก่ครู
อาจารย์และนักเรียนกรมยุทธศึกษา ณ หอประชุมศิลปากร วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2483
ได้สะท้อนภาพทัศนคติสำาคัญของหลวงวิจิตรวาทการในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐนิยม นอกจากนี้
ยังสะท้อนถึงบริบทของสังคม-การเมืองของโลกในยุคนั้นไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
"ท่ำนนำยกรัฐมนตรีของเรำได้เคยกล่ำวมำหลำยครั้งว่ำ ต่อไปนี้เรำจำำจะต้องเป็นมหำ
ประเทศหรือมิฉะนั้นก็จะต้องล่มจม ที่ทำ่ นนำยกรัฐมนตรีกล่ำวเช่นนี้เป็นควำมจริง สภำพของโลก
ในกำลต่อไปจะต้องมีกำรปฏิวัติผิดแปลกกับที่เป็นมำจนกระทั่งถึงบัดนี้ กล่ำวคือจำำนวนประเทศ
เล็กๆ จะต้องถูกกลืนหำยเข้ำไปในประเทศใหญ่ ประเทศเล็กๆ ซึ่งอยู่ใกล้รัสเซียได้ถูกกลืนหำย
เข้ำไปในสหภำพโซเวียตเกือบหมดแล้ว สงครำมครำวนี้เสร็จสิ้นลงเมื่อใด แผนที่โลกจะแปลกตำ
เรำทันที ประเทศเล็กๆ น้อยๆ จะหมดไป เหลือแต่ประเทศใหญ่ๆ อุปกำรณ์ของโลกจะต้องเป็นเช่น
นี้อย่ำงแน่นอน ฉะนั้นเรำจึงมีทำงเลือกอยู่เพียง 2 ทำง คือเป็นมหำประเทศเสียเอง หรือล่มจมถูก
กลืนหำยเข้ำไปในมหำประเทศใดประเทศหนึ่ง ถ้ำหำกเรำได้ดินแดนที่เสียไปนั้นกลับคืนมำ เรำมี
หวังที่จะเป็นมหำประเทศ เพรำะว่ำถ้ำเรำได้ดินแดนที่เสียไปนั้นกลับคืนมำทั้งหมด นอกจำกเรำจะ
ได้เนื้อที่เพิ่มขึ้นกว่ำที่อยู่ในเวลำนี้อีกเท่ำตัว และได้จำำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นอีกรำว 4 ล้ำนคนแล้ว
จะมีผลอันสำำคัญยิ่งอีกอย่ำงหนึ่งคือ เรำจะสำมำรถมีดินแดนเข้ำไปถึงถิ่นไทยอันกว้ำงขวำง ซึ่งตั้ง
อยู่เหนือสิบสองจุไทย ที่นั่นมีเลือดเนื้อเชื้อไขเรำอยู่ 24 ล้ำนคน ซึ่งยังถือตนเป็นคนไทย พูดภำษำ
ไทย มีชีวิตจิตใจเป็นไทย เรำสำมำรถจะเปิดประตูรับพี่น้อง 24 ล้ำนคนของเรำเข้ำมำหำเรำ ทั้งนี้
มิได้หมำยควำมว่ำเรำจะไปรุกรำนดินแดนเหล่ำนั้น เรำไม่ต้องกำรรุกรำนใคร ที่ดินของเรำมีถมไป
เรำต้องกำรแต่จะให้พี่น้องของเรำเข้ำมำอยู่รว่ มรับควำมผำสุกด้วยกัน และเรื่องนี้ข้ำพเจ้ำมีควำม
เชื่อมั่นว่ำเรำทำำสำำเร็จ และในไม่ช้ำเรำจะเป็นประเทศที่มีดินแดนรำว 9,000,000 ตำรำงกิโลเมตร
และมีพลเมืองไม่น้อยกว่ำ 40 ล้ำนคน เรำเป็นมหำประเทศ ถ้ำเรำไม่ทำำเช่นนั้น และถ้ำเรำยัง
พอใจในควำมเป็นประเทศเล็กอยู่เช่นนี้ เรำจะต้องถูกกลืนเข้ำไปอยู่ในประเทศใหญ่ ท่ำนจะเลือก
เอำข้ำงไหน เป็นมหำประเทศหรือถูกกลืน" (วิจิตรอนุสรณ์ อ้างใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : 2547)

