You are on page 1of 62

คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร

การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

คู่มือ
เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร

ประกอบ

การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

โดย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

คํานํา
คู่มือเตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร เป็นคู่มือที่ทางกรมพัฒนาพลังงาน
ทดแทนและอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน (พพ.) จั ด ทํ า ขึ้ น ภายใต้ ก ารถ่ า ยทอดและเผยแพร่
เทคโนโลยีพลังงานทดแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ของเจ้าหน้าที่
สํ า นั ก ถ่ า ยทอดและเผยแพร่ เ ทคโนโลยี (สถผ.) ศู น ย์ บ ริ ก ารวิ ช าการที่ 1-10
สํานั กวิ ชาการพลัง งานเขต พลัง งานจั งหวัด ให้เ ป็น หน่ วยงานหลัก ในการถ่ ายทอด
และเผยแพร่สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ อุปกรณ์เทคโนโลยีพลังงานทดแทน กิจกรรม
ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้กับชุมชนและประชาชนผู้สนใจ เพื่อให้มี
การผลิตและใช้งานเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทนให้มากขึ้น
โดยในคู่มือเล่มนี้จะกล่าวถึงประเภทของเตาเผาถ่าน ขั้นตอนการผลิตถ่าน
ด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร และผลผลิตจากการเผาถ่านเพื่อการผลิตใช้งานด้วยตนเอง
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือ
เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร จะสามารถใช้ประกอบการสร้างและนําเอาความรู้
ความเข้าใจที่ได้ ไปถ่ายทอดและเผยแพร่ เพื่อส่งเสริมให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และหาก
คู่มือที่จัดทําขึ้นนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทํา ขอน้อมรับไว้ ณ ที่นี้ และ
ยินดีรับข้อคิดเห็นและข้อติชมต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้นําไปปรับปรุงแก้ไข
คู่มือนี้ให้มีความถูกต้องและเหมาะสมสําหรับการนําไปใช้งานในโอกาสต่อไป

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

สารบัญ
หน้า
1. บทนํา 1
2. ประเภทเตาเผาถ่าน 2
2.1 เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร 2
- แบบตั้ง
- แบบนอน
2.2 เตาเผาถ่านแบบเผาแกลบ 4
2.3 เตาเผาถ่านแบบดินเหนียวก่อ 5
2.4 เตาเผาถ่านแบบอิฐก่อ 6
2.5 เตาเผาถ่านแบบอิวาเตะ 7
2.6 เตาเผาถ่านแบบโยชิมูระ 9
3.เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร 11
3.1 เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง 11
3.2 เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบนอน 21
4. ขัน้ ตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร 33
4.1 ขั้นตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง 33
4.2 ขั้นตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบนอน 37
4.3 การบํารุงรักษาเตาเผาถ่าน 200 ลิตร (แบบตั้งและแบบนอน) 44
5. ผลผลิตจากการเผาถ่าน 45
5.1 น้ําส้มควันไม้ 45
5.2 ประโยชน์ของถ่าน 50
เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

1. บทนํา
การใช้ถ่านมีอยู่คู่กับวิถีชีวิตของเรามาช้านาน เป็นการพัฒนาจากการหุงต้ม
โดยใช้ไ ม้ฟืน เป็น เชื้อ เพลิ งโดยตรง เมื่อ เปรี ยบเทียบกับไม้ฟืน ถ่า นเป็ นเชื้ อเพลิง ที่
สะอาด สร้างมลพิษจากการเผาไหม้ต่ํา ทําให้สามารถประกอบอาหารที่มีสารพิษตกค้าง
ในอาหารประเภทปิ้ ง ย่ า งต่ํ า นอกจากนั้ น ถ่ า นยั ง เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี ค่ า พลั ง งาน
ต่อน้ําหนักสูง สามารถเก็บรักษาได้ง่ายกว่าไม้ฟืน
การผลิ ต ถ่ า นหรื อ การเผาถ่ า น เป็ น เหมื อ นเวทมนต์ ท างขบวนการเคมี
(Carbonization) ที่เปลี่ยนท่อนไม้ให้กลายเป็นถ่านสีดํา โดยวิธีการทั้งหมดเราเพียง
จัดสภาวะ ที่เหมาะสม ให้ความร้อนเริ่มต้น ป้อนอากาศ จากนั้นความร้อนจากตัวของ
ไม้ฟืนเอง จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นถ่าน แต่อย่างไรก็ตามการเผาถ่านเพื่อให้ได้ถ่าน
ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการนําไปใช้งาน ก็จําเป็นต้องมีทักษะและความเข้าใจ เพื่อใช้
ในการสร้างเตา และใช้งานเตา ที่เหมาะสมกับชนิดของไม้และถ่านที่ต้องการ
เตาเผาถ่านได้มีการพัฒนามาโดยตลอด มีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ
ขนาด ขบวนการเผาและคุณสมบัติของถ่านที่ต้องการ เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรนั้น
ได้ รั บ ความนิ ย มในช่ ว งไม่ กี่ ปี ม านี้ นอกจากเงื่ อ นไขการส่ ง เสริ ม ที่ เ หมาะสมแล้ ว
คุณสมบัติเฉพาะตัวของเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเผา
แบบฝังกลบ อีกทั้งยังได้ถ่านที่สม่ําเสมอทั่วทั้งเตา และการเผาก็สะดวก ระยะเวลาสั้น
จึงเป็นเตาที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการผลิตถ่านใช้ในระดับครัวเรือน
ซึ่งไม่เป็นการยากที่จะเป็นเจ้าของเตา และผลิตถ่านใช้เองในราคาประหยัด
จากไม้หัวไร่ปลายนา ขอต้อนรับสู่ การเริ่มต้นเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาด แบบยั่งยืน
ด้วยลําแข้งของตนเอง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 1
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2. ประเภทเตาเผาถ่าน
2.1 เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร
เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร มีรูปแบบอยู่สองชนิดด้วยกัน คือเตาเผาถ่าน
แบบแนวตั้ง และเตาเผาถ่านแบบแนวนอน ดังนี้
ก) เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบตั้ง

รูปที่ 1 เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง

เป็ น เตาเผาถ่ า น ที่ ดั ด แปลงใช้ ถั ง 200 ลิ ต รเป็ น ตั ว เตา มี ป ล่ อ งควั น ออก


3 ปล่อง และปล่องเร่งที่ใช้ในช่วงติดไฟ อีก 1 ปล่อง ดังรูปที่ 1 เตาชนิดนี้ใช้เวลาเผาสั้น
คือ ประมาณ 10 ชม. และปล่อยให้ถ่านเย็นตัวอีกประมาณ 10 ชม. เตาเผาถ่าน
200 ลิตรแบบตั้งได้รับความนิยม จากการที่ตัวเตาถูกสร้างขึ้นจากเหล็ก โดยเชื่อมต่อ
เป็นชิ้นเดียวกัน สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก นอกจากนี้ยังลดการยารอยต่อ ทําให้ใช้
งานสะดวกขึ้น ประสิทธิภาพการเผาพอใช้ ประมาณ 16-20 % สามารถเก็บน้ําส้มควัน
ไม้ได้

2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ข) เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบนอน

รูปที่ 2 เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบนอน

เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบนอน ดังรูปที่ 2 เป็ นเตาเผาถ่านที่ มี


ประสิ ทธิภาพสูงโดยอาศัย ความร้อนไล่ความชื้น ในเนื้อไม้ ที่มีอ ยู่ในเตาเพื่อทํา ให้ไ ม้
กลายเป็นถ่านหรือเรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น โครงสร้างปิดของถังทําให้
ควบคุมปริมาณอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ผลผลิตที่ได้จึงเป็นถ่านที่มี
คุณภาพและมีขี้เถ้าน้อย ประสิทธิภาพการเผาดี ผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่าน
อีกอย่างหนึ่งคือ น้ําส้มควันไม้ ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรได้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 3
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2.2 เตาเผาถ่านแบบเผาแกลบ

รูปที่ 3 เตาเผาถ่านแบบเผาแกลบ

เตาเผาถ่านแบบเผาแกลบ ดังรูปที่ 3 เป็นเตาเผาถ่านที่มีมานานหลายร้อยปี


ถือว่าเป็นเตาเผาถ่านแบบแรกก็ว่าได้ และเป็นเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพต่ํา และได้
คุณภาพถ่านต่ําสุด เนื่องจากเผาถ่านแบบนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก แค่มีไม้ และแกลบก็
สามารถเผาถ่ านได้ โดยจั ดวางไม้แ ล้วถมด้ว ยแกลบ หลังจากนั้ นจุด แกลบให้ ติดไฟ
ความร้อนจากแกลบจะทําให้ไม้กลายเป็นถ่าน ไม่มีการควบคุมอากาศ การยุติการเผา
ถ่านต้องอาศัยน้ําดับ ซึ่งมีผลเสียต่อคุณภาพถ่าน ขนาดความจุของเตาเผาถ่าน มีขนาด
0.2 – 8 ลบ.ม. เตาเผาถ่านแบบนี้มีประสิทธิภาพต่ําประมาณ 12 – 16 % รวมทั้งถ่าน
ที่ได้มีคุณภาพต่ํา

4 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2.3 เตาเผาถ่านแบบดินเหนียวก่อ

รูปที่ 4 เตาเผาถ่านแบบดินเหนียวก่อ

เตาเผาถ่ า นแบบดิ น เหนี ย วก่ อ ดั ง รู ป ที่ 4 เป็ น เตาที่ ถู ก พั ฒ นาขึ้ น มาอี ก


ระดับหนึ่ง โดยการขุดหลุมลงไปในพื้นดินแล้วอาศัยดินเหนียวก่อให้เป็นอุโมงค์รูปทรง
คล้ายโดม เพื่อเป็นหลังคาเตา ซึ่งวิธีการเผาได้แยกไม้ที่จะเผาให้เป็นถ่าน ให้อยู่ในตัวเตา
ส่ว นไม้ เ ชื้อ เพลิง แยกออกต่ า งหาก ซึ่ งเป็ นเตาที่ ส ามารถเผาถ่ า นได้ ห ลายๆ ครั้ ง
และเป็นที่นิยมในเขตชนบทแถบเอเชีย ความจุของเตาชนิดนี้ 0.5 – 5 ลบ.ม. โดยมี
ประสิทธิภาพของการเผาถ่านพอใช้ ประมาณ 15 – 18 %

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 5
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2.4 เตาเผาถ่านแบบอิฐก่อ

รูปที่ 5 เตาเผาถ่านแบบอิฐก่อ
เตาเผาถ่านแบบอิฐก่อ ดังรูปที่ 5 เป็นเตาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเตาดินเหนียว
ก่ อ อี ก ระดั บ หนึ่ ง โดยกรมป่ า ไม้ เตาเผาถ่ า นประเภทนี้ ตั ว เตาจะวางบนพื้ น ดิ น
ห้องเชื้อเพลิงจะก่อยื่นออกมาจากตัวเตาเล็กน้อย ตัวเตาจะมีปล่องควัน อยู่ 3 ปล่อง
และมีรูเร่งอยู่บนตัวเตา ใช้ระยะเวลาในการเผาถ่านสั้น ประสิทธิภาพสูง ประมาณ
30-40 % ความจุของเตามีขนาดตั้งแต่ 2 ลบ.ม. ขึ้นไป

6 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2.5 เตาเผาถ่านแบบอิวาเตะ

รูปที่ 6 เตาเผาถ่านแบบอิวาเตะ
เตาอิวาเตะจัดอยู่ในประเภทเตาดินเหนียวเผา สร้างได้โดยใช้วัตถุดิบราคาถูก
ในท้องถิ่นและผลิตถ่านคุณภาพสูงได้อย่างไม่มีที่เปรียบ ต้นแบบของเตามาจากเมือง
อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ดังรูปที่ 6 การเผาถ่านของชาวญี่ปุ่นมีประวัติที่เก่าแก่มาก และ
เตาอิวาเตะก็เป็นเตาดั้งเดิมในประเทศญี่ปุ่น เตาอิวาเตะนี้มีโครงสร้างถาวร และ
มี ข้ อ ได้ เ ปรี ย บในเรื่ อ งของการป้ อ งกั น การสู ญ เสี ย ความร้ อ น และการควบคุ ม
กระบวนการคาร์บอนไนเซชัน ได้ดีกว่าเตาประเภทอื่นๆ ที่เป็นเตาดิน การลงทุนอยู่ใน
ระดับต่ํา แต่สามารถผลิตถ่านที่มีคุณภาพสูงกว่า
เตาโดยทั่วไป เมื่อทําการเผาถ่าน ไม้ส่วนมากที่อยู่บริเวณปากเตาจะไหม้
กลายเป็นเถ้าและถ่านคุณภาพต่ํา แต่ไม้ที่อยู่ตรงกลางและท้ายเตาจะกลายเป็นถ่านที่มี
คุณภาพดี ดังนั้น เตาจึงมีรูปร่างยาวและท้ายเตากว้างกว่าหน้าเตา ส่วนพื้นเตาจะ
ลาดเอียงไปทางท้ายเตาเล็กน้อย ทําให้มีการไหลเวียนแก๊สร้อนทั่วทั้งเตา กระบวนการ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 7
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

คาร์บอนไนเซซัน เริ่มจากบนสุดของเตาลงไปที่ก้นเตา ดังนั้น จึงต้องบรรจุไม้ในเตาโดย


ตั้งให้โคนไม้ขึ้นบน ปลายลงล่าง การเดินทางของความร้อน (pyrolysis travels) ในไม้
จะง่ายขึ้น ที่ก้นเตามีไม้ที่เรียงไว้สําหรับให้กระบวนการคาร์บอนไนเซซัน ในไม้ทั้งหมด
เป็นไปอย่างสมบูรณ์และผลิตถ่านคุณภาพสูงออกมา
ข้อดีของเตาอิวาเตะ คือ เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูงประมาณ 25 – 30 %
สามารถเผาถ่านได้ทีละมาก ๆ ได้ถ่านที่ให้ค่าความร้อนสูง ใช้ปริมาณเชื้อเพลิงในการ
เผาถ่านน้อย สามารถควบคุมการเผาไหม้ได้ สามารถเก็บน้ําส้มควันไม้ทีท่มี ีคุณภาพได้

เตาเผาถ่านคุณภาพสูง อิวาเตะ
ปล่องควัน
(Iwate Kiln)
(chimney)

อิฐ
(brick) อิฐทนไฟ
(refractory brick)
ดิน
(soil) ดินเหนียว
(clay)

รูปที่ 7 โครงสร้างเตาเผาถ่านแบบอิวาเตะ

8 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2.6 เตาโยชิมูระ

รูปที่ 8 เตาเผาถ่านแบบเตาโยชิมรู ะ
เป็ น เตาที่ ส ามารถเผาถ่ า นได้ เ ร็ ว ประสิ ท ธิ ภ าพและคุ ณ ภาพถ่ า นสู ง
เตาประเภทนี้จะให้ความร้อนเข้าสู่ตรงกลางตัวเตา ทําให้ความร้อนกระจายได้ทั่วทั้งเตา
จะทําให้ไม้กลายเป็นถ่านพร้อมๆ กันทั้งเตา เตาโยซิมูระนี้ ตัวเตาจะตั้งอยู่กับพื้นดิน
และจะมีแผ่นตะแกรงเหล็กที่แข็งแรงวางอยู่สูงจากพื้นเตาเล็กน้อยเพื่อให้เกิดช่องว่างให้
อากาศไหลหมุนเวียนได้สะดวก ตัวเตาจะมีผนังเตาเป็น 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐและดินเหนียว
ตรงกลางระหว่างผนังเตาทั้งสองเป็นดินทราย ทําหน้าที่เป็นฉนวน หลังคาเตาทําด้วย
เหล็กแผ่นม้วนเป็นกรวยคว่ํา สามารถยกเข้าออกได้ ตัวเตาจะมีปล่องควันอยู่ 4 ปล่อง
เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง ประมาณ 25 - 30 % ใช้ระยะเวลาในการเผาถ่านสั้น
สามารถเผาถ่านได้ทีละมาก ๆ ได้ถ่านที่ให้ค่าความร้อนสูง ใช้ปริมาณเชื้อเพลิงในการ
เผาถ่านน้อย และยังสามารถควบคุมการเผาไหม้ได้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 9
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ตารางสรุป-เปรียบเทียบเตาเผาถ่านแต่ละประเภท
ประเภทเตาเผาถ่าน การก่อสร้าง การใช้งาน ถ่านที่ได้ การเก็บน้ําส้มควันไม้
1 ถัง 200 ลิตร แบบนอน สร้างง่าย วัสดุและเครื่องมือในการสร้างเตาหาง่าย ใช้ สะดวก ใช้ระยะเวลาในการเผาสั้น น้อยกว่า 6-8 ถ่านมีคุณภาพดี และได้ประสิทธิภาพ(yield)ดีพอใช้ ได้น้ําส้มควันไม้ที่มีคุณภาพดี
แรงงานและทักษะไม่มาก ชั่วโมง
2 ถัง 200 ลิตร แบบตั้ง สามรถสร้างโดยช่างท้องถิ่น ใช้การเชื่อมเหล็ก วัสดุหาได้สะดวก ใช้เระยะเวลาในการเผาสั้น น้อยกว่า 6-8 ถ่านมีคุณภาพดีพอใช้ และได้ประสิทธิภาพ(yield)ดี ได้น้ําส้มควันไม้คุณพภาพต่ํา
ไม่ยาก ชั่วโมง สามารถเคลื่อนย้ายเตาได้ง่าย พอใช้
3 เผาแกลบ สร้างง่าย ใช้วัสดุและเครื่องมือการเกษตรในการสร้างเตา ใช้ระยะเวลาในการเผาประมาณ 3 วัน สามารถ ถ่านมีคุณภาพไม่สม่ําเสมอ ประสิทธิภาพ(yield)ต่ํา การเก็บน้ําส้มควันไม้ ทําได้ยาก
ใช้แรงงานมาก ตัวเตาไม่ถาวร สร้างเตาตามแหล่งไม้ การดับถ่านอาจจําเป็นต้อง
ใช้น้ํา
4 ดินเหนียวก่อ สร้างง่าย ใช้วัสดุและเครื่องมือการเกษตรในการสร้างเตา สะดวก ใช้เวลาในการเผาประมาณ 5 วัน ถ่านมีคุณภาพไม่สม่ําเสมอ ประสิทธิภาพ(yield)ดี ได้น้ําส้มควันไม้คุณพภาพต่ํา
ใช้แรงงานมาก พอใช้
5 อิฐก่อ วัสดุและเครื่องมือในการสร้างเตาหาง่าย ใช้แรงงานที่มี สะดวก ใช้เวลาในการเผาประมาณ 5 วัน ถ่านมีคุณภาพไม่สม่ําเสมอ ประสิทธิภาพ(yield)ดี ทําได้ยาก/ได้น้ําส้มควันไม้คุณภาพต่ํา
ทักษะเฉพาะ สามรถสร้างเตาที่มีขนาดใหญ่มากได้ พอใช้
6 อิวาเตะ แบบเตามีรูปทรงซับซ้อน การขึ้นเตาต้องใช้ทักษะเฉพาะ สะดวก ใช้เวลาในการเผาประมาณ 7 วัน การควบ ได้ถ่านคุณภาพดีมาก ประสิทธิภาพ(yield)สูง ได้น้ําส้มควันไม้คุณภาพดีมาก
อากาศง่าย อายุการใช้งานนาน
7 โยชิมูระ ตัวเตาเป็นดินเหนียว ฝา(หลังคา) และพื้นเป็นโลหะที่ต้อง ใช้เวลาในการเผาประมาณ 5 วัน การลําเลียงไม้ ได้ถ่านคุณภาพดี ประสิทธิภาพ(yield)สูง ทําได้ยาก/ ได้น้ําส้มควันไม้คุณภาพดี
ใช้ช่างโลหะขึ้นรูป มีการสร้างท่ออากาศที่ซับซ้อน และถ่านเข้าทางฝาด้านบน ทําให้สะดวก

10 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3. เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
- เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบตั้ง
- เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบนอน
3.1 เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง
เตาเผาถ่านที่ทําจากถังน้ํามันขนาด 200 ลิตร จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า
เตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม ประมาณ 1.2 -1.5 เท่า โดยใช้ถังน้ํามันขนาด 200 ลิตร ที่เรา
สามารถพบเห็นทั่วไป เช่น ตามร้านขายน้ํามันแบบมือหมุน ทําเป็นเตาเผาถ่าน เตา
ประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่อยู อยู่ในเตา ทําให้กลายเป็นถ่าน เตาเผา
ถ่านแบบนี้มีข้อดีที่ตัวเตามีโครงสร้างแบบปิด ทําให้สามารถควบคุมอากาศได้ง่าย จึงไม่
มี ก ารลุ ก ติ ด ไฟของเนื้ อ ไม้ ผลผลิ ต ที่ ไ ด้ จึ ง เป็ น ถ่ า นที่ มี คุคุ ณ ภาพ มี ส ารก่ อ มะเร็ ง ต่ํ า
ขี้เถ้าน้อย และผลลงทุนน้อย (ไม่เกิน 500 บาท) เหมาะกับการใช้ช้งานในครัวเรือน
ก่อสร้ างเตาเผาถ่า นต้อ งเลือ กพื้น ที่ ที่เ ป็นที่ ดอนและโล่ง ควรอยู่ห่า งจาก
บ้านเรือนอย่างน้อย 50 เมตร จะมีหลังคาคลุมก็ได้ จะทําให้อายุการใช้ การใช้งานนานขึ
าน ้น ที่
สํ า คั ญ คื อ ต้ อ งปล่ อ ยควั น ออกสู่ ที่ โ ล่ ง ได้ ส ะดวก บริ เ วณรอบๆ ควรมี ต้ น ไม้ เ ยอะๆ
เพื่อดูดซับควัน ถ้าทํา เตาเผาถ่านแบบตั้ง ก็ใช้พื้นที่ประมาณ 2 x 2 เมตร ต่อเตา

รูปที่ 9 เตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 11
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3.1.1 วัสดุ-อุปกรณ์สาํ หรับก่อสร้างเตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบตั้ง

รูปที่ 10 วัสดุอุปกรณ์ในเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตรแบบตั้ง

12 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ลําดับ รายการ วัสดุ ขนาด จํานวน ราคา


(บาท)
1 ตัวเตา ถังน้ํามันเหล็กแบบมี 200 ลิตร 1 ใบ 350
เข็มขัดรัดฝา
2 ปล่องควัน ท่อเหล็กดํา เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว (ยาว 3 ม.) 1 ท่อน 180
3 ท่อควบแน่น ท่อเหล็กดํา เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว (ยาว 0.6 ม.) 1 ท่อน 60
4 ตะแกรง เหล็กเส้นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. ยาว 15 ม. 1 ชุด 350
ขึ้นรูปเป็นตะแกรง
5 ห้องเผาไหม้ เหล็กแผ่น 900 x 180 มม.หนา 1 มม. 1 แผ่น 100
เหล็กฉาก 1 นิ้ว x 1 นิ้ว (ยาว 0.5 ม.) 1 ท่อน 50
6 ประตูอากาศ เหล็กแผ่น 208 x 240 มม. หนา 1 มม. 1 แผ่น 40
รวม (บาท) 1,130

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 13
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

3.1.2 การก่อสร้างเตาเผาถ่าน 200 ลิตรแบบตั้ง


1. การทําปล่องควัน 3 ชุด

หน่วย : เซนติเมตร
รูปที่ 11 แบบขนาดท่อปล่องควัน
1.1) ตัดท่อเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาว 93 ซม.
1.2) ตัดท่อที่ได้เป็น 2 ชิ้น โดยการตัดมุม 45 องศา ที่ระยะ 15 ซม.
1.3) ทําการเชื่อมต่อท่อทั้งสองเข้าด้วยกัน ให้เป็นท่องอมุม 90 องศา
1.4) เจาะรูที่บริเวณท่อด้านล่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม.เพื่อเป็นช่อง
ระบายน้ําส้มควันไม้ และเชื่อมน๊อตตัวเมียเพื่อเป็นเกลียวสําหรับขันเปิดปิด
ระบายน้ําส้มควันไม้
1.5) ตัดท่อเหล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 20 ซม. สําหรับท่อควบแน่น
1.6) เชื่อมประกอบท่อควบแน่นกับปล่องควัน

14 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

2. การทําห้องเผาไหม้ และประตูอากาศ

หน่วย : มิลลิเมตร

รูปที่ 12 แบบขนาดห้องเผาไหม้
2.1) ตัดเหล็กแผ่น ขนาดกว้าง x ยาว 900 x 180 มม.
2.2) ร่างแบบบนแผ่นเหล็ก เพื่อพับขึ้นรูป ห้าเหลี่ยมตามแบบ
2.3) ทําการเชื่อมปิดแผ่นพับหกเหลี่ยม
2.4) ตัดเหล็กฉาก 1 นิ้ว ยาว 220 มม. 2 ชิ้น สําหรับร่องเลื่อนประตูอากาศ
2.5) ทําการเชื่อมเหล็กฉาก 1 นิ้ว กับ ห้องเผาไหม้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 15
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

หน่วย : มิลลิเมตร
รูปที่ 13 แบบขนาดประตูอากาศ

2.6) ตัดเหล็กแผ่น ขนาดกว้าง x ยาว 200 x 250 มม. สําหรับ ประตูอากาศ


และเชื่อมเหล็กเส้นเพื่อเป็นส่วนจับ

3. ตัวเตา
3.1) เจาะช่องระบายอากาศสําหรับปล่องควัน เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2 นิ้ว
จํานวน 3 ช่อง สูงจากฐานเตา 80 มม.
3.2) เจาะช่องอากาศเข้า รูปห้าเหลี่ยมบริเวณฐานเตาตามแบบรูปที่ 14 เพื่อ
จะทําเป็นช่องสําหรับจุดเผาถ่าน

16 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

หน่วย : มิลลิเมตร
รูปที่ 14 แบบขนาดประตูอากาศและตําแหน่งเจาะรูปล่องควัน
3.3) ใช้เหล็กฉาก 1 นิ้ว เชื่อมเป็นบ่ารับตะแกรง ด้านในถัง ที่ระยะสูง
จากก้นเตา 150 มม. ดังรูปที่ 15

ระดับตะแกรงภายในเตา

หน่วย : มิลลิเมตร
รูปที่ 15 แบบการติดตั้งปล่องควันเข้ากับตัวเตา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 17
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

3.4) ใช้เหล็กเส้น 9 มม. ขึ้นรูปตะแกรงตามแบบรูปที่ 16

หน่วย : มิลลิเมตร

รูปที่ 16 ตระแกรงเหล็กเส้น 9 มม.ขึ้นรูป

18 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

3.5) เจาะฝาถังเป็นช่องระบายอากาศ สําหรับปล่องเร่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง


ขนาด 2 นิ้ว 1 ช่อง เชื่อมท่อเหล็ก 2 นิ้ว ยาว 100 มม. ดังรูปที่ 17

หน่วย : มิลลิเมตร
รูปที่ 17 แบบเจาะฝาถังเตาเผาถ่าน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 19
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

4. การประกอบเตา
4.1) เชื่อมปล่องควันทั้ง 3 ปล่อง เข้ากับตัวเตา ดังรูปที่ 18

รูปที่ 18 การเชื่อปล่องควันเข้ากับตัวเตา

4.2) เชื่อมห้องเผาไหม้ เข้ากับตัวเตา ดังรูปที่ 19

รูปที่ 19 การเชื่อมห้องเผาไหม้เข้ากับตัวเตา

20 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

3.2 เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบนอน


3.2.1 ลักษณะเด่นของเตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบนอน

รูปที่ 20 ภาพรวมการผลิตถ่านจากเตาเผาถ่าน 200 ลิตร


โดยประมาณในการเผาถ่านด้วยเตา 200 ลิตรหนึ่งครั้ง จะใช้ไม้ฟืน (ไม้หมาด)
ที่จะเผาถ่าน 65 กก. ใช้เชื้อเพลิงหน้าเตา (เศษไม้) ในช่วงเริ่มจุดเตา 4 กก. ได้ผลผลิต
เป็นถ่าน 15 กก. หรือประมาณ 20 – 23 % ของน้ําหนักไม้ฟืนที่ใส่เข้าไป ได้ขี้เถ้า
0.08 กก. หรือประมาณ 0.12 % โดยน้ําหนักไม้ ปริมาณน้ําส้มควันไม้มากสุดที่สามารถ
เก็บได้ 3.5 ลิตร หรือ ( 5% โดยน้ําหนัก ) โดยทั้งขบวนการใช้เวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 21
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

วัตถุดิบในการเผา และอุปกรณ์ในการสร้างเตา
• วั ต ถุ ดิ บ ได้ ง่ า ยตามสภาพท้ อ งถิ่ น นั้ น ๆ โดยสามารถเผาถ่ า นจากไม้ ไ ด้
หลากหลายประเภท และเชื้อเพลิงหน้าเตาสามารถใช้เศษไม้หรือเศษวัสดุ
เหลือใช้ทางการเกษตร
• ลดการตัดต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โดยสามารถใช้ไม้โตไวที่มีขนาดเล็ก และไม้ที่
เกิ ด จากการตั ด แต่ ง กิ่ ง ไม้ ม าเผาถ่ า นได้ ทํ า ให้ เ กิ ด การสมดุ ล หมุ น เวี ย น
ทรัพยากร
• อุปกรณ์ประกอบเตาสามารถประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องที่ หรือหาซื้อได้
ตามร้านขายเครื่องก่อสร้างทั่วไป
• ลงทุนน้อย เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน

การใช้งานเตา และการดูแลรักษาเตา
• ใช้เวลาในการเผาจนได้ถ่านสั้น คือ ภายใน 24 ชั่วโมง
• เตา มีส่วนควบคุมปริมาณอากาศ ในการเผาไหม้ตามช่วงเวลาได้ตามต้องการ
• ใช้เชื้อเพลิงหน้าเตา ในการเริ่มต้นเผาถ่านน้อย
• สามารถใช้แรงงานคน เพียงคนเดียวในการเผา โดยเมื่อมีความชํานาญแล้ว
สามารถทํางานอื่นร่วมไปด้วย โดยมาดูแลเตาเป็นระยะๆ
• ตัวเตาดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานนาน สามารถเผาถ่านได้ประมาณ 100
ถึง 150 ครั้ง หรือ ประมาณ 2 ถึง 3 ปี
ผลผลิต
• ได้ถ่านที่สะอาด ดีต่อสุขภาพเมื่อนําไปใช้ในการหุง ต้ม ปิ้ง ย่าง เพราะถ่าน
ที่ได้มีปริมาณน้ํามันดิน (ทาร์) ต่ํา
• ได้ถ่านที่มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอนสูง ทําให้ค่าพลังงานต่อน้ําหนักสูง
• ได้ปริมาณผลผลิตถ่านสูง (ประมาณ 20 – 23 % โดยน้ําหนักไม้ฟืน)
• ได้ผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากถ่าน คือ น้ําส้มควันไม้

22 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3.2.2 วัสดุ-อุปกรณ์สาํ หรับก่อสร้างเตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบนอน

รูปที่ 21 วัสดุ-อุปกรณ์สําหรับก่อสร้างเตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบนอน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 23
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ลําดับ รายการ วัสดุ ขนาด จํานวน ราคา


(บาท)
1 ตัวเตา ถังน้ํามันเหล็ก 200 ลิตร 1 ใบ 350
2 ปล่องควัน ท่อซีเมนต์ใยหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร 1 ท่อน 30
3 ข้องอปล่องควัน ท่อซีเมนต์ใยหิน ข้องอ 90 องศา เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 4 นิ้ว 1 อัน 30
4 ผนังฉนวนเตา กระเบื้อง,สังกะสี,ไม้ 1.2 x 1.2 เมตร 3 แผ่น -
5 ผนังฉนวนหน้าเตา กระเบื้อง,สังกะสี,ไม้ 1.2 x 1.2 เมตร 1 แผ่น -
6 เสาค้ํายังผนังฉนวนเตา ไม้ เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 3 นิ้ว ยาว1.2 เมตร 8 ท่อน -
7 ห้องเผาไหม้ อิฐบล็อก 40 ซม.x 19 ซม.x 7 ซม. 5 ก้อน 20
8 ฉนวนตัวเตา ดิน หรือ ทราย 0.7 คิว 0.7 คิว -
9 ท่อเก็บน้ําส้มควันไม้ ไม้ไผ่เจาะทุลุปล้อง เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 5 นิ้ว ยาว 5 เมตร 1 ลํา -
10 ภาชนะใส่น้ําควันส้มไม้ ขวดพลาสติก 4 ลิตร 1 ขวด -
11 ดินยาแนว ดินเหนียว ขี้เถ้า 1 ถัง -
รวม (บาท) 430

24 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3.2.3 การก่อสร้างเตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบนอน
การเลือกสถานที่ก่อสร้างเตา
• ควรเป็นที่ดอน ไม่อยู่ในบริเวณทางน้ําเมื่อฝนตก
• พื้นที่ ที่ต้องการในการติดตั้งเตาเผาถ่าน ประมาณ 1 x 2 เมตร
• ทิศทางลมไม่รบกวนที่อยู่อาศัย
• ควรอยู่ห่างไกลจากบ้านเรือนประมาณ 50 เมตร เพื่อไม่ให้ควัน
รบกวนผู้อยู่อาศัย
• ควรอยู่ใกล้แหล่งไม้ฟืน หรือแหล่งวัตถุดิบ

การเตรียมตัวถังน้ํามัน 200 ลิตร


1 ใช้หินเจียรมือ เจียรขอบปากถังน้ํามัน 200 ลิตร เพื่อเปิดฝาถัง 1 ด้าน
โดยเลือกเปิดฝาถังด้านที่มี ช่องเกลียวเปิดสาร
2 ร่างแบบ หรือ เขียนแบบลงบนฝาถังน้ํามัน 200 ลิตร ขนาด 20 x 20 ซม.
ดังรูปที่ 22 พยายามให้ช่องเปิด ตัดรวมส่วนที่เป็น จุกพลาสติก เจาะฝาถังด้วย
หินเจียรมือ หรือเลื่อยจิกซอร์ ตามแบบที่ร่าง

รูปที่ 22 ตําแหน่งและขนาดการเจาะฝาถัง
3 เจาะรูอีกด้านหนึ่งของถังน้ํามัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว เพื่อใส่
ข้องอ ดังรูปที่ 23 จากนั้นเจาะรูระบายน้ําขนาด 1 นิ้ว ที่มุมด้านนอกข้องอ 90 องศา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 25
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

รูปที่ 23 ตําแหน่งการใส่ท่อซีเมนต์ใยหิน
การติดตั้งเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
1.การประกอบตัวเตา
1 ปรับพื้นให้เสมอ ติดตั้งเสาค้ํายัน สําหรับประคองผนังฉนวนเตาด้านนอก
ดังรูปที่ 24 โดยตอกเสาให้มีระยะห่าง 80 x 80 เซนติเมตร วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลาง
ของเสาค้ํายัน

รูปที่ 24 การติดตั้งเสาค้ํายันและผนังฉนวนเตา

26 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

รูปที่ 25 ตําแหน่งการวางตัวเตาเผาถ่าน

2 นําตัวเตาที่เจาะทั้งด้านหน้าและด้านท้ายของเตาเสร็จแล้ว มาวางไว้ตรง
กลางระหว่างเสาค้ํายันดังรูปที่ 25 โดยให้รูกลมที่เจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว
อยู่ด้านล่าง และรองด้านเปิดถังด้วยอิฐแดง เพื่อให้ถังมีความเอียง สามารถระบายน้ําใน
ในระหว่างการเผาถ่าน
3 นําผนังฉนวนเตาด้านนอกมาวางแนบกับเสาค้ํายันให้ตั้งฉากด้านข้าง
ทั้ง 2 ด้าน โดยมีระยะห่างประมาณ 10 เซนติเมตรวัดจากขอบตัวเตาที่ยื่นออกมา
นอกสุดถึงผนังฉนวนเตาด้านใน ด้านหลัลังยังไม่ต้องปิด แล้วเทดินประคองด้านข้างตัว
เตาพอประมาณ เพื่อไม่ให้ตัวเตาขยับเขยื้อน

ก) ข)
รูปที่ 26 ก) การติดตั้งท่อปล่องควัน ข) การเชื
เชื่อมประสานรอยต่อโดยดินเหนียว

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 27
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
4 ประกอบข้องอ 90° กับรูที่เจาะไว้ที่ถัง ประกอบท่อตรงซีเมนต์ใยหิน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 100 เซนติเมตร สวมเข้ากับข้องอ 90°
90 ที่ประกอบไว้
ท้ายเตา ดังรูปที่ 26 ก)
5 ประสานรอยต่อระหว่างตัวเตา ข้องอ 90° และปล่องควันให้สนิท
ดังรูปที่ 26 ข) เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศรั่วเข้าเตา
6 ปิดผนังฉนวนเตาด้านหลัง โดยให้ผนังฉนวนเตาด้านหลังห่างจากข้อ
งอประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตักดินหรือทรายที่เตรียมไว้ เทลงในช่องระหว่างตัวเตา
และผนังฉนวนเตาทั้ง 3 ด้านพอประมาณ ดังรูปที่ 27 เพื่อประคองข้องอ 90° กับ
ปล่องควันท้ายเตา และเพื่อเป็นฉนวนให้กับตัวเตา

รูปที่ 27 การใส่ดินหรือทรายโดยรอบตัวเตา

7 ประกบหน้าเตา เพื่อป้องกันไม่ให้ฉนวนดินหรือทรายหน้าเตาพังลงมา
โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาไว้เพื่อปิด/เปิ
เปิดฝาได้สะดวก โดยไม่ต้องรื้อเตาใหม่อีกครั้ง
8 ตัดไม้สด เพื่อนํามาทําเป็นหมอนหนุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3
เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร จํานวน 3 ท่อน วางขวางด้านล่างของ
ตัวเตา โดยมีระยะที่ห่างกัน ดังรูปที่ 28 ทั้งนี้เพื่อให้มีการไหลเวียนของลมร้อนภายใน
เตาได้

28 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
งา กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

รูปที่ 28 ลักษณะตําแหน่งการวางไม้สดเพื่อทําหมอนหนุน

2.การเตรียมไม้ฟืนที่จะเผาถ่าน

รูปที่ 29 ลักษณะของไม้ฟืนขนาดต่างๆ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 29
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
1 ตัดให้เป็นท่อนยาวประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อให้พอดี
พอดีกับความยาวเตา
นําไม้ที่ตัดไว้ผึ่งตากแดดให้หมาดๆ (ไม้
ไม้สดให้ตัดแล้วนําไปวางผึ่งแดดไว้ประมาณ
15 วัน) ขนาดความโตไม่ค วรมีเ ส้น ผ่า นศูน ย์ก ลาง เกิน 2 นิ้ว และไม้ค วรมีข นาด
ใกล้เคียงกัน

จัดแยกกลุม่ ตามขนาดความเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่


 ขนาดเล็ก
 ขนาดกลาง
 ขนาดใหญ่

รูปที่ 30 ลักษณะการเรียงไม้เข้าเตาที่เรียบร้อยแล้ว

2 เรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา โดยวางทับไม้หมอนหนุน โดยใส่


ปลายไม้ด้านเล็กเข้าไปข้างในเตา ปลายไม้ด้านโตกว่าจะอยู่ด้านหน้าเตา ดังรูปที่ 30
***การเรี
การเรียงไม้นี้มคี วามสําคัญมากเพื่อให้ไม้ทุกขนาดกลายเป็นถ่านพร้อมๆกัน
เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมดิ ้านล่างของเตาจะต่ํา ส่วน
อุณหภูมดิ ้านบนจะสูง

30 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
งา กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3. ขั้นตอนประกอบหน้าเตา

รูปที่ 31 การปิดฝาหน้าเตา

1 เมื่อบรรจุไม้เข้าไปในเตาจนเต็มแล้ว ปิดฝาหน้าเตาที่เจาะรูไว้ขนาด
20 x 20 เซนติเมตร โดยให้ด้านที่เจาะช่องเปิดไว้อยู่ด้านล่าง ดังรูปที่ 31
2 นําดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบที่เตรียมไว้ประสานรอยต่อระหว่างตัวเตา
กับฝาหน้าเตาให้สนิท ป้องกันการเกิดรอยรั่ว เพราะถ้าอากาศเข้าไปในเตาจะทําให้ถ่าน
ไหม้จนหมด
3 นําฉนวนดินหรือทรายมากลบหลังเตา และรอบตัวเตาให้มิด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 31
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

รูปที่ 32 การประกอบอิฐบล็อกหน้าเตา

4 ประกอบช่องใส่ไฟหน้าเตา โดย
4.1 นําอิฐบล็อก วางตั้งตามแนวยาวบนพื้นหน้าเตา ขนานสองข้าง ข้างละ
1 ก้อน โดยเว้นระยะให้พอดีกับขอบช่องที่เจาะเอาไว้บนฝาหน้าเตา
4.2 นําอิฐบล็อกอีก 2 ก้อนวางทับด้านบนของอิฐที่ตั้งไว้ โดยวางต่อกันใน
แนวราบ ดังรูปที่ 32
5 นําดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบที่เตรียมไว้มาประสานรอยต่อระหว่างฝา
หน้าเตากับอิฐบล็อกและรอยต่อระหว่างอิฐบล็อกทั้ง 4 ก้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
รอยรั่ว

32 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
งา กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
4. ขัน้ ตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร
4.1 ขั้นตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบตั้ง
การเรียงไม้เข้าเตา

รูปที่ 33 ลักษณะการเรียงไม้เข้าเตา

 ไม้ ที่ เ ผาควรเป็ น ไม้ ห มาด หรื อ ตากแดดหลั ง จากตั ด จากต้ น ประมาณ
2 อาทิตย์ การใช้ไม้สดจะทําให้เสียเชื้อเพลิงหน้าเตามาก และใช้ระยะเวลาใน
การเผาค่อนข้างนาน
 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไม้ไม่ควรเกิน 2 นิ้ว หากมีไม้ใหญ่ควรทอนให้
ขนาดเล็กลงก่อน และไม้ที่เผาในแต่ละเตาควรมีขนาดใกล้เคียงกัน
 การเรี ยงไม้ ใ ห้เ รี ย งไม้ แ นวตั้ง โดยไม้ ที่ มี ข นาดใหญ่ใ ห้ เ รี ยงในบริเ วณใกล้
ปากทางอากาศเข้า ดังรูปที่ 33 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 33
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
1) ช่วงที่ 1 ช่วงไล่ความชื้น หรือคายความชื้น (Dehydration)

รูปที่ 34 ควันสีขาวขุ่น ช่วงไล่ความชื้น

 เปิดใช้ปล่องควันทั้งสามปล่อง และปล่องเร่ง โดยจัดตําแหน่งปล่องเร่งให้อยู่ตรงกัน


ข้ามกับช่องอากาศเข้า เปิดช่องระบายน้ําส้มที่ด้านล่างของปล่องควันทั้งสาม
 เริ่มทําการจุดไฟเตา บริเวณหน้าเตาที่ห้องเผาไหม้พยายามให้เปลวไฟ อยู่ที่บริเวณ
ช่องใส่ไฟหน้าเตา อย่าให้ลามเข้าไปในตัวถัง ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
โดยอุณหภูมิปากปล่องจะค่อยๆ ขึ้น จนถึงประมาณ 75 องศาเซลเซียส ลักษณะ
ของควันจะมีสีขาวขุ่นคล้ายไอน้ํา ดังรูปที่ 34

ควันบ้า
เมื่อความชื้นของไม้ใกล้หมด ขบวนการเผาจะเปลี่ยนผ่านไปช่วงที่ 2 สังเกตได้โดยควัน
ที่ออกมาจากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติและมีสีขาวขุ่นปรากฏการนี้เรียกว่า
การเกิดควันบ้า

34 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
2) ช่วงที่ 2 ไม้เริม่ กลายเป็นถ่านหรือปฏิกิริยาคายความร้อน
( Exothermic Reaction )

รูปที่ 35 การเก็บน้ําส้มควันไม้
 เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่งควันสีขาวจะเริ่มบางลงและเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเหลือง
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 80 - 85 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิ
ภายในเตาประมาณ 300 - 400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตาจะคายความร้อน
เพียงพอที่จะทําให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นเองได้ ช่วงนี้จะค่อยๆ ลดการป้อน
เชื้อเพลิงหน้าเตาลงจนหยุดป้อนเชื้อเพลิง หรี่ช่องอากาศเข้าให้เหลือพื้นที่ 1 ใน 4
และปิดปล่องเร่ง ด้านบนฝาเตา
 ให้ทําการเริ่มเก็บน้ําส้มควันไม้ โดยการ ใช้ภาชนะรองด้านล่างของช่องระบาย
น้ําส้มควันไม้ของแต่ละปล่อง ดังรูปที่ 35 ให้หมั่นเติมน้ําที่ปลายปล่องท่อควบแน่น
เมื่ อ น้ํ า พร่ อ งลงหรื อ น้ํ า มี อุ ณ หภู มิ สู ง เพื่ อ จะได้ ป ริ ม าณน้ํ า ส้ ม ควั น ไม้ ม ากขึ้ น
โดยช่วงที่เหมาะสมที่จะเริ่มเก็บน้ําส้มควันไม้ได้ดีที่สุดนั้น จะมีอุณหภูมิปากปล่อง
ควันประมาณ 82 – 120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับ
ออกมา น้ําส้มควันไม้ที่ได้จะมีสีเหลืองอ่อนคล้ายน้ําชา จากนั้นอุณหภูมิปากปล่อง
จะสูงขึ้นเกิน 120 องศาเซลเซียส น้ําสมควันไม้ที่เก็บได้จะเริ่มมีน้ํามันทาร์เป็นจุด
สีดําเล็กๆ ปนอยู่ ให้หยุดเก็บน้ําส้มควันไม้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 35
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
 หลังจากหยุด เก็บน้ําส้มควั นไม้ ให้สังเกตควันที่ออกจากแต่ละปล่ องควัน หาก
ปล่องไหนมีควันจางหรือควันมีสีฟ้า ให้ปิดหรือหรี่ปากปล่องปล่องนั้นก่อนและ
ไล่ไปที่ละปล่องจนครบทุกปล่อง
3) ช่วงที่ 3 ช่วงทําถ่านให้บริสุทธิ์ ( Refinement )
 ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ทั้งหมดหรือการทําถ่านให้
สุกทั่วถึง ซึ่งจะต้องเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดปล่องทั้งสาม รวมทั้ง
ปล่ อ งเร่ งที่ ด้ า นบนฝาเตา ให้ เ ปิ ด หน้า เตาประมาณ 1 ใน 2 หรื อ 50% ของ
หน้าเตา ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
 ให้เฝ้าสังเกตดูควันที่ปล่องควันจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าใส แสดงว่าไม้ภายในเตาเริ่มจะ
กลายเป็นถ่านหมด จากนั้นควันสีฟ้าก็จะอ่อนลง ยางไม้ที่เกาะอยู่บริเวณปาก
ปล่ อ งด้ า นในจะแห้ ง ช่ ว งนี้ อุ ณ หภู มิ ภ ายในเตาจะสู ง มาก คื อ ประมาณ 500
องศาเซลเซียส ในที่สุดควันสีฟ้าก็จะหมดไปและกลายเป็นควันใส ซึ่งแสดงว่าไม้ที่
อยู่ในเตาได้กลายเป็นถ่านบริสุทธิ์หมดแล้ว

4) ช่วงที่ 4 ช่วงการทําให้ถ่านในเตาเย็นลง ( Cooling )

รูปที่ 36 ตัวเตาที่เย็นลงจะมีควันน้อย

36 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
 เมื่อสีควันทุกปล่องใสให้ทําการปิดเตาโดยเริ่มทําการปิดหน้าเตาก่อน ใช้ดินเหนียว
ปิดรอยรั่ว จากนั้น ก็ทําการปิดปล่องควันให้สนิททุกปล่อง รวมทั วมทั้งปล่องเร่ง และ
ขัน ปิ ดช่ อ งระบายน้
ายน้ํ าส้ ม ควั น ไม้ ข องแต่ ละปล่อ ง อุ ด รูรั่ ว ทั้ งหมดอย่ าให้ อากาศ
ภายนอกซึมผ่านเข้าไปภายในเตาได้
 รอจนถ่านในเตาอุณหภูมิเย็น (ต่ํากว่า 50 องศาเซลเซียส) ซึ่งใช้เวลาประมาณ
4 ชั่วโมง ก็เปิดฝาเตาเพื่อเก็บถ่านได้
4.2 ขั้นตอนการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านแบบถัง 200 ลิตร แบบนอน
1) ช่วงที่ 1 ช่วงไล่ความชื้น หรือคายความชื้น (Dehydration)

รูปที่ 37 ลักษณะการจุดไฟบริเวณหน้าเตา
 เริ่มทําการจุดไฟเตา บริเวณหน้าเตาที่ห้องเผาไหม้ พยายามอย่าให้เปลวไฟอยู
ปลวไฟ ่ที่
บริเวณช่องใสไฟหน้าเตา อย่าให้ลามเข้าไปในตัวถัง ดังรูปที่ 37
 ค่อยๆ ใส่เชื้อเพลิง ความร้อนจะกระจายเข้าไปสู่ในตัวเตาเพื่อไล่อากาศเย็
ากา น และ
ความชื้นที่อยู่ในเตา ช่วงนี้ควันที่ออกมาตรงปล่องควันจะเป็นควันสีขาวอุณหภูมิ
บริเวณปากปล่องควันประมาณ 55 – 60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในเตา
ประมาณ 150 องศาเซลเซี ยส ควั น จะมี กลิ่ น เหม็ น ซึ่ งเป็ นกลิ่ นกรดประเภท
เมธานอล ที่อยู่ในเนื้อไม้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 37
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
 ค่อยๆ ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ
บริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 – 75 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในเตา
ประมาณ 200 - 250 องศาเซลเซียส (ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง )

ควันบ้า
เมื่อความชื้นของไม้ใกล้หมด ขบวนการเผาจะเปลี่ยนผ่านไปช่วงที่ 2 สังเกตได้โดยควัน
ที่ออกมาจากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติและมีสีขาวขุ่น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า
การเกิดควันบ้า
2) ช่วงที่ 2 ไม้เริม่ กลายเป็นถ่านหรือปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic Reaction)

รูปที่ 38 การปรับช่องอากาศหน้าเตา

38 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
 เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่งควันสีขาวจะเริ่มบางลงและเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเหลือง
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 80 - 85 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ
ภายในเตาประมาณ 300 - 400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตาจะคายความร้อน
เพียงพอที่จะทําให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นเองได้ ช่วงนี้จะค่อยๆ ลดการป้อน
เชื้อเพลิงลงจนหยุดป้อนเชื้อเพลิง

รูปที่ 39 ลักษณะการเก็บน้ําส้มควันไม้

 หลังจากหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่ช่อง
อากาศหน้าพื้นที่หน้าเตาประมาณ หนึ่งในสี่ของช่องอากาศ ดังรูปที่ 38 สําหรับให้
อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด เพื่อยืดระยