You are on page 1of 4

22 R&D Newsletter

ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนกรกฏาคม - กันยายน 2558

การศึกษา
ความคงสภาพ
ของผลิตภัณฑ์ยา
ชนินดา  เพชรสังฆาต
กลุ่มงานด้านศึกษาความคงสภาพของผลิตภัณฑ์
กลุ่มวิจัยเภสัชเคมีวิเคราะห์

ความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ยา มีความส�ำคัญในทุกขบวนการทีเ่ กีย่ วข้อง เริม่ ตัง้ แต่ขบวนการผลิต


จนถึงสภาวะเก็บรักษาในโรงงานที่ผลิต ในรถที่ขนส่ง ในร้านยา และในบ้านของผู้บริโภค ความคงสภาพ
ของผลิตภัณฑ์ยา สื่อความหมายได้หลายอย่าง ความหมายที่ใช้กันมากที่สุดคือ ความคงสภาพทางเคมี
ของตัวยาส�ำคัญ อย่างไรก็ตามความคงสภาพของยาไม่ได้ขน้ึ กับตัวยาส�ำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยงั ขึน้ อยูก่ บั
คุณสมบัติทางเภสัชกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น สีของเม็ดยา ความแข็งของเม็ดยา การละลายของยา เป็นต้น
ดังนั้น การตรวจสอบความคงสภาพของยาจึงต้องตรวจสอบคุณสมบัติอื่น ๆ ของยาอีกด้วย

แนวทางการทดสอบความคงสภาพของยา
สภาวะที่ใช้ในการศึกษาความคงสภาพของยา ท�ำการศึกษา
อย่างน้อย 2 สภาวะ ได้แก่
1. สภาวะเร่ง (Accelerated storage condition) เป็นการ
ศึกษาเพื่อที่จะเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
หรือฟิสิกส์ของยา โดยการเก็บตัวอย่างที่ทดสอบในสภาวะที่รุนแรง
มากกว่าความเป็นจริง วัตถุประสงค์ในการทีจ่ ะหาตัวแปรทางจลนศาสตร์
เพือ่ ทีจ่ ะท�ำนายระยะเวลาของการสิ้นอายุของยาโดยประมาณ และจะ
ท�ำการศึกษาความคงสภาพทีอ่ ณ ุ หภูมิ 40oC ± 2oC ความชืน้ สัมพัทธ์ 75
% RH ± 5 % RH ช่วงเวลาการศึกษาความคงสภาพตามขนาดการผลิต
ดังนี้
ขนาดการผลิตของผลิตภัณฑ์ยา ช่วงเวลาของการศึกษาความคงสภาพ
ขนาดการผลิตเล็กหรือในระดับ
0, 1, 3, และ 6 เดือน
ห้องปฏิบัติการ
ขนาดการผลิตในระดับทดลอง
0, 3, และ 6 เดือน
ผลิตหรือในระดับผลิตจริง
วารสาร เพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม 23
ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนกรกฏาคม - กันยายน 2558

2. สภาวะการเก็บรักษาจริง (Real time storage


condition) เป็นการศึกษาความคงสภาพ เพื่อที่จะยืนยัน
ถึ ง คุ ณ ภาพของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ตลอดระยะเวลาที่ น�ำออก
จ�ำหน่าย จะท�ำการศึกษาความคงสภาพทีอ่ ณ ุ หภูมิ 30oC ±
2oC ความชื้นสัมพัทธ์ 75 % RH ± 5 % RH ช่วงเวลาของ
การศึกษาความคงสภาพจะแบ่งเป็น 0, 3, 6, 9, 12, 18
และ 24 เดือน และทุกปีจนกว่าจะเกินวันสิ้นอายุ

หัวข้อทีใ่ ช้ในการศึกษาความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ยา
แบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1. การทดสอบทางด้านเคมี (Chemical test)
- ปริมาณของตัวยาส�ำคัญ (Content)
- ปริมาณของกันเสีย (Preservative) หรือ
สาร Antioxidant
- ปริมาณของสารปนเปือ้ น และสารสลายตัว
(Impurity and Degradation product)
2. การทดสอบทางจุลชีววิทยา (Microbial Limit Test)
ท�ำการทดสอบทางจุลชีววิทยาในสภาวะเร่ง
อย่างน้อยที่ 6 เดือน และในสภาวะเก็บรักษาจริงทุก ๆ ปี
จนครบระยะการศึกษา
3. การทดสอบทางกายภาพ (Physical Test)
การศึ ก ษาความคงสภาพทางกายภาพของ
ผลิตภัณฑ์ยาจะท�ำการวิเคราะห์หวั ข้อต่าง ๆ ตามรูปแบบ
ของผลิตภัณฑ์ยา หัวข้อทีท่ �ำการวิเคราะห์ เช่น Appearance,
Odor, Color test, pH, Viscosity, % Water content,
Dissolution, Disintegration time, Hardness, Friability,
Deliverable volume, Particulate matter เป็นต้น
24 R&D Newsletter
ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนกรกฏาคม - กันยายน 2558

ความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ยา
แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ความคงสภาพทางเคมี หมายถึ ง การที่
ผลิตภัณฑ์ยาจะต้องมีตวั ยาส�ำคัญอยูค่ รบตามปริมาณทีบ่ ง่ ไว้
ในฉลาก
2. ความคงสภาพทางกายภาพ หมายถึ ง
คุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปร่างลักษณะ
ภายนอกของยา รสชาติ และการละลายไม่มกี ารเปลีย่ นแปลง
3. ความคงสภาพทางจุ ล ชี ว วิ ท ยา หมายถึ ง
ผลิตภัณฑ์จะต้องคงความปราศจากเชือ้ หรือความสามารถ
ในการต้ า นทานการเจริ ญ ของจุ ลิ น ทรี ย ์ ไว้ ไ ด้ ใ นระดั บ
ที่ก�ำหนด และประสิทธิภาพของสารต้านจุลชีพที่มีอยู่
ในต�ำรับยังคงอยู่ในระดับที่ต้องการ
4. ความคงสภาพของประสิทธิภาพในการรักษา
5. ความคงสภาพทางพิษวิทยา หมายถึง ระดับ
ความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ยาไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การสังเกตลักษณะของยาเสื่อมสภาพ
การสูญเสียความแรงของยามักมีผลจากการเปลีย่ นแปลงทางเคมี และมีผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทางกายภาพได้
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความไม่คงสภาพของยา และไม่ควรจ่ายยานั้นให้คนไข้ การเปลี่ยนแปลง
ทางกายภาพที่สามารถสังเกตได้ และบ่งบอกความไม่คงสภาพของยามีดังนี้
1. การสังเกตการเสื่อมสภาพของยารูปแบบของแข็ง
ควรเก็บในบริเวณที่มีความชื้นต�่ำ จึงควรเก็บในภาชนะปิดสนิท (Tight container)

รูปแบบยา ลักษณะความไม่คงสภาพทางกายภาพ
เม็ดไม่เคลือบ มีผงยาออกมาจากเม็ดยาจ�ำนวนมาก เม็ดยาแตกหัก เม็ดยาบวม รอยด่างที่เม็ดยา
(Uncoated tablets) เม็ดยาเปลี่ยนสี เม็ดยาเกาะติดกัน
เม็ดเคลือบ (Coated tablets) มีรอยร้าว รอยด่างที่เม็ดยา สารที่เคลือบเหนียวขึ้น และเม็ดยาเกาะกันเป็นก้อน
ผงยา (Powder) ผงยา และแกรนูล เกาะกันเป็นก้อนแข็ง หรือเปลี่ยนสี
ยาเหน็บ (Suppository) ยาเหน็บที่อ่อนนุ่มเกินไป แห้ง แข็ง หรือเหี่ยวแห้ง
แคปซูล (capsule) เปลือกแคปซูลนิ่ม และติดกัน หรือแข็งและแตกแม้มีแรงกดอ่อน ๆ
วารสาร เพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม 25
ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนกรกฏาคม - กันยายน 2558

2. การสังเกตการเสื่อมสภาพของยาในรูปแบบของเหลว
สิ่งส�ำคัญคือ ความสม�่ำเสมอของยา และความปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ความไม่คงสภาพ
สังเกตจากการที่สารละลายขุ่น หรือมีตะกอน อีมัลชั่นแยก ยาน�้ำแขวนตะกอนไม่แขวนลอยหลังจากเขย่าขวด
การเปลี่ยนแปลงของ สี กลิ่น และรส
รูปแบบยา ลักษณะความไม่คงสภาพทางกายภาพ
ยาน�้ำใสหรือยาน�้ำเชื่อม ขุ่น การเจริญของเชื้อ การเกิดก๊าซ การเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่น
(Solution or syrup)
อีมัลชั่น การแยกชั้นของผลิตภัณฑ์
(Emulsion)
ยาแขวนตะกอน (Suspension) ผงยาตกตะกอนไม่สามารถกลับแขวนลอยได้ด้วยแรงเขย่า
ทิงเจอร์ (Tincture) สีเข้มขึ้น การตกตะกอน
ของเหลวปราศจากเชื้อ ลักษณะหมอกบาง ๆ ขุ่น การเปลี่ยนสี การเกิดฟิล์มที่ผิวหน้า การเกาะกันของผงยา
(Sterile liquid) การเกิดก๊าซ

รูปแบบยา ลักษณะความไม่คงสภาพทางกายภาพ
3. การสังเกตการเสื่อมสภาพ
ของยากึ่งแข็งกึ่งเหลว การแยกชั้น การหดตัวของเนื้อครีม เนื่องจาก
ลักษณะทีแ่ สดงถึงความไม่คง ครีม (Cream) การระเหยของน�้ำ การปนเปื้อนของเชื้อ
สภาพคือ สี กลิน่ หรือความหนืด เปลีย่ นไป จุลินทรีย์
ขี้ผึ้ง (Ointment) การแยกชั้นของผลิตภัณฑ์

เอกสารอ้างอิง
1. นัยนา สันติยานนท์. ความคงตัวของเภสัชภัณ์และการเก็บรักษา. Thai Pharm Health Sci J,.2008;3(1):180-7.
2. กองวิเคราะห์ยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการทดสอบความคงสภาพของยา, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
พิมพ์ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2535
3. HYPERLINK “http://www.google.co.th/url?q=http://www.suanprung.go.th/medicine/pdf/med12.pdf&sa=U&ei=I9A0VYjlKZGVuA-
Sa3YC4Bg&ved=0CBkQFjAB&usg=AFQjCNFfIx24ouoaaooGrQp17DSdSR7FSw” แนวทางการจัดเก็บยาและประเมินการคงสภาพของยา,
HYPERLINK “http://www.suanprung.go.th/medicine/pdf/med12.pd” www.suanprung.go.th/medicine/pdf/med12.pd
4. สมชัยยา สุรฉิ นั ท์.การเก็บรักษากับความคงตัวของยาและเภสัชภัณฑ์. HYPERLINK “http://www.gpo.or.th/rdi/html/stability.html” http://
www.gpo.or.th/rdi/html/stability.html

You might also like