20
เป็นรัฐมนตรีลอย คือไม่บังคับบัญชากระทรวงใด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอธิบดีกรมศิลปากร

19
นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2481 หลวงวิจิตรวาทการได้แสดงปาฐกถาที่ได้ชื่อว่า “อื้อ
ฉาว” ที่สุดครั้งหนึ่ง เนื่องจากการกล่าวว่าประณามว่า “คนจีนในไทยเป็นกำฝำกยิ่งกว่ำยิวในยุโรป
ถ้ำจะใช้วิธีแบบฮิตเลอร์ทไี่ ล่ยิวออกนอกประเทศบ้ำงก็ไม่น่ำจะเป็นอะไร” โดยในการแสดงปาฐกถา
ในครั้งนั้นได้กล่าวถึงการที่ “ชำติไทยยังเป็นชำติใหญ่มหึมำชำติหนึ่ง” โดยการอ้างถึงการเป็น
ชนชาติขนาดใหญ่ของชนชาติไทย ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการได้แสดงหลักฐานเป็นตัวเลขดังนี้
จำานวนคนไทยที่อยู่ในประเทศเรา ราว 13,000,000 คน ในมณฑลกวางซีของจีน
8,000,000 คน กุยจิ๋ว 4,000,000 คน ยูนนาน 6,000,000 คน กวางตุ้ง 700,000 คน เสฉวน
500,000 คน ในเกาะไหหลำา 300,000 คน ในอารักขาของฝรั่งเศส(ไม่นับเขมร) 2,000,000 คน
ในปกครองของอังกฤษ 2,000,000 คน รวม 36,500,000 คน
ทัศนคติของหลวงวิจิตรวาทการในเรื่องดังกล่าวนอกจากจะสะท้อนความเป็นชาตินิยม
(Nationalism) แล้วยังสะท้อนถึงความเป็นเชื้อชาตินิยม (Racism) ในตัวของหลวงวิจิตรวาทการ
ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนออกมาในประกาศรัฐนิยมแต่ละฉบับ ซึ่งมีความจงใจที่จะละเลยความ
หลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น การที่ปรากฏชัดเช่น การห้ามประชาชนชาวมุสลิมเพศหญิง หรือมุ
สลิมมีนห์ สวมผ้าคลุมศรีษะหรือฮิญาบ โดยใช้ประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายของ
ประชาชนชาวไทย เป็นต้น
ในส่วนของเพลงชาติไทยนั้น รัฐนิยมฉบับที่ 4 ทีป่ ระกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2482
เรื่อง การเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ได้กำาหนดวิธีการและความสำาคัญ
ของการเคารพเพลงชาติไว้ดังนี้
“ด้วยรัฐบาลเห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นสิ่งสำาคัญประจำา
ชาติ พึงได้รับความเชิดชูเคารพของชาวไทยทั้งมวล จึงประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดังต่อไปนี้” โดยมีข้อ
กำาหนดทั้งสิ้น 5 ข้อ ซึ่งในที่นี้ขอตัดมาเฉพาะที่สำาคัญ คือ “ข้อที่ 1. เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือ
ลงจากเสาประจำาสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยว หรือนกหวีดเป่าคำานับ
หรือให้อาณัติสัญญาณการชัดธงชาติขึ้นหรือลดลง ให้แสดงความเคารพธงชาติ เพลงชาติ และ
เพลงสรรเสริญพระบารมี” และได้กำาหนดถึงความสำาคัญของการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และ
เพลงสรรเสริญพระบารมี ไว้ใน “ข้อที่ 5. เมื่อเห็นผูใ้ ดไม่แสดงความเคารพดังกล่าวในข้อ 1-2-3
และ 4 พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำาคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลง
สรรเสริญพระบารมี”
นอกจากการประกาศเรื่องรัฐนิยมอย่างเป็นทางการแล้วรัฐบาลขณะนั้นยังได้ใช้รายการ
วิทยุที่เป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างนายมั่น ชูชาติ (ให้เสียงโดย สังวาล พันธโนทัย ซึ่งต่อมา
เปลี่ยนชื่อเป็น สังข์ พันธโนทัย) กับนายคง รักไทย (ให้เสียงโดยทองศุข คำาศิริ) ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง
บทสนทนามาเป็นตัวอย่างดังนี้ “ไนวันหนึ่ง ๆ มีเวลำสำำคันที่สุดสำำหรับกำรเคำรพทงชำติหยู่ 2

20
เวลำด้วยกำร คือ เวลำชักทงขึ้น ซึ่งทำงรำชกำรนิยมเวลำ 8.00 น. และกำรชักทงลงซึ่งนิยมเวลำ
18.00 น. ทัง้ สองเวลำนี้สำำคันนัก ถ้ำจะไห้ทำำกันไห้พรักพร้อม ต้องกำำหนดเอำ 2 เวลำนี้แหละเป็น
เกนท์” และ “ถ้ำเรำหวังจะดำำรงควำมเปนชำติของเรำตลอดไป เรำจะลืมเรื่องกำรเคำรพทงชำติไม่
ได้” และ “หย่ำงน้อย ๆ ไนวันหนึ่ง ๆ เรำมีกำรระลึกถึงชำติครั้งหนึ่งเวลำ 8.00 น. ระลึกไนเวลำ
บรรเลงเพลงชำติ ระลึกถึงคุนของชำติ ระลึกถึงพี่น้องร่วมชำติ ระลึกถึงผู้มีอุ ปกำระคุนแก่ชำติ และ
ระลึกถึงทุกสิงทุกหย่ำงที่ดีงำมแก่ชำติทั้งในอดีตและปัจจุบัน ครั้งเมื่อเส็ดกำรบรรเลงเพลงชำติแล้ว
เปนอันว่ำไนวันนั้นเรำมีทงที่คอยจูงใจของเรำไห้ปฏิบัติกำรงำนทุ่งสิ่งทุกหย่ำงไห้ถูกทำงที่ชอบที่
ควน” นอกการการเชิญชวนให้ประชาชนเห็นถึงความสำาคัญของการเคารพเพลงชาติและธงชาติ
แล้ว ยังมีการประณามผู้ไม่ยอมเคารพเพลงชาติและธงชาติอีกด้วย เช่น “คนคิดคนทรยสต่อชำติมี
โทสหย่ำงอุกริต เสมอด้วยค่ำพ่อค่ำแม่ของตน เสมอด้วยด่ำครูบำอำจำรย์ เสมอด้วยด่ำ
พระพุทธเจ้ำทีเดียว เนื่องจำก เรำถือว่ำ ทงชำติไทยนั้นมีบำรมีของพระพุทธเจ้ำเข้ำมำสถิตหยู่ด้วย
เพรำะทงชำติไทยแทนสำสนำหยู่ด้วยในตัว” และยังมีการสาปแช่งผู้ทไี่ ม่เคารพธงชาติและเพลง
ชาติอีกด้วยว่า “เรำทิ้งคนทรยสต่อชำติ ซึ่งเปนส่วนน้อยนิดเดียวไห้เขำลงเรือของเขำไป และรับวิ
นำสภัยอันเปนเงำตำมตัวของเขำด้วยตัวเองเถิด” (ชนิดา เผือกสม: 2546 อักขระต่าง ๆ ใช้ตาม
แบบนิยมในยุคนั้น)
จะเห็นได้ว่าความสำาคัญของนโยบายรัฐนิยมก็คือ การสร้างมโนทัศน์ของการรักชาติที่มี
ความเข้มข้นยิ่งกว่ายุคสมัยใด แม้แต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่
พระองค์ทรงดำาเนินนโยบายในเชิงชาตินิยมและปลูกฝังทัศนคติเรื่องความจงรักภักดีต่อพระมหา
กษัตริย์ของคนในชาติอย่างเข้มข้น ก็ยังไม่เข้มข้นเท่าการดำาเนินนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ในระยะเวลาดังกล่าว และในความพยายามสร้างชาติของคณะราษฏร์ ไม่วา่ จะ
เป็นการปลูกฝังความเป็นเอกราษฏร์ (ขอให้สังเกตว่า ใช้คำาว่าเอกราษฏร์แทนคำาว่าเอกราชที่แปล
ว่ามีราชาเพียงหนึ่งเดียว ในการให้ความหมายของคำาว่า มีอิสระเสรี หรือ Independence ใน
ภาษาอังกฤษ) การสร้างสถาปัตยกรรมที่พยายามหลุดจากกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (เช่น อาคาร
สลากกินแบ่ง หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) หลัก 6 ประการในการปกครองประเทศ และนโยบาย
รัฐนิยมทั้งหลาย การเปลี่ยนวันชาติจากวันพระราชสมภพเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง สิ่ง
เหล่านี้ล้วนกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปหมดแล้ว เว้นแต่ การเปลี่ยนชื่อประเทศ และสัญลักษณ์ของ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ซึ่งทุกวันนี้ยังคงถกเถียงถึง
นิยามและวิธีการที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง) และการให้ความสำาคัญกับการเคารพธงชาติ
และเพลงชาติที่ไม่สูญสลายกลายเป็นประวัติศาสตร์ไป ในทางกลับกัน ประเด็นเรื่องการเคารพ
เพลงชาติกลับทวีความสำาคัญมากขึ้น ถึงขนาดที่ว่า การไม่ลุกขึ้นยืนเคารพเพลงชาติและธงชาติใน

