You are on page 1of 16

หน่วยการเรียนรู้ที่1เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ


รายวิชา คณิตศาสตร์ 5รหัสวิชา ค23101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1เวลา 2 ชั่วโมง
……………………………………………………………………………………………………………………………….
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 3 เรขาคณิต
ตัวชี้วัด
อธิบายลักษณะและสมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลม
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ตัวชี้วัด
1. ใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการนาเสนอ
ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ความสามารถและทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
คุณลักษณะตามช่วงวัยอยู่อย่างพอเพียง

สาระสาคัญ
รูปเรขาคณิตสามมิติ เป็นรูปเรขาคณิตที่มีความกว้าง ความยาว และความสูงหรือความหนาซึ่ง
มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ได้แก่ ปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม สามารถ
พบเห็นได้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราในชีวิตประจาวัน เช่น บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ภาชนะ ลูกโลกจาลอง
ลูกบอล เป็นต้น

สาระการเรียนรู้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ฐานทั้งสองอยู่บนระนาบที่
ขนานกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึม
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบ
ที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้วจะได้หน้าตัด
เป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกับฐานเสมอ เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า ทรงกระบอก
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน
และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า พีระมิด
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐ านเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกัน
กับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดและจุดใด ๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง เรียก
รูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า กรวย
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็น
ระยะเท่ากัน เรียกว่า ทรงกลม

สาระการเรียนรู้ที่บูรณาการ
บูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
และประชาธิปไตย

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
( ) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ( / ) 2. ซื่อสัตย์ สุจริต ( / ) 3. มีวินัย ( / ) 4. ใฝ่เรียนรู้
( ) 5. อยู่อย่างพอเพียง (/) 6. มุ่งมั่นในการทางาน ( ) 7. รักความเป็นไทย (/) 8. มีจิตสาธารณะ

สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
( / ) 1. ความสามารถในการสื่อสาร (/ ) 2. ความสามารถในการคิด (/ ) 3. ความสามารถในการ
แก้ปัญหา
( ) 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ( / ) 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ชิ้นงาน/ภาระงาน
ชิ้นงานการออกแบบและประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1. ทบทวนความรู้ เดิมเกี่ยวกับรูปเรขาคณิ ต จากกิจกรม “ฉันคือใคร” โดยให้ นักเรียน
ศึกษารูปภาพแสดงภาพ 2 มิติ และภาพ 3 มิติ ที่ครูนาเสนอพร้อมกับช่วยกันตอบคาถามว่าภาพใด
เป็นภาพ 2 มิติ ภาพใดบ้างเป็นภาพ 3 มิติ และหน่วยที่ใช้ในการหาพื้นที่ และปริมาตรคืออะไร ครู
กล่าวชมเชยนักเรียนที่ตอบได้ถูกต้อง จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัดผล และเกณฑ์
การประเมินผล ให้นักเรียนทราบว่าในการจัดกระบวนการเรียนรู้นี้ต้องการให้นักเรียนบอกลักษณะ
และสมบัติของปริซึม และทรงกระบอกได้
2. ตัวแทนนักเรียนรับชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ ชุดที่ 1 แจกให้กับเพื่อน นักเรียนเริ่มศึกษา
รายละเอียดของชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ชุดที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ และคาแนะนาสาหรับ
นักเรียนในชุดกิจกรรม จากนั้นให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนชุดที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติเพื่อ
ประเมิ นความรู้ พื้ นฐานของนั กเรี ยน ซึ่ งเป็ นแบบทดสอบชนิ ดเลื อกตอบ 4 ตั วเลื อก จ านวน 10 ข้ อ
นักเรียนตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนจากเฉลย ครูสอดแทรกคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ ให้นักเรียนมี
ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่เปิดเฉลยดูก่อน แล้วบันทึกคะแนนในแบบบันทึกคะแนนก่อนเรียน-หลัง
เรียน
ขั้นประกอบกิจกรรม
3.ให้นักเรียนเข้ากลุ่มตามที่ครูแบ่งไว้แล้ว แล้วนั่งประจาเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละกลุ่มซึ่งครู
จัดไว้ให้แล้วในห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ครูชี้แจงกติกาในการใช้คอมพิวเตอร์ว่านักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเดิมทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม ดังนั้นนักเรียนต้องช่วยกันดูแลความเรียบร้อย
ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลังจากการทากิจกรรม ครูเน้นระเบียบวินัยในการปฎิบัติกิจกรรมร่วมกัน
อย่างเป็นกัลยาณมิตร
4.ตั วแทนนั กเรี ยนมารั บ แผ่ นซี ดี รอมจากครู น าไปแจกให้ เพื่ อนคนละ 1 แผ่ น ซึ่ งเป็ นสื่ อ
ประกอบการเรี ยนรู้ ในการจั ดกิ จกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ โดยใช้ โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
(GSP) ในการสร้าง และให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มเลือกใช้แผ่นซีดีรอมของใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่ม
นามาใช้ในการทากิจกรรม ส่วนแผ่นที่เหลือให้นักเรียนเก็บไว้สาหรับแต่ล ะคนศึกษาเรียนรู้
นอกเวลาเรียนด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1.1 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึม และ
ทรงกระบอก ในชุดกิจกรรมชุดที่ 1 ประกอบกับแผ่นซีดีรอมที่ครูแจกให้ควบคู่กัน ครูเดินดูนักเรียน
ขณะปฏิบั ติกิจกรรมพร้อมกับกระตุ้นให้นักเรียนปฎิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องกังวลว่าถูกหรือผิด ถ้า
นักเรียนสงสัยมีปัญหาหรือไม่เข้าใจให้ขอคาแนะนาจากครูได้

