You are on page 1of 9

1

แนวทางการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพ นธในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพ ลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ตามระเบียบกรมราชเลขาธิการ
Processing to The Musical Arranging of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej
According by The Regularlity’s Thai Royal Department of the Secretary General
นายบพิตร เคาหัน*

บทคัดยอ
บทความฉบับนี้มุงนําเสนอแนวทางการเรียบเรียงเสีย งประสานบทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระ
ปรมิน ทรมหาภู มิพลอดุล ยเดชบรมนาถบพิต ร ตามระเบีย บกรมราชเลขาธิก าร จากการสัมภาษณผู ทรงคุณวุ ฒิที่มี ความ
เชี่ยวชาญในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ ทําการศึกษาวิเคราะหผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานบท
เพลงพระราชนิพนธที่ไดรับการยอมรับ เพื่อสรางความรูความเขาใจในระเบียบกรมราชเลขาธิการ และวิธีการเรียบเรียงเสียง
ประสานบทเพลงพระราชนิพนธที่ถูกตอง
การนําบทเพลงพระราชนิพนธไปเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อเผยแพรไมวาจะในเชิงพานิชหรือไมก็ตามตองขอพระ
ราช - ทานพระบรมราชานุญาต ผานกรมราชเลขาธิการกอนทุกกรณี สําหรับการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราช
นิพนธนั้นใหอิงหนังสือบทเพลงพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พิมพครั้งที่ 3 โดยให
รักษาทํานอง คํารอง และคอรด อยางเครงครัด สวนจังหวะ รูปแบบดนตรี โครงสรางบทเพลงทอนนําเสนอ ทอนบรรเลงคั่น
ทอนวงดนตรีบรรเลง ทอนจบ เคานทเตอรเมโลดีและการเขียนแนวพื้นหลัง ผูเรียบเรียงเสียงประสานสามารถสรางสรรคไดตาม
ความเหมาะสม

ABSTRACT
This article to present guidelines for the processing to the musical arranging of his majesty the
king Bhumibol Adulyadej according by the regularlity’s Thai royal department of the secretary general by
Interviews with the experts who specialize in the arranging of his majesty the king Bhumibol Adulyadej.
Analyze the arrangement of his majesty the king Bhumibol Adulyadej has been accepted and create
knowledge and understanding of the regularlity’s Thai royal department of the secretary general and how
to corrected musical arranging of his majesty the king Bhumibol Adulyadej.
The music compositions of his majesty the king Bhumibol Adulyadej that’s arranged for publish,
whether in commercial or not have to get permission to the Thai royal department of the secretary
general for all cases. For arranging of his majesty the kings Bhumibol Adulyadej based on book of “The
Music Compositions His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand edition 3th” and keep the melody,
lyrics and chords strictly. Also, rhythm, musical styles, musical form such as introduction, interlude, band
instrumental, ending, countermelody and background can be creative as appropriate.

คําสําคัญ : บทเพลงประราชนิพนธ, การเรียบเรียงเสียงประสาน, กรมสํานักราชเลขาธิการ


Keyword(s) : Music Composition of His Majesty, Arranging, Thai Royal Department of the Secretary
General

บทนํา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายดานโดยเฉพาะดาน


ดนตรีซึ่งไดรับการศึกษาดานดนตรีตั้งแตทรงพระเยาว มีพระอัจฉริยภาพในการทรงเครื่องดนตรีไดหลายชนิด อาทิ อัลโตแซก

*อาจารยประจําสาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฎรอยเอ็ด


2

โซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเปท เปนตน นอกจากพระอัจฉริยภาพในการทรงบรรเลงเครื่องดนตรีแลว พระบาทสมเด็จพระปริ


มนทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ยังทรงศึกษาพื้นฐานดนตรีคลาสสิกทั้งในดานปฏิบัติและทฤษฎีดนตรี จนกระทั่งสน
พระทัยในดนตรีแจส โดยเริ่มจากการทรงแซ็กโซโฟนสอดแทรกไปพรอมกับแผนเสียงของศิลปนดนตรีแจสที่มีชื่อเสียง (ภาธร
ศรีกรานนท,2559) จนกระทั่งมีความสนพระทัยในการพระราชนิพนธดนตรี ทรงเริ่มพระราชนิพนธเมื่อมีพระชนมพรรษา 18
พรรษา ไดทรงพระราชนิพนธเพลง “แสงเทียน” เปนเพลงแรก ในปพุทธศักราช 2489 จนถึงปจจุบันทรงพระราชนิพนธไว 48
เพลง ทุกเพลงลวนมีความไพเราะ ประทับใจผูฟง สอดคลองกับเนื้อรองที่มีคตินานัปการ และเปนสวนหนึ่งของชีวิตคนไทย ใน
ยามบานเมืองไมสงบ ก็พระราชทานเพลงปลุกใจ เพื่อเปนกําลังใจแกขาราชการ และประชาชนทั่วไป ผูปฏิบัติหนาที่เพื่อ
ประเทศชาติ มิใหเกิดความทอถอยในการทําความดีตอชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ตอตนเองและตอสังคม (สํานักงาน
สงเสริมเอกลักษณของชาติ,2544)
บทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร นั้น มีความหลากหลาย
ดานลีลาเพลง ทั้งลีลาแบบดนตรีแจส ดนตรีคลาสสิก เปนตน (แมนรัตน ศรีกรานนท,2544)ไดรับการเผยแพรประชาสัมพันธ
อยางตอเนื่องและแพรหลายไปยังหนวยงานราชการและสถาบันการศึกษาตางๆทั่วประเทศ ออกบรรเลงในโอกาสสําคัญตางๆ
ไดมีการนําไปขับรองและบรรเลงในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ วงบิกแบนดแจส วงขับรองประสานเสียง วงออเคสตรา วงโยธ
วาทิต ฯลฯ นอกจากนี้บทเพลงพระราชนิพนธฯ ยังไดมีการนําไปใชในการประกวดขับรองและบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ
มาโดยตลอด อยางไรก็ตามบทเพลงพระราชนิพนธฯนั้น เปนบทเพลงที่ทรงคุณคามีเอกลักษณเฉพาะของทํานอง จังหวะและ
เสียงประสาน (Harmony) ซึ่งตองอาศัยผูที่มีความรูความเชี่ยวชาญในการนําไปเรียบเรียงเสียงประสานและนําไปบรรเลง
เพื่อใหเกิดความถูกตองเหมาะสม อันเปนการเทิดพระเกียรติ และเปนการสมพระเกียรติในพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของ
พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร
อยางไรก็ตามพบวาในปจจุบันนั้นมีหนวยงานและสถาบันการศึกษาหลายแหงไดนําบทเพลงพระราชนิพนธฯ ไป
บรรเลงโดยขาดความรูความเขาใจที่ถูกตอง ทําใหสื่อความหมายทางดนตรีและเนื้อหาที่คลาดเคลื่อนจากตนฉบับที่ไดทรงพระ
ราชนิพนธไว กอใหเกิดความสับสน เกิดขอถกเถียงเกี่ยวกับความถูกตองเหมาะสมในการเรียบเรียงเสียงประสาน การขับรอง
และบรรเลง แมจะมีการเผยแพรเอกสารตนฉบับแลวก็ตามแตยังคงเกิดความสับสนเกี่ยวกับแนวทางในการเรียบเรียงเสียง
ประสาน การขับรองและบรรเลงที่เหมาะสม (ทีฆา โพธิเวส,2560)
บทความฉบับนี้มุงนําเสนอเนื้อหาขั้นตอนในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ถูกตองตามระเบียบของกรมราชเลขาธิการ เพื่อสรางความเขาใจและเปน
แนวทางในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธที่ถูกตอง ใหแกครู อาจารย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีความ
สนใจในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร
อยางถูกตองเหมาะสม อีกทั้งเปนการนอมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ขอบเขตการดําเนินการ
1. ขอบเขตดานเนื้อหา ทําการศึกษาหลักการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรตามระเบียบกรมราชเลขาธิการ ที่เกี่ยวของกับประเด็นดังตอไปนี้
1.1 เนื้อหาองคประกอบทางดนตรี ไดแก 1) ทํานองเพลง 2) จังหวะ 3) เสียงประสาน 4) รูปแบบทาง
ดนตรี (Styles) 5) โครงสรางบทเพลง
1.2 วิธีการประสานเสียงแนวทํานองและการเกลาเสียงประสาน (Voicing and Approaching)
1.3 การแตงทํานองชวงบรรเลงเดี่ยวกับวงดนตรี และการอิมโพรไวเซชั่น (Solo and Improvisation) ใน
การเรียบเรียงเสียงประสานสําหรับบทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร
2. ขอบเขตดานแหลงขอมูล ทําการศึกษาจากแหลงขอมูลดังตอไปนี้
2.1 เอกสารโนตเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรที่
เปนตนฉบับและผานการตรวจสอบความถูกตองสมบูรณจากผูเชี่ยวชาญ และแผนภูมิเพลง (Score) บทเพลงพระราชนิพนธที่
เรียบเรียงเสียงประสาน
3

2.2) เอกสารระเบียบสํานักราชเลขาธิการวาดวยการเชิญเพลงพระราชนินพนธของพระบามสมเด็จพระ
เจาอยูหัวไปใช
2.3) ทําการรวบรวมขอมูลสัมภาษณจากผูทรงคุณวุฒิดังตอไปนี้
2.3.1) อาจารยวิรัช อยูถาวร กรรมการตรวจสอบการเผยแพรบทเพลงพระราชนิพนธของกรม
ราชเลขาธิการในพระองค พระบรมมหาราชวัง และศิลปนแหงชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ประจําปพ.ศ.2560
2.3.2) พัน ตํ ารวจโทที ฆ า โพธิ เวส อดี ตสารวั ตรดุริ ย างค ตํา รวจ ผู เ คยถวายงานดนตรี รับ ใช
พระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร มีความเชี่ยวชาญดานการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลง
พระราชนิพนธ

ระเบียบสํา นักราชเลขาธิการวา ดว ยการเชิญ บทเพลงพระราชนิพ นธไปใชที่เกี่ยวของกับ การเรียบเรียงเสียงประสานบท