21
บางสถานการณ์สามารถทำาให้บุคคลผู้นั้นถูกตั้งคำาถามถึงความเป็นไทย และมีโอกาสที่จะถูก
ทำาร้ายได้เลยทีเดียว

จากชาตินิยม สู่ คลั่งชาตินิยม : ประวัติศาสตร์บาดแผลแห่งความเป็นชาติ

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันชาติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน


2502 (ก่อนที่จะเปลี่ยนวันชาติให้ตรงกับวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ในปีถัดมา) ความว่า
“ชำติ เป็นสภำวธรรมอีกอันหนึ่ง ซึ่งไม่มีตัวตนเห็นได้ชัด จำำต้องสร้ำงสิ่งที่ถือเป็นนิมิต
หมำยสมมติ เป็นสัญลักษณ์ของชำติ ซึ่งโลกได้คิดไว้ 3 อย่ำง คือ ธงชำติ เพลงชำติ และวันชำติ
แม้ว่ำสิ่งเหล่ำนี้จะเป็นสิ่งสมมติแต่เมื่อได้คิดขึ้นเป็นนิมิตหมำยหรือสัญลักษณ์ของชำติแล้ว เรำจะ
ต้องเคำรพระลึกถึง”
ดังนั้นแล้ว แม้ว่าการสร้างรัฐพิธีและประเพณีต่าง ๆ เพื่อแสดงความเคารพหรือแสดงความ
รักชาติขึ้นมาจะเป็นเพียงสิ่งที่ “สร้าง” ขึ้นมาก็ตาม แต่สิ่งที่สร้างขึ้นเหล่านั้นกลับมีบทบาทในการ
ควบคุมความคิดและกำาหนดคตินิยมของคนในชาติได้อย่างเข้มแข็งเป็นอย่างมาก แม้ว่าบางครั้ง
ประเพณีที่ได้ประดิษฐ์อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนัก และการดำารงอยู่ของสิ่งที่
เรียกว่า สภาวธรรมดังกล่าวกลับสร้างปัญหาให้เกิดความไม่ยอมรับและผสมกลมกลืนระหว่าง
คนในชาติที่มีชาติพันธุ์ที่หลากหลายต่างกัน เช่น ในกรณีของปัญหาปตานี ที่ไม่สอดคล้องกับความ
ต้องการอธิบายประเทศไทยว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” แต่อย่างใด และพบว่าแม้
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เอง ก็ได้มีการแสดงความลำาบากใจต่อ
นโยบายที่ไม่สะท้อนสภาวะความเป็นจริงนี้ โดยนายนาวาเอกหลวงธำารงนาวาสวัสดิ์ได้กล่าวในที่
ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ความว่า (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : 2547)
“ในแง่นโยบำยปกครอง เรำคงลำำบำกใจบำงอย่ำง คนในสยำมมีหลำยชำติ เวลำนี้เขำรัก
ใคร่สยำม ถึงครำวเรำพูดอะไรจะให้กินควำมส่วนรวมแล้ว ก็ใช้ว่ำ “สยำม” เขำอำจจะน้อยใจได้
ถ้ำเรำเลิกใช้ “สยำม” ใช้แต่ “ไทย” จะเกิดควำมรู้สึกว่ำ เอำพวกชำติอื่นออก เพรำะไม่ใช่ไทย พวก
ปัตตำนีก็ไม่ใช่ไทย ถ้ำเรำเรียกว่ำ “สยำม” ก็รวมพวกปัตตำนีด้วย เขำก็พอใจ ถ้ำเปลี่ยนไปอำจไม่
ดูดพวกนี้มำรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ได้”

สรุปส่งท้าย

22
เส้นทางเดินของเพลงชาติจากเพลงจอมราชจงเจริญ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จนถึง เพลงชาติไทย ในสมัยรัฐบาลชาตินิยมของจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ใน พ.ศ. 2482 ได้สะท้อนบริบทในการสร้างชาติในแต่ละยุคสมัย ตัง้ แต่ครั้งที่เพลง
ชาติเป็นเพียง เพลงส่วนถวายความเคารพ หรือเพลงที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรด จนกระทั่งพัฒนา
มาเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่แสดงถึงความมีเอกราชขององค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 5
ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสยามที่พัฒนาจากรัฐจารีตแบบเทวราชย์ มาเป็นรัฐชาติที่ทัน
สมัยภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งพัฒนามาเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่
ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทีส่ ะท้อนแนวนโยบายชาตินิยมที่ได้ดำาเนินอยู่ในช่วงรัฐบาลของ “ผู้นำา”
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ความ “เป็นไทย” ก็ถูกเปลี่ยนไปตามบริบททางการเมืองของ
แต่ละยุคสมัยเช่นเดียวกัน จากเดิมที่หมายถึงความเป็นอิสระไม่เป็นทาสใคร มาเป็นการเป็นส่วน
หนึ่งแห่งองคาพยพของรัฐชาติสยาม ในปัจจุบัน ทั้งนี้จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ในรัฐจารีตในอดีต
นั้น การที่ประชาชนจะสำานึกว่าตนเป็นคนของรัฐไหน หรือใครเป็นนายเหนือหัวของตนนั้น แทบจะ
เรียกได้ว่า ไม่มีภาพร่วมกันอย่างชัดเจน จนอาจกล่าวได้ว่า ก่อนปี พ.ศ. 2435 นัน้ คนที่อาศัย ณ
เชียงใหม่ก็ไม่ได้มีสำานึกของความเป็นคนไทยเช่นในปัจจุบัน แต่กลับมีความรับรู้วา่ ตนเป็นคนลาว
ลานช้าง เช่นเดียวกับคนที่อาศัยอยู่ในปัตตานีก็จะรับรู้วา่ เพียงว่าตนเป็นคนมลายูปตานี หาได้เป็น
คนในบังคับสยามแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการสร้างมโนทัศน์เรื่องชาติที่จะต้อง
เหมือนกัน เพื่อสร้างความรักชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งถือว่ามีความสำาคัญและ
ปรากฏอยู่ในเพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2482 ตลอดทั้งฉบับนั่นเอง จนกระทั่งมโนทัศน์ความเป็นไทย
ดังกล่าวเริ่มมีความคับแคบและบีบรัดต่อกลุ่มคนที่ไม่สามารถผสมผสานและกลืนกลายกับความ
เป็นไทยจนสามารถแปลงชาติของตนให้กลายเป็นไทยได้ จนเกิดปัญหาวิกฤติอัตลักษณ์ ดังเช่น
ประชาชนเชื้อชาติมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ วิกฤติอัตลักษณ์ดังกล่าว ยังเกิดขึ้น
กับกลุ่มคนที่สามารถแปลงมโนทัศน์ให้เป็นไทย แต่กฎหมายยังไม่สามารถให้การรับรองความเป็น
ไทยแก่บุคคลเหล่านั้น ผ่านการให้สัญชาติและบัตรประจำาตัวประชาชนได้ เช่น กรณีของบุคคลไร้
สัญชาติ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว
สิ่งทีส่ ำาคัญประการหนึ่งคือ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำาให้พรมแดนของรัฐชาติพร่า
มัว ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทุนที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วข้ามพรมแดนความเป็น
รัฐชาติ ความสะดวกในการสื่อสารและความรวดเร็วในการเดินทางที่ส่งผลให้เกิดสภาวะที่เรียก
ว่าการกระชับแน่นของเวลากับสถานที่ซึ่งส่งผลให้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ จุดใด ๆ ของโลกสามารถอยู่
ในการรับรู้ของคนในสังคมโลกได้เสมือนว่าเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นรอบบ้านของผู้รับข่าวสารเหล่า
นั้น จนสิ่งที่เรียกว่า การเมืองภายในประเทศ กลับกลายการปะทะและต่อต้านกันและกันของกลุ่ม

23
ประชาสังคมที่มีอิทธิพลและดำาเนินการเหนือบทบาทและเจตจำานงของรัฐชาติ กับ องค์กรระหว่าง
ประเทศซึ่งมีบทบาทเป็นองค์กรโลกบาลของรัฐและประเทศต่าง ๆ ในโลกอยู่แล้ว เช่น องค์การ
สหประชาชาติ องค์การการค้าโลก และธนาคารโลก เป็นต้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2549)
อย่างไรก็ดี คำาทีใ่ ช้เรียกแทนชื่อคน ชื่อบ้านและนามเมือง ตลอดจนชื่อประเทศนั้น เป็น
เพียงสัญลักษณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมการเมืองที่มีบริบททางประวัติศาสตร์แห่งความทรง
จำาร่วมกันของผู้คนผูกโยงเอาไว้ และล้วนแล้วแต่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมที่แปร
เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น จินตนาการร่วมกันของความเป็นไทยในปัจจุบันจึงมีทางออกมากกว่าการ
พยายามให้คนในประเทศมีชาติพันธุ์เดียวเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามกรอบแนวคิด
ชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ตามที่ปรากฏในเนื้อหาของเพลงชาติไทยซึ่งมีบริบททางสังคม-การเมืองขณะ
นั้นสร้างขึ้น เพราะแท้ที่จริงแล้วในขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยนั้น ประกอบด้วยกลุ่ม
ชาติพันธุ์ที่หลากหลายร่วมใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสยาม หรือ เป็นไทย ก็เป็นเพียง
นามของประเทศนี้ที่มีผู้คนหลากหลายมาอยู่ร่วมกันภายใต้กรอบของสิ่งที่เรียกกันว่ารัฐชาติเท่านั้น
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำาคัญต่อการอยู่ร่วมกันในประเทศที่มีความหลากหลายทั้งในเชิง
ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเช่นประเทศไทยในทุกวันนี้ จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจเรื่อง
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) ที่ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ เพียงการหนึ่งเดียวที่ไร้ความ
แตกต่าง (Unique) เพราะแท้ที่จริงแล้ว ประเทศไทย คือ ประเทศที่ผู้คนอันหลากหลายและแตก
ต่าง ล้วนพยายามที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั่นเอง