5. นั กเรียนแต่ละกลุ่มทาใบกิจกรรมที่ 1.1 โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาที


นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกงานทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียนและบันทึกในแฟลชไดรว์เพื่อสาหรับส่งครู จากนั้น
ตรวจคาตอบ โดยครูสุ่มเรียกนักเรียน 2 กลุ่ม นาเสนองานที่นักเรียนทา โดยผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์นัก เรีย นที่
เหลือ ช่ว ยกัน ตรวจสอบความถูก ต้อ งหรือ ให้นัก เรีย นตรวจสอบความถูก ต้อ งจากเฉลย ในชุ ด
กิจกรรมครูสังเกตพฤติกรรมนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสรุปบทเรียน
6. นักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึม และทรงกระบอกอีกครั้ง
โดยการถาม – ตอบครูเสริมแรงนักเรียนที่ตอบถูกต้อง
7. นักเรียนทาแบบฝึกทักษะที่ 1.1 ในชุดที่1 เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล
และตรวจสอบความถูกต้องได้จากเฉลยแบบฝึกทักษะที่ 1.1 พร้อมบันทึกคะแนนที่ได้ลงในแบบบันทึกคะแนนการ
ทาแบบฝึกทักษะ และเก็บชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เรียบร้อยถ้านักเรียนคนใดทาแบบฝึกทักษะไม่
เสร็จหรือไม่เข้าใจ สามารถนาแบบฝึกทักษะและแผ่นซีดีรอมไปศึกษาต่อในช่วงเวลาอื่นหรือ ที่บ้าน
ได้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1.ทบทวนความรู้เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึม และทรงกระบอกที่เรียนไปชั่วโมงที่แล้วจาก
ใบกิจกรรม “yes or no” โดยให้นักเรียนพิจารณาภาพที่ครูนาเสนอ แล้วช่วยกันตอบว่าภาพในแต่ละข้อที่
กาหนดให้เป็นปริซึม หรือทรงกระบอกหรือไม่ พร้อมให้เหตุผลประกอบ ครูกล่าวชมเชยนักเรียนที่
ตอบได้ถูกต้ อง จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัดผล และเกณฑ์การประเมินผล ให้
นักเรียนทราบว่าในการจัดกระบวนการเรียนรู้นี้ต้องการให้นักเรียนอธิบายลักษณะและสมบัติ ของ
พีระมิด กรวย และทรงกลมได้
2.นักเรียนทบทวนการสร้างรูปปริซึม และทรงกระบอก ด้วยโปรแกรม The Geometer’s
Sketchpad (GSP) ที่นักเรียนเรียนจากชั่วโมงที่แล้ว โดยการถาม - ตอบ
ขั้นประกอบกิจกรรม
3.ให้นักเรียนเข้ากลุ่มตามที่ครูแบ่งไว้แล้ว แต่ละกลุ่มนั่งประจาเครื่องคอมพิวเตอร์
ของกลุ่มตนเอง และเริ่มศึกษารายละเอียดของชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ชุดที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ
โดยให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1.2 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวย และทรงกลม
พร้อมกับการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) จากแผ่น ซีดีรอมที่ครูแจกให้
ควบคู่ไปด้วย ถ้านักเรียนสงสัยมีปัญหาหรือไม่เข้าใจให้ขอคาแนะนาจากครูได้
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มทาใบกิจกรรมที่ 1.2 ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
(GSP)(ใช้เวลา 20 นาที ) นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกงานทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียนและบันทึกใน
อุปกรณ์บันทึกข้อมูล เพื่อสาหรับพิมพ์ส่งครู จากนั้นตรวจคาตอบ โดยครูสุ่มเรียกนักเรียน 2 กลุ่ม
นาเสนองานที่นักเรียนทา โดยผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์ นักเรียนที่เหลือช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
ครูชมเชยนักเรียนครูเน้นระเบียบวินัยในการปฎิบัติกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร และให้
นักเรียนช่วยกันดูแลความเรียบร้อยของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลังจากการทากิจกรรม
ขั้นสรุปบทเรียน
5. นักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวย และทรงกลม โดยการ
ถาม – ตอบเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ
6. นักเรียนทาแบบฝึกทักษะที่ 1.2 เป็นรายบุคคลและตรวจสอบความถูกต้องได้จากเฉลย
แบบฝึกทักษะที่ 1.2 พร้อมบั นทึกคะแนนที่ได้ลงในแบบบันทึกคะแนนการทาแบบฝึกทักษะ และ
สามารถนาแบบฝึกทักษะและแผ่นซีดีรอมไปศึกษาต่อที่บ้านได้
7. ครูและนักเรียนสรุปบทเรียนเรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ และมอบหมายภาระงานให้
นักเรียนประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตสามมิติจากเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นั้นต้องสามารถนามาใช้
ประโยชน์ได้จริง โดยให้เวลานักเรียน 2 สัปดาห์สาหรับชิ้นงานนี้