เพลงพระราชนิพ นธ
บทเพลงพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร เปนบทเพลงที่ทรงคุณคา
ทางดนตรี เปนมรดกสําคัญของชาติที่ควรคาแกการยกยองและควรแกการศึกษาทั้งในดานการประพันธและการเรียบเรียงเสียง
ประสาน ซึ่งมีเอกลักษณเฉพาะที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางดานการประพันธทํานองและการกําหนดคอรดที่แตกตางจากบท
ประพันธดนตรีแจสทั่วไป เมื่อมีผูที่นําบทเพลงพระราชนิพนธไปเรียบเรียงเสียงประสานโดยขาดความเชี่ยวชาญ ขาดความรู
ความเขาใจที่ลึกซึ้งอาจทําใหเกิดการตีความที่ผิดเพี้ยนไปจากพระราชประสงคฯ ได ทั้งนี้ การขอพระราชทานพระบรมรา
ชานุญาตในการเชิญบทเพลงพระราชนิพนธไปเรียบเรียงเสียงประสานนั้น ปจจุบันไดใชระเบียบของกรมราชเลขาธิการปพ.ศ.
2559 โดยมีใจความสําคัญเกี่ยวกับการเชิญบทเพลงพระราชนิพนธไปเผยแพร ดังที่ระบุในขอ 3 ไววา
“ขอ 3 ผูที่มีความประสงคเชิญเพลงพระราชนิพนธไปใช ไมวาจะมีวัตถุประสงคเพื่อหากําไร
หรือไมก็ตาม จะตองขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกอน
(3.1) ทําซ้ําหรือดัดแปลง เชน บันทึกลงในซีดี ดีวีดี แปลเพลงพระราชนิพนธเปน
ภาษาอื่น จัดลําดับเรียงเรียงเสียงประสานใหม
(3.2) เผยแพรตอสาธารณชน เชน จําหนายซีดีหรือดีวีดีเพลงพระราชนิพนธ
ขับรองบรรเลงในงานคอนเสิรต เผยแพรเพลงพระราชนิพนธผานสื่อตางๆ
(3.3) ใหเชาตนฉบับหรือสําเนาโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร และสิ่งบันทึกเสียง
เชน นําซีดีหรือดีวีดี เพลงพระราชนิพนธออกใหเชา” (กฤษณ กาญจนกุญชร,2559)
จากขอความดังกลาวแสดงใหเห็นวาการเชิญบทเพลงพระราชนิพนธไปทําซ้ําหรือดัดแปลงและเผยแพร ในเชิงพานิช
หรือไมก็ตาม จะตองขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ผานกรมราชแลขาธิการกอนทุกครั้ง โดยเฉพาะการเรียบเรียงเสียง
ประสานบทเพลงพระราชนิ พ นธ ที่มี ส าระสํา คัญ ในระเบี ยบที่ร ะบุต ามข อ 7.2 ว า ดว ยการดํ า เนิ นการของคณะกรรมการ
ตรวจสอบความถูกตองไววา
“7.2 สงเรื่องใหคณะกรรมการพิจารณาเพลงพระราชนิพนธตรวจสอบความถูกตองของ
บทเพลงพระราชนิพนธในดานทํานองดนตรี (Melody) เนื้อรอง (Lyric) เสียงประสานหรือคอรด
การขับรอง การแยกและเรียบเรียงเสียงประสาน (Arranging)” (กฤษณ กาญจนกุญชร,2559)
จากขอความดังกลาวแสดงใหเห็นวาในการพิจารณาความถูกตองเหมาะสมของการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลง
พระราชนิพนธที่ถูกตองตามระเบียบสํานักราชเลขาธิการนั้นจะใหความสําคัญกับการรักษาความถูกตองของทํานองหลักที่ทรง
พระราชนิพนธไว ซึ่งไมสามารถดัดแปลงได สําหรับคํารองนั้น ทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษใหใชคําและการสะกดตาม
ตนฉบับที่ไดระบุไวกับทํานองอยางเครงครัด สวนเสียงประสานหรือคอรดที่ไดทรงกําหนดเปนอักษรและตัวเลข(Chords
Symbols) นั้น ใหคงไวตามตนฉบับอยางเครงครัด คณะกรรมการจะพิจารณาจากแผนเสียงที่แนบมาพรอมกับแผนภูมิเพลง
ดังที่ระเบียบขอ 6.3 วงเล็บ1 และ2 มีใจความความวา
“(1) ตัวอยางสิ่งบันทึกเสียงหรือโสตทัศนวัสดุ เชน แถบบันทึกเสียง แถบวีดีทัศน ซีดี
วีซีดี หรือดีวีดี จํานวน 2 ชุด
(2) โนตเพลงหรือแผนภูมิเพลง (Score) และ/หรือสวนที่ไดแยกเสียงเครื่องดนตรี (Part)
4

แลว (ถามี)” (กฤษณ กาญจนกุญชร,2559)


ทั้งนี้คณะกรรมการจะทําการตรวจสอบการขับรองที่ถูกตองตามระดับเสียงของทํานองและการออกเสียงคํารองให
ถูกตองอยางเครงครัด สวนโนตเพลงหรือแผนภูมิเพลงนั้นจะพิจารณาความถูกตองของทํานองเพลงและคอรดที่ถูกตองตาม
ระเบียบดังที่ไดกลาวไปแลว ทั้งนี้ผูเรียบเรียงเสียงประสานจะตองสงขอมูลใหสํานักพระราชวังกอนการนําไปเผยแพรเปนเวลา
30 วัน หากกรณีที่ไมสามารถดําเนินการไดทันตามกรอบเวลา วิรัช อยูถาวร (2561) ไดเสนอวาสามารถเชิญไปใชได แตตอง
เรียบเรียงเสียงประสานอยางถูกตองโดยจะตองไมเปลี่ยนทํานอง คอรดเนื้อรอง และไมใหมีการบันทึกวีดีโอหรือเสียงแลวนําไป
เผยแพรในชองทางตางๆ
จากระเบียบของกรมราชเลขาธิการที่เกี่ยวของกับการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธที่ไดกลาว
มาแลวขางตนนั้นมีความสําคัญจําเปนตองขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตผานกรมราชเลขาธิการ ซึ่งผูมีความประสงคเชิญ
เพลงพระราชนิพนธไปใชตองดําเนินการตามระเบียบที่กําหนดไวไมวาเพื่อเผยแพรที่กอใหเกิดรายไดหรือไมก็ตาม ตองขอ
พระราชทานพระบรมราชาอนุญาตตามกรอบเวลาที่กําหนด เพื่อตรวจสอบความถูกตองของทํานอง คํารอง และคอรด ที่จะ
นําไปเรียบเรียงเสียงประสานเผยแพรตอไป

แนวทางการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพ นธที่ถูกตอง ตามระเบียบกรมราชเลขาธิการ


เนื่องจากในปจจุบันบทเพลงพระราชนิพนธไดมีการเผยแพรผานสื่อหลายชองทาง อาทิ หนังสือ โนตเพลง เสียง วิดีโอ
ตลอดจนสื่อออนไลนก็ตาม แมจะกอใหเกิดผลดีในการที่ประชาชนสามารถเขาถึงบทเพลงพระราชนิพนธในฐานะมรดกของชาติ
และทําใหประชาชนทราบถึงพระอัจฉริยะภาพทางดนตรี ของพระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร
แตผลเสียที่เกิดขึ้นตามมานั้นคือไดมีการนําไปดัดแปลงแกไขบทเพลงพระราชนิพนธทั้งโดยเจตนาและไมเจตนา ทําใหเกิดความ
สับสนตอผูที่ตองการจะศึกษาบทเพลงพระราชนิพนธ ทําใหสาระทางดนตรีและอัตลักษณเของบทเพลงพระราชนิพนธถูกสื่อ
ออกมานั้นไมเปนไปตามพระราชประสงค และยังเปนการมิบังควรอีกดวย
จากปญหาดังกลาวทําใหกรมราชเลขาธิการ ไดกําหนดโนตเพลงที่ถูกตองและไดรับการยอมรับจากกรมราชเลขาธิการ
โดยใชหนังสือรวมบทเพลงพระราชนิพนธในรูปแบบเอกสารแสดงทํานองและคอรด (Leadsheet) มีชื่อหนังสือวา “บทเพลง
พระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พิมพครั้งที่ 3 The Music Compositions His Majesty
King Bhumibol Adulyadej of Thailand” เผยแพรโดยสํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง เพื่อใชในการอางอิงความ
ถูกตองของโนตเพลง คอรด และคํารองที่ถูกตองเพื่อนําไปสูการเรียบเรียงเสียงประสานตอไป
5

ภาพที่ 1 แสดงภาพปกหนังสือบทเพลงพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดช พิมพครั้งที่ 3 The Music Compositions His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand ที่คณะกรรมการ
ตรวจสอบการเผยแพรบทเพลงพระราชนิพนธที่กรมราชเลขาธิการยอมรับ

วิรัช อยูถาวร (2560) ไดกลาววา การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธนั้น มีวิธีการไมแตกตางจาก