บรรณานุกรม
Online

24
ชาตรี ประกิตนนทการ. “สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศกั ดิ์สิทธิแห่ง
สมบูรณาญาสิทธิราชย์” จาก ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์. 19 กันยายน 2550,
http://www.prachatai.com/05web/th/home / 9615 (นำามาใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2551)

Wikipedia contributors, "Micronation," Wikipedia, The Free Encyclopedia,


http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Micronation&oldid=314049227
(accessed September 15, 2009).

หนังสือและบทความ

กฤตยา อาชวนิจกุล. 2551. จิตนาการความเป็นไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและ


สังคม-ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไกรฤกษ์ นานา. 2550. สยามกู้อิสรภาพตนเอง ทางออกและวิธีแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง


เกิดจากพระราชกุศโลบายของพระเจ้าแผ่นดิน. กรุงเทพ. สำานักพิมพ์มติชน

ชนิดา เผือกสม. 2546. การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย. กรุงเทพ: สำานักพิมพ์มติชน.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2549. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500. กรุงเทพ: มูลนิธิโครงการ


ตำาราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการแปล). 2552. ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิด


และการแพร่ขยายของชาตินิยม. กรุงเทพ. มูลนิธิตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2549. รัฐ-ชาติกับ (ความไร้) ระเบียบโลกยุคใหม่. กรุงเทพ.


สำานักพิมพ์วิภาษา

ธีรยุทธ บุญมี. 2546. ชาตินิยม และหลังชาตินิยม. กรุงเทพ. สำานักพิมพ์สายธาร

ธีรยุทธ บุญมี. 2547. ความหลากหลายของชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพ.

25
สำานักพิมพ์สายธาร

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2545. ว่าด้วยการเมืองของประวัติศาสตร์และความทรงจำา. กรุงเทพ.


สำานักพิมพ์มติชน.

ลิขิต ธีรเวคิน. 2541. การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมเกียรติ วันทะนะ. 2544. อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. นครปฐม.


ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ สำานักส่งเสริมและฝึกอบรมกำาแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุกรี เจริญสุข. 2530. 99 ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี. กรุงเทพ. เรือนแก้วการพิมพ์

สุกรี เจริญสุข. 2532. เพลงชาติ. กรุงเทพ. เรือนแก้วการพิมพ์

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). 2551. ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับ


ใหม่. กรุงเทพ. เรือนแก้วการพิมพ์

บทความ
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. 2549. แนวความคิดชาติบ้านเมือง: กำาเนิด พัฒนาการ และอำานาจ
การเมือง. วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่27, ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2549): 2-41

ชาตรี ประกิตนนทการ. 2550. สัญลักษณ์ชาติไทยในจินตนาการทางสถาปัตยกรรม.


วารสารฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 5, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2550) หน้า 215-232.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. 2549. "ประเทศไทย" อายุครบ 65: ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ


ประเทศปี 2482. ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 25 ฉบับที่ 8 (มิถุนายน 2547): 76-79.

สุชาติ แสงทอง. ม.ป.ป. เพลงชาติ: พลวัตสังคมไทย.

สุพจน์ มานะลัภเจริญ. 2545. เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของไทย. วารสารยุโรป

26
ศึกษา, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2545): 133-191.

27

You might also like