สื่อการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรม “ฉันคือใคร”
2. ใบกิจกรรม “yes or no”
3. แผ่นซีดีรอม
4. โปรแกรมThe Geometer’s Sketchpad (GSP)
5. ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ชุดที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
1. ศูนย์ค้นคว้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม
2. ห้องสมุดโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม
3. ห้องสมุดประชาชน
4. www.math.rwb.ac.th/sopa1/unit9_6.htm

การวัดและประเมินผล
วิธีการ
1. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนชุดที่ 1 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ
2.ตรวจใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึมและทรงกระบอก
3. ตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.1 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึมและทรงกระบอก
4.ตรวจใบกิจกรรมที่ 1.2 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวย
และทรงกลม
5. ตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.2 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวย
และทรงกลม
6. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

เครื่องมือ
1.แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ
2. ใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึมและทรงกระบอก
3. แบบฝึกทักษะที่ 1.1 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของปริซึมและทรงกระบอก
4. ใบกิจกรรมที่ 1.2 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวยและทรงกลม
5. แบบฝึกทักษะที่ 1.2 เรื่อง ลักษณะและสมบัติของพีระมิด กรวยและทรงกลม
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

เกณฑ์
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
คะแนน 9 – 10 คะแนน หมายถึง ดีมาก
คะแนน 7 – 8 คะแนน หมายถึง ดี
คะแนน 5 – 6 คะแนน หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 – 4 คะแนน หมายถึง ปรับปรุง
ถือเกณฑ์ผ่าน 5 คะแนน
2. ใบกิจกรรมที่ 1.1 และ1.2
ระดับ คุณภาพงาน
คะแนน
3 ใช้วิธีการวาดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วย GSP เหมาะสม
และดาเนินการได้ถูกต้อง สมบูรณ์
2 ใช้วิธีการวาดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วย GSP เหมาะสม
แต่ยังดาเนินการไม่ถูกต้อง
1 ใช้วิธีการวาดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วย GSP
ไม่เหมาะสม ทาให้ดาเนินการไม่ถูกต้อง
0 ไม่มีการใช้วิธีการและไม่มีการดาเนินการ
เกณฑ์การผ่านได้คะแนนไม่น้อยกว่า 2
3. นักเรียนทาแบบฝึกทักษะที่ 1.1 และ1.2 แต่ละชุดได้ถูกต้อง 11 ข้อ จาก 15 ข้อ
4.แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ70
จึงผ่านเกณฑ์ (6 คะแนน จาก 9 คะแนน)
5. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้เรียนได้ระดับคุณภาพไม่ต่ากว่า2
6. แบบประเมินทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผู้เรียนได้ระดับคุณภาพ
ไม่ต่ากว่า 2
เกณฑ์การให้คะแนนชิ้นงาน(สิ่งประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ)เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับ2 ขึ้นไป
ประเด็น ระดับคุณภาพ
การประเมิน 3 2 1 0
1. การบูรณาการ ชิ้นงานตรงตาม ชิ้นงานตรงตาม ชิ้นงานไม่ตรง ไม่มี
ความรู้ทาง วัตถุประสงค์และ วัตถุประสงค์แต่มีความ ตาม ชิ้นงาน
คณิตศาสตร์ ถูกต้องตามหลักทาง คลาดเคลื่อนตามหลัก วัตถุประสงค์
คณิตศาสตร์ ทางคณิตศาสตร์
2. ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์ผลงาน ลอกเลียนแบบ ไม่มี
สร้างสรรค์ แปลกใหม่ แบบเดิม ๆ ชิ้นงาน
3. ประโยชน์ สามารถใช้งาน นาไปใช้ประโยชน์แต่ไม่ ใช้ประโยชน์ได้ ไม่มี
ใช้สอย ทนทานคุ้มค่า คุ้ม น้อย ชิ้นงาน
4. หลักเศรษฐกิจ ใช้วัสดุท้องถิ่นหรือ ใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุ ใช้วัสดุ ไม่มี
พอเพียง วัสดุเหลือใช้ เหลือใช้ผสมกับวัสดุ สิ้นเปลือง ชิ้นงาน
สิ้นเปลือง
ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ/นิเทศ/ข้อเสนอแนะ/รับรอง)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………..……………..

ลงชื่อ................................................................
( ......................................................)

………. / ………….……… / ……………


บันทึกผลหลังการสอน
1. ผลการสอน
1.1 ในการตอบคาถาม นักเรียนทุกคนช่วยกันตอบและสามารถตอบได้ถูกต้อง
ในการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนทุกคนมีความมุ่งมั่นในการทา ช่วยกันคิดและทากิจกรรมจนสาเร็จ และ
มีความซื่อสัตย์ในการทาแบบทดสอบก่อนเรียน
1.2 การวัดและประเมินผล
1.2.1 ด้านความรู้นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทาใบกิจกรรมเท่ากับ 2.71 ผ่านเกณฑ์
คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 7.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 อยู่ในระดับดี
และมีคะแนนเฉลี่ยจากการทาแบบฝึกทักษะเท่ากับ 12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66
ผ่านเกณฑ์
1.2.2 ด้านทักษะกระบวนการ นักเรียนทุกคนใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
1.2.3 ด้านคุณลักษณะ นักเรียนทุกคนมีความซื่อสัตย์ในการทาแบบทดสอบ มี
ความมุ่งมั่นในการทางานจนสาเร็จ และมีจิตสาธารณะโดยการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ดูแลปิดอุปกรณ์
เครื่องคอมพิวเตอร์และไฟฟ้าเรียบร้อย

2. ปัญหา/อุปสรรค
นักเรียนบางคนยังเขียนชื่อของปริซึมไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีคาว่าฐานอยู่ด้วย เช่น ปริซึม
ฐานสามเหลี่ยม ปริซึมฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น ซึ่งการเรียกชื่อของปริซึมจะไม่มีคาว่าฐาน