เพลงแจสทั่วไป เพียงแตมีรายละเอียดที่ตองคํานึงถึงดังตอไปนี้
1. ทํานองเพลง (Melody)
ทํานองเพลงนับวาเปนสวนสําคัญของบทเพลงเนื่องจากเปนสิ่งที่ทําใหผูฟงสามารถจดจํารายละเอียดของ
บทเพลงไดเปนอันดับแรก เชนเดียวกันบทเพลงพระราชนิพนธมีทํานองที่ไพเราะและโดดเดน เปนสิ่งที่ผูเรียบเรียงเสียงประสาน
ตองคงไวใหถูกตองตรงตามโนตตนฉบับ ไมสามารถเปลี่ยนแปลงใดๆได ตามรายละเอียดดังตอไปนี้
1.1 ระดับเสียง (Pitch) ในการเรียบเรียงเสียงประสานทํานองเพลงพระราชนิพนธนั้น หามมิใหมีการ
เปลี่ยนแปลง ตัด หรือเพิ่มเติมระดับเสียงอื่นใดลงไปในทํานองเพลงตนฉบับทั้งสิ้น
1.2 จังหวะทํานอง (Melodic Rhythm) สามารถปรับเปลี่ยนความสั้น – ยาว (Duration) ของโนตได
สามารถยื ด ขยายหรื อ ย อ ค า ตั ว โน ต (Augmentation and Diminution) ได กรณี ที่ ต อ งการทํ า เป น โน ต ขื น จั ง หวะ
(Syncopation Note) สามารถทําไดแตตองรักษาระดับเสียงเดิมและคงตําแหนงคอรดไวตามตนฉบับ
1.3 การปรับทํานองในลักษณะชวงคูแปด (Octave Transposition) สามารถทําไดตามความเหมาะสมแต
ควรปรับทั้งประโยคเพลงหรือทั้งทอนเพลง สวนการปรับชวงคูแปดของระดับเสียงโนตตัวใดตัวหนึ่งของทํานองหลักนั้นไม
สามารถกระทําได
1.4 การปรั บ กุ ญ แจเสี ย ง (Transposition) สามารถทํ า ได เ พื่ อ ให เ หมาะสมกั บ เสี ย งของนั ก ร อ ง
ความสามารถของนักดนตรีหรือลักษณะของเครื่องดนตรี ทั้งนี้เมื่อทําการทดกุญแจเสียงแลวคอรดทุกคอรดตองปรับไปตาม
ทํานองเพลงที่ไดปรับกุญแจเสียงดวย
1.5 การเปลี่ยนกุญแจเสียง (Modulation) จากกุญแจเสียงหนึ่งไปยังกุญแจเสียงใหมไดโดยคอรดทุกคอรด
ตองปรับตามทํานองที่เปลี่ยนกุญแจเสียง
1.6 การขับรอง (Vocal) ทํานองเพลงบทเพลงพระราชนิพนธที่ไดทําการเรียบเรียงเสียงประสาน วิรัช อยู
ถาวร (2561) ไดเสนอแนะเกี่ยวกับการขับรองหรือบรรเลงทํานองเพลงบทเพลงพระราชนิพนธไวอีกวาควรใหความสําคัญ
เกี่ยวกับโนตจร (Accidental note) หรือโนตโครมาติก โดยเฉพาะโนตที่เปนลักษณะบลูส (Blues Note) เชน เพลงพระราช
นิพนธชะตาชีวิต ฯลฯ ดังที่แสดงในตัวอยางที่ 1.1 สําหรับการขับรองเพลงพระราชนิพนธนั้นสามารถเอื้อนโนตทํานองไดหรือ
อาจใชโนตเบียด (Acciaccatura) โดยการรองโนตระดับเสียงอื่นที่ไมใชโนตหลักแลวเคลื่อนที่หาโนตหลักของทํานองเพลงที่
ถูกตองเชนเพลงสายฝน เปนตน อีกทั้งยังพบวามักมีการขับรองไมลงตามคาจังหวะของโนต (Duration) ที่ถูกตองเชนเพลงสาย
ฝน อี กทั้ ง ตอ งใหค วามสํา คัญ ในการขั บร องขั้น คู ที่ขั บร องยาก โดยเฉพาะโนต ขั้น คูที่ เ ปน โน ต จร ที่ ไม ไ ดอ ยูใ นบั น ไดเสี ย ง
ตัวอยางเชน บทเพลงพระราชนิพนธ แวว หรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษวา “Echo” ที่ทํานองมีการเคลื่อนที่กระโดดลงขั้นคู 7 ดิมิ
นิชด (d7) ซึ่งเปนเสียงที่กระดาง (Dissonance) ไปสูโนตจร แลวหักเหกระโดดไปสูโนตในบันไดเสียงที่ขั้นคู 6 ไมเนอร (m6) ใน
หองเพลงที่ 10 และ การใชขั้นคูกระโดดลงขั้นคู 7 ไมเนอร จากนั้นหักเหทิศทางกระโดดขึ้นขั้นคู 5 ดิมินิชดซึ่งเปนเสียงที่
กระดางเชนกัน ในหองเพลงที่ 13 ซึ่งเปนการเคลื่อนที่ของขั้นคูที่ขับรองยาก ดังแสดงในตัวอยางที่ 1.2

ตัว อยางที่ 1.1 แสดงการโนตในบันไดเสียงบลูสในบทเพลงพระราชนิพนธชะตาชีวิต


6

ตัว อยางที่ 1.2 แสดงขั้นคูกระโดดและเสียงขั้นคูกระดางในบทเพลงพระราชนิพนธ แวว


2. จังหวะ (Time and Meter)
บทเพลงพระราชนิพนธมีความหลากหลายในดานจังหวะอยางมาก ตามรูปแบบทางดนตรีทั้งมิติของจังหวะ
ดานอัตราจังหวะและกระสวนจังหวะ ซึ่งผูเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธตองคํานึงถึงมีดังตอไปนี้
2.1 สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายกําหนดจังหวะได แตตองพิจารณาถึงความเหมาะสมของรูปแบบทางดนตรี
ประโยคเพลง ตัวอยางเชน บทเพลงรูปแบบมารชซึ่งอยูในเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 2/4 นําไปเรียบเรียงเปนรูปแบบดนตรี
วอลทซ (Waltz) ซึ่งอยูในเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 3/4 ซึ่งจะทําใหเกิดปญหาของความตอเนื่องของประโยคเพลงและอยูใน
อัตราความเร็วที่ไมเหมาะสม เปนตน อยางไรก็ตามทีฆา โพธิเวส (2561) ไดเสนอแนะวาบทเพลงเครื่องหมายกําหนดจังหวะ
3/4 สามารถเปลี่ยนเปนเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 4/4 งายกวาจากเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 4/4 มาเปนเครื่องหมาย
กําหนดจังหวะ 3/4 เพราะการยืดขยายตัวโนตจากเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 3/4 ไปหาเครื่องหมายกําหนดจังหวะ 4/4
สามารถทําไดงายกวา หรืออาจเปลี่ยนในชวงทอนวงดนตรีบรรเลงที่ไมมีคํารอง
2.2 อัตราความชา - เร็ว (Tempo) สามารถกําหนดไดอิสระโดยพิจารณาตามความเหมาะสมจากรูปแบบ
ทางดนตรี เชน บทเพลงในรูปแบบวอลทซควรอยูในอัตราความชา - เร็วที่ โนตตัวดําเทากับ 80 หรือบทเพลงรูปแบบมารชกาว
เดินควรอยูในอัตราความชา - เร็วที่ 112 และมารชนั่งบรรเลงอาจจะเร็วกวาเล็กนอยตามความเหมาะสมเปนตน (ทีฆา โพธิเวส
,2561) นอกจากนี้การกําหนดอัตราความชา - เร็วของบทเพลงตองคํานึงถึงอารมณเนื้อหาและความหมายของเพลงพระราช
นิพนธดวย