3. แนวทางแก้ไขปัญหา
ครูช่วยแนะนา และเน้นย้าเรื่องการเรียกชื่อของปริซึมให้ถูกต้อง

4. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
-

ลงชื่อ...................................................
( นางสาวลักษณา ทับบุรี )
18 / พฤษภาคม / 2558
เกณฑ์การประเมินผลด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
รายการประเมิน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
3 (ดี) มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง และเสนอแนวคิด
ประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
มีการอ้างอิงที่ถูกต้องบางส่วน และเสนอแนวคิด
2 (พอใช้)
ประกอบการตัดสินใจ แต่อาจ
การให้เหตุผล
ไม่สมเหตุสมผลในบางกรณี
1 (ต้องปรับปรุง) มีการเสนอแนวคิดที่ไม่สมเหตุสมผล
ในการตัดสินใจ และไม่ระบุการอ้างอิง
0 (ไม่พยายาม) ไม่มีแนวคิดประกอบการตัดสินใจ
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง
3 (ดี)
นาเสนอข้อมูลตามลาดับขั้นตอน เป็นระบบ
กระชับ ชัดเจน และมีรายละเอียดสมบูรณ์
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง
การสื่อสาร การสื่อ
2 (พอใช้) นาเสนอข้อมูลตามลาดับขั้นตอน เป็นระบบ
ความหมายทาง
กระชับ ชัดเจนบางส่วน แต่ขาดรายละเอียด
คณิตศาสตร์
ที่สมบูรณ์
1 (ต้องปรับปรุง) ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
อย่างง่าย ๆ การนาเสนอข้อมูลไม่ชัดเจน
0 (ไม่พยายาม) ไม่นาเสนอ
3 (ดี) มีแนวคิด หรือวิธีการแปลกใหม่ ที่สามารถนาไป
ปฏิบัติได้ถูกต้อง
ความคิดริเริ่ม 2 (พอใช้) มีแนวคิดหรือวิธีการที่แปลกใหม่ แต่
สร้างสรรค์ ไม่สามารถนาไปปฏิบัติได้ถูกต้องสมบูรณ์
1 (ต้องปรับปรุง) มีแนวคิดหรือวิธีการไม่แปลกใหม่ และนาไป
ปฏิบัติแล้วยังไม่สมบูรณ์
0 (ไม่พยายาม) ไม่มีผลงาน
เกณฑ์การประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
รายการ ระดับ เกณฑ์การพิจารณา
ประเมิน คุณภาพ
3 (ดีเยี่ยม) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ไม่นาสิ่งของและผลงานของผู้อื่นมา
เป็นของตนเอง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง ไม่เปิดดูเฉลย
ก่อนในการปฏิบัติกิจกรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนด้าน
ความซื่อสัตย์
ซื่อสัตย์ 2 (ดี) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ไม่นาสิ่งของและผลงานของผู้อื่น
สุจริต มาเป็นของตนเอง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง ไม่เปิดดู
เฉลยก่อนในการปฏิบัติกิจกรรม
1 (ผ่าน) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ไม่นาสิ่งของและผลงานของผู้อื่นมา
เป็นของตนเอง ไม่เปิดดูเฉลยก่อนในการปฏิบัติกิจกรรม
0 (ไม่ผ่าน) ไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง นาสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของ
ตนเองเปิดดูเฉลยก่อนในการปฏิบัติกิจกรรม
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ
มีการปรับปรุงและพัฒนาการทางานให้ดีขึ้นด้วยตนเอง ทางานด้วย
3 (ดีเยี่ยม)
ความขยันอดทน และพยายามให้งานสาเร็จตามเป้าหมายภายใน
เวลาที่กาหนด ไม่ย่อท้อต่อปัญหา แก้ปัญหาอุปสรรคในการ
ทางาน และชื่อชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ
มุ่งมั่นใน 2 (ดี) มีการปรับปรุงและพัฒนาการทางานให้ดีขึ้น ทางานด้วยความขยัน
การทางาน อดทน และพยายามให้งานสาเร็จตามเป้าหมาย ไม่ย่อท้อต่อในการ
ทางาน และชื่อชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ
1 (ผ่าน) มีการปรับปรุงการทางานให้ดีขึ้น ทางานด้วยความขยันอดทน และ
พยายามให้งานสาเร็จตามเป้าหมาย และชื่อชมผลงานด้วยความ
ภาคภูมิใจ
0 (ไม่ผ่าน) ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การงาน และไม่ขยันอดทนในการทางาน
รายการประเมิน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
ช่วยครูทางาน อาสาทางาน ช่วยคิด ช่วยทา แบ่งปัน
3 (ดีเยี่ยม)
สิ่งของ และช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ดูแล
รักษาทรัพย์สมบัติสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน
2 (ดี) ช่วยคิด ช่วยทา แบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นด้วยความเต็ม
มีจิตสาธารณะ ใจ ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน
1 (ผ่าน) แบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ดูแลรักษา
ทรัพย์สมบัติสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน
ไม่ช่วยเหลือครู ไม่สนใจดูแลรักษาทรัพย์สมบัติและ
0 (ไม่ผ่าน)
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
การวิเคราะห์การนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยการเรียนรู้พื้นที่ผิวและปริมาตร
แนวทางการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ผู้สอนนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

หลักความพอเพียง/
ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ประเด็น
เนื้อหา วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้โดย วางแผนออกแบบเนื้อหา
มาตรฐานการเรียนรู้และ การเรียนรู้จากสื่อที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
ตัวชี้วัด และจัดเนื้อหาให้ หลากหลาย เพื่อให้บรรลุ เรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ
เหมาะสมกับบริบทของ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด และนาไปประยุกต์ใช้ใน
โรงเรียน ชุมชน ศักยภาพ ของหลักสูตร ชีวิตประจาวัน
และวัยของผู้เรียน
เวลา ศึกษาโครงสร้างในหลักสูตร นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเต็ม วางแผนในการทางานให้
กาหนดเวลาให้เหมาะสมกับ ความสามารถ มีความสุขใน เหมาะสมกับเวลา สถานที่
เนื้อหา กิจกรรม ศักยภาพ การทางาน เกิดการเรียนรู้ที่ และ สัมพันธ์กับกิจกรรมที่
และวัยของผู้เรียน มีประสิทธิภาพและบรรลุ กาหนดไว้
ตามวัตถุประสงค์
วิธีการจัดกิจกรรม -แบ่งกลุ่มนักเรียนให้พอดี -ให้นักเรียนรู้จัก -จัดกิจกรรมเรียงลาดับ
กับการทางานและ กระบวนการทางานกลุ่ม ง่าย-ยาก
ความสามารถ รู้จักการวางแผนใน -แบ่งกลุ่มและชี้แจงการ
-กาหนดกิจกรรมภาระงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางานที่ชัดเจน ให้
เหมาะสมตามศักยภาพและ -เพื่อฝึกทักษะการคิด คาปรึกษา ตรวจสอบการ
วัยของผู้เรียน วิเคราะห์ การรู้จักนาองค์ ทางานของนักเรียนอย่าง
ความรู้ไปใช้ใน ใกล้ชิด
ชีวิตประจาวัน -ผู้สอนมีความรู้ในเทคนิค
การสอน
แหล่งเรียนรู้ อยู่ใกล้ตัวผู้เรียน เหมาะสม ครูได้ใช้แหล่งเรียนรู้อย่าง -จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้
กับเนื้อหา กิจกรรมและวัย คุ้มค่า สอดคล้องกับ สารองไว้ในกรณีที่แหล่ง
ผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ เรียนรู้มีปัญหา
-เตรียมแหล่งเรียนรู้ให้
พร้อมก่อนเรียน
หลักความพอเพียง/
ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ประเด็น
สื่อ/อุปกรณ์ -การเลือกใช้สื่อ วัสดุ -จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ -สามารถเลือกใช้ได้สะดวก
อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม ตัวผู้เรียนและมีในท้องถิ่น และมีความปลอดภัย
เหมาะสมกับเนื้อหาและวัย -นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจาก -เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้
ของผู้เรียน การใช้สื่อทาให้เข้าใจง่าย เพียงพอกับผู้เรียน
-เพียงพอกับจานวนนักเรียน และเร็วขึ้น
การประเมินผล แบบประเมินผลมีความยาก ต้องการตรวจสอบความรู้ -แบบประเมินมีคุณภาพวัด
ง่ายเหมาะสมกับวัยของ ความสามารถของผู้เรียน ได้ตรงตัวชี้วัด
ผู้เรียนและเวลาที่กาหนด ตามตัวชี้วัด -เตรียมแบบประเมินและมี
ลาดับการใช้ชัดเจน
ความรู้ที่ครู -การใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์
จาเป็นต้องมี -การใช้สื่อเทคโนโลยี (โปรแกรม GSP)
-การประเมินตามสภาพจริง
-หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-พื้นที่ผิวและปริมาตร
คุณธรรมของครู มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขยัน อดทน เสียสละ รักและเมตตาต่อศิษย์ ตรงต่อเวลา ยืดหยุ่น มี
ความเป็นกัลยาณมิตรและมีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
2. ผลที่เกิดกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.1 ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักคิดและฝึกปฏิบัติตามหลัก3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
-ผู้เรียนเข้ากลุ่มตาม -วิเคราะห์ตัดสินใจ -วางแผนการทางานได้จนงาน
หลักความพอเพียง ความสามารถ แบ่ง เลือกปฏิบัติกิจกรรม สาเร็จ
หน้าที่การทางานตาม ตามที่มอบหมายได้ -รู้จักบทบาทหน้าที่ มีความเป็น
ศักยภาพของแต่ละคน สาเร็จ ประชาธิปไตย
-ใช้แหล่งเรียนรู้ -ร่วมกันอภิปรายใน -สามารถศึกษาค้นคว้าจากสื่อและ
เหมาะสมกับสถานที่ ประเด็นที่กาหนดอย่าง แหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง
และเวลาที่กาหนด สมเหตุสมผล -ทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
-ใช้สื่ออุปกรณ์ได้ -ปฏิบัติงานกลุ่ม เป็น ความสุข
เหมาะสมกับกิจกรรม ผู้นาผู้ตามตามหลัก
ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิด ประชาธิปไตยได้
ประโยชน์สูงสุด
ความรู้ที่ต้องมีก่อน -การใช้โปรแกรม GSP
เรียน -รูปเรขาคณิต
-รู้วิธีนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการกับชีวิตประจาวัน
คุณธรรมของผู้เรียน มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบ มุ่งมั่นในการทางาน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประหยัด ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เสียสละ มีจิตสาธารณะ
2.2 ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน4 มิติ ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
ด้าน สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
องค์ประกอบ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
ความรู้ -รู้วิธีประดิษฐ์ -รู้กระบวนการ -รู้วิธีการใช้
สิ่งของเครื่องใช้ ทางานกลุ่ม ทรัพยากรอย่าง
รูปทรงเรขาคณิต ประหยัด เกิด
จากเศษวัสดุ ประโยชน์และ
-รู้วิธีสร้างรูปทรง คุ้มค่า
เรขาคณิตโดยใช้
GSP
ทักษะ -ใช้วัสดุอุปกรณ์ -มีทักษะการ -ใช้ทรัพยากร
อย่างระมัดระวัง ทางานกลุ่มอย่าง อย่างประหยัด
ปลอดภัย คุ้มค่า มีความสุข คุ้มค่า เก็บเป็น
-มีทักษะในการใช้ -ปฏิบัติตนตาม ระเบียบหลังใช้
วัสดุอุปกรณ์ หลัก ไม่ทาลาย
นาเสนองานได้ ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม
อย่างน่าสนใจ -มีส่วนร่วมในการ
ลดพลังงาน
ค่านิยม -เห็นประโยชน์ -เห็นความสาคัญ ตระหนักถึงคุณค่า
ของการผลิตจาก และเห็นคุณค่า ของทรัพยากรใน
วัสดุในท้องถิ่น ของประชาธิปไตย ท้องถิ่นแล้ว
-เห็นคุณค่าของ -เห็นความสาคัญ ร่วมกันอนุรักษ์
วัสดุอุปกรณ์ ใช้ ของหลักปรัชญา
อย่างระมัดระวัง ของเศรษฐกิจ
พอเพียง และ
นามาใช้ในการ
ดารงชีวิต
ประจาวัน

You might also like