3. รูปแบบดนตรี (Styles)
เพลงพระราชนิพนธพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไมระบุรูปแบบทางดนตรีในบทเพลงอยางเจาะจง ขึ้นอยู
กับผูเรียบเรียงเสียงประสานจํานําไปเรียบเรียงในรูปแบบตางๆ แตอยางไรก็ตามวิรัช อยูถาวร (2561) ไดเสนอแนะสิ่งที่ควร
คํานึงในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางดนตรีสําหรับบทเพลงพระราชนิพนธไวตอไปนี้
3.1 เพลงที่ระบุรูปแบบทางดนตรีในชื่อเพลงอยูแลวหากนําไปเรียบเรียงเสียงประสานรูปแบบอื่น อาจทําให
ความหมายเปลี่ยนไป จึงตองดูความเหมาะสมของทํานอง อารมณของบทเพลง และชื่อเพลง เชน บทเพลงพระราชนิพนธ Lay
Kram Goes Dixies ควรเรียบเรียงเสียงประสานในรูปแบบดิกซี่แลนดแจส (Dixieland Jazz) เปนตน
3.2 ควรคํานึงถึงลักษณะทํานอง การดําเนินคอรด (Chord Progression) ความหมายและอารมณของ
เพลง เชน บทเพลงพระราชนิพนธแสงเดือนที่มีความหมายซาบซึ้งของพระจันทรยามค่ํา จะนําไปเรียบเรียงในรูปแบบดนตรี
ละตินก็ไมเหมาะสมหรือเพลงรูปแบบมารชจะนําไปเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีรูปแบบอื่นก็ไมเหมาะสม (ทีฆา โพธิเวส,
2561)
3.3 เพลงที่มีลักษณะรูปแบบเฉพาะ ที่ไดทรงพระราชนิพนธมาแลว เชน บทเพลงรูปแบบมารชจะเรียบเรียง
เปนแนวอื่นตองคํานึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบทางดนตรี

4. คอรดและเสียงประสาน
4.1 คอรด (Chords) ในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธนั้นไมสามารถเปลี่ยนหรือ
ดัดแปลงไดตองยึดถือปฏิบัติอยางเครงครัด ไมสามารถแกไขสัญลักษณคอรดใดๆที่ปรากฏในโนตเพลงตนฉบับ ไมสามารถ
เคลื่อนยายเปลี่ยนตําแหนงคอรดได เพราะจะทําใหเสียเอกลักษณทางเสียงประสานของบทเพลงพระราชนิพนธและเปนการมิ
บังควร โดยวิรัช อยูถาวร (2561) ไดอธิบายวา โดยทั่วไปการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีอื่นๆที่ไมใชบทเพลงพระราชนิพนธ
นั้น สามารถเปลี่ยนหรือดัดแปลงคอรดได แตสําหรับบทเพลงพระราชนิพนธนั้นถาหากนักเรียบเรียงเสียงประสานมีความ
7

เชี่ยวชาญทําการเปลี่ยนหรือดัดแปลงคอรดแลวทําใหเพลงมีความไพเราะนั้นก็สามารถยอมรับได แตหากนักเรียบเรียงเสียง
ประสานขาดความรูความเขาใจในการเรียบเรียงเสียงประสานเมื่อเปลี่ยนหรือดัดแปลงคอรดแลวทําใหขาดความไพเราะจะทํา
ใหเกิดความแตกตางกันของมาตรฐานในการตัดสินใจของกรรมการที่ตรวจพิจารณา ดังนั้นจึงมีขอสรุปไมอนุญาตใหมีการ
เปลี่ยนหรือดัดแปลงคอรดในบทเพลงพระราชนิพนธใดๆทั้งสิ้น ซึ่งมีขอพึงพิจารณาดังตอไปนี้
4.1.1 การพลิกกลับคอรด (Inversions of Chord) เพื่อใหแนวเบสดําเนินอยางตอเนื่องและ
กลมกลืนนั้นสามารถใชโนตสมาชิกอื่นๆของคอรดได แตไมตองระบุลงบนคอรดตนฉบับ ดังตัวอยางที่ 2

ตัว อยางที่ 2 แสดงการใชคอรดพลิกกลับในบทเพลงพระราชนิพนธยามค่ํา เรียบเรียงเสียงประสานโดยวิรัช


อยูถาวร
4.1.2 คอรดทบเจ็ดดิมินิชด (Diminished Seventh Chords) นอกจากนี้ วิรัช อยูถาวร (2561)
ยังไดกลาวถึงความสําคัญของคอรดทบเจ็ดดิมินิชด ที่ปรากฏในบทเพลงพระราชนิพนธไววาควรใหความสําคัญเปนพิเศษ
เนื่องจากพบมากในบทเพลงพระราชนิพนธหลายๆบทเพลงซึ่งนักเรียบเรียงเสียงประสานตองทําความเขาใจ ตัวอยางเชน บท
เพลงพระราชนิพนธยามค่ํา หองเพลงที่ 21 – 22 ที่ทรงใชคอรดดิมินิชดตอเนื่องไดแกคอรด Adim Cdim และ F#dim ซึ่งเมื่อ
วิเคราะหแลวพบวาทั้ง 3 คอรดมีสมาชิกรวมกันทั้งหมดแตกตางกันแคโนตในตําแหนงพื้นตน (Root Position) เทานั้น ดังที่
แสดงในตัวอยางที่ 3.1 และ 3.2

ตัว อยางที่ 3.1 ตัว อยางที่ 3.2

ตัว อยา งที่ 3 แสดงคอรดดิมินิชดแบบตอเนื่อง 3 คอรดในบทเพลงพระราชนิพนธยามค่ําที่มีชื่อคอรด


ตางกันแตมีสมาชิกคอรดรวมกัน

4.2 การประสานทํานองและการเกลาคอรด (Voicing and Approaching) ใชวิธีการเดียวกันกับหลักการ


ประสานเสียงทํานองและการเกลาคอรด (Voicing and Approaching) ทั่วไป ไมวาจะเปนการประสานเสียงแบบ 4 แนวชิด
การดรอป และการประสานเสียงแบบคอนเสิรต (สมชาย รัศมี,2536) ซึ่งผูเรียบเรียงเสียงประสานสามารถประสานเสียงและ
เติมโนตที่เปนเทนชั่น (Tension) ของคอรด เชน 7 9 11 และ 13 ไดโดยอิสระและไมตอ งระบุสญ
ั ลักษณคอรดเพิ่มลงไปบนโนต
ยกตัวอยางที่ 4 แสดงการประสานเสียงบางสวนของทํานองเพลงแสงเดือนหองเพลงที่ 21 และ22 โดยในหองเพลงที่ 21
8

จังหวะที่4 ของหองเพลงเปนการประสานเสียงอยูบนคอรด F7 โดยกําหนดใหเปนโนตทํานองเทนชั่น (Melodic Tension) ตัว


ที่ 13 แลวจึงทําการประสานเสียงดวยโนตขั้น 11 9 และ 7 ซึ่งเปนเทนชั่นของคอรด

ตัว อยางที่ 4 แสดงการประสานเสียงทํานองเทนชั่นของคอรด F7 ในบทเพลงพระราชนิพนธแสงเดือน

4.3 เคานทเตอรเมโลดีและการเขียนแนวพื้นหลัง (Countermelody and Background) ในการเรียบเรียง


เสียงประสานนั้นแนวเคานทเตอรเมโลดีชวยทําใหบทเพลงมีความโดดเดนนาสนใจมากขึ้น สําหรับการแตงแนวเคานทเตอร -
เมโลดีกับแนวพื้นหลังนั้นผูเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธสามารถแตงขึ้นเองอยางอิสระ สามารถเติมโนตที่เปน
เทนชั่นของคอรดเชน 6 7 9 11 และ 13 ไดโดยอิงจากคอรดตนฉบับของบทเพลงพระราชนิพนธแลวนํามาสรางทํานองเคานท-
เตอรเมโลดีและแนวพื้นหลัง ยกตัวอยางเชน คอรด A7 สามารถแตงทํานองเคานทเตอรเมโลดีดวยโนตเทนชั่นของคอรดไดแต
ตองไมขัดแยงกับโนตทํานองหลัก เปนตน ดังตัวอยางที่ 4 เปนการแสดงตัวอยางการแตงเคานทเตอรเมโลดีเพลงพระราชนิพนธ
แกวตาขวัญใจ เรียบเรียงเสียงประสานโดยวิจิตร จิตรรังสรรค โดยหองเพลงที่ 37 – 38 ที่ไดใชโนตเทนชั่นของคอรด Eb กับ
คอรด Bb7 ซึ่งปรากฏวามีการใชโนตเทนชั่นของคอรด #9 และมีการใชโนตนอกคอรด +5 และ 6 ของคอรด Eb ในหองเพลง
ที่ 37 และโนต C ซึ่งเปนโนตเทนชั่นตัวที่ 9 ของคอรด Bb7 ในหองเพลงที่ 38 ซึ่งเปนโนตสําคัญในการแตงเคานทเตอรเมโลดี

ตัว อยางที่ 5 แสดงการเขียนเคานทเตอรเมโลดีที่ใชโนตเทนชั่นของคอรดที่แนวทรัมเปต 1 ในบทเพลงพระ


ราชนิพนธ แกวตาขวัญใจ เรียบเรียงเสียงประสานโดยวิจิตร จิตรรังสรรค

5. โครงสรางบทเพลง (Forms)
ในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธนั้นใหยึดถือโครงสรางของบทเพลงพระราชนิพนธ
ตนฉบับไว โดยเรียบเรียงตามโครงสรางที่ไดทรงพระราชนิพนธไว หลังจากทอนเพลงที่วงดนตรี (Band) บรรเลงเสร็จแลวหาก
ตองการวนซ้ํา (Dal Segnoหรือ D.S) ในทอนใดทอนหนึ่งสามารถทําไดแตตองพิจารณาความเหมาะสมในการตอเนื่องของ
คอรดและทํานอง (ทีฆา โพธิเวส,2561) สําหรับทอนนําเสนอ (Intro) ทอนบรรเลงคั่น (Interlude) ทอนวงดนตรีบรรเลง
(Band) และทอนจบ (Outro) นักเรียบเรียงเสียงประสานสามารถประพันธทํานอง เรียบเรียงคอรดขึ้นใหมไดอยางอิสระ (วิรัช
อยูถาวร,2561)
9

6. การเรีย บเรีย งเสีย งประสานบทเพลงพระราชนิพ นธโ ดยใชเครื่อ งดนตรีไทยหรือ เครื่อ งดนตรีพ ื้น บา นรว ม
บรรเลง
ในการนําเครื่องดนตรีไทยหรือเครื่องดนตรีพื้นบานรวมบรรเลงในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระ
ราชนิพนธนั้น วิรัช อยูถาวรและทีฆา โพธิเวส (2561) ไดเสนอวาสามารถทําไดแตตองระมัดระวังกับโนตโครมาติคในทํานอง
เพลงพระราชนิพนธเนื่องจากเครื่องดนตรีไทยหรือเครื่องดนตรีพื้นบางหลายชนิดไมสามารถบรรเลงโนตโครมาติคหรือไม
สามารถบรรเลงในกุญแจเสียงที่มีชารปแฟล็ทหลายตัวเหมือนเครื่องดนตรีตะวันตก และบทเพลงพระราชนิพนธมีโนตโครมาติค
หลายตัวในบทเพลง ในกรณีที่ไมสามารถบรรเลงโนตโครมาติคไดอยางชัดเจน อาจจะใชวิธีการใหเครื่องดนตรีดังกลาวบรรเลง
แนวที่ไมใชทํานองหลักในลักษณะเคานทเตอรเมโลดีหรือแนวพื้นหลัง และตองปรับเทียบระดับเสียงของเครื่องดนตรีไทยและ
ดนตรีพื้นบานใหตรงกับระบบเสียงดนตรีตะวันตกอีกดวยเพื่อใหไดเสียงที่กลมกลืน
การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธแมวาจะมีกฎเกณฑบางขอที่เครงครัด ก็เพื่อคงไวซึ่ง
ต น ฉบั บ ที่ ถู ก ต อ งและเพื่ อ รั ก ษาเอกลั ก ษณ เ ฉพาะทางด า นเนื้ อ หาทางดนตรี ที่ แ สดงถึ ง พระอั จ ฉริ ย ภาพทางดนตรี ข อง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร แตอยางไรก็ตามก็ไดเปดโอกาสใหนักเรียบเรียงเสียงประสาน
ไดสรางสรรคแตงเติมองคประกอบทางดนตรีอื่นๆ ไดตามจินตนาการของนักเรียบเรียงเสียงประสาน

สรุป
จากที่ไดนําเสนอในประเด็นตางๆเกี่ยวกับระเบียบกรมราชเลขาธิการ เกี่ยวกับการเผยแพรและการเชิญบทเพลงพระ
ราชนิพนธไปใช และแนวทางสําหรับการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธที่ถูกตองจากผูทรงคุณวุฒิแลวนั้น มี
หลักการสําคัญที่ตองคํานึงคือการนําไปเผยแพรตองขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตผานกรมราชเลขาธิการทุกครั้งไมนอย
กวา 30 วันกอนทําการเผยแพร สําหรับการเรียบเรียงเสียงประสานคือ ตองคงไวซึ่งทํานองเพลง คํารอง และคอรดของผลงาน
ตนฉบับไวอยางเครงครัด โดยอิงจากหนังสือบทเพลงพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พิมพครั้งที่ 3 The Music Compositions His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand สําหรับจังหวะ รูปแบบ
ดนตรี โครงสรางบทเพลงทอนนําเสนอ ทอนบรรเลงคั่น ทอนวงดนตรีบรรเลง ทอนจบ เคานทเตอรเมโลดีและการเขียนแนวพื้น
หลัง สามารถสรางสรรคปรับแตงไดตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถเรียบเรียงเสียงประสานใหเครื่องดนตรีไทยและ
เครื่องดนตรีพื้นบานบรรเลงรวมไดแตตองคํานึงถึงโนตเสียงโครมาติคบางตัวที่ตองหลีกเลี่ยงและตองปรับเทียบระดับเสียงให
ตรงกับระบบเสียงดนตรีตะวันตก

รายการอางอิง
กฤษณ กาญจนกุญชร.(2559). ระเบียบสํานักราชเลขาธิการวาดว ยการเชิญ บทเพลงพระราชนิพ นธข องพระบาทสมเด็จพระ
เจาอยูหัว ไปใช. กรมราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง.
กรมราชเลขาธิการในพระองค พระบรมมหาราชวัง.(2559).บทเพลงพระราชนิพ นธข องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ
พลอดุลยเดช พิมพครั้ง ที่ 3 The Music Compositions His Majesty King Bhumibol Adulyadej of
Thailand.กรมราชเลขาธิการในพระองค พระบรมมหาราชวัง.
ทีฆา โพธิเวส.5 เมษายน.2559.ผูเชี่ยวชาญดานการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ.สัมภาษณ.
_________.25 มกราคม. 2561.ผูเชี่ยวชาญดานการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ. สัมภาษณ.
ภาธร ศรีกรานนท.(2559).บทเพลงพระราชนิพ นธ : การวิเคราะหและสังเคราะหทางดนตรีศึกษา.กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส.
แมนรัตน ศรีกรานนท.(2544). การเรียบเรียง-ศิลปในขอบเขตในการอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพรโนตเพลงพระราชนิพ นธ
ในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว .กรุงเทพฯ:โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.
วิรัช อยูถาวร.25 มกราคม.2561.กรรมการตรวจสอบการเผยแพรบทเพลงพระราชนิพนธ ศิลปนแหงชาติสาขาศิลปะการแสดง
(ดนตรีสากล) ประจําปพ.ศ.2560. สัมภาษณ.
สมชาย รัศมี.(2536). คูมือนักดนตรี การเรียบเรียงเสียงประสาน.ม.ป.ท.
สํานักงานสงเสริมเอกลักษณของชาติ.(2544). การอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพรโนตเพลงพระราชนิพ นธในพระบาทสมเด็จ
พระเจาอยูหัว .กรุงเทพฯ:โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.

You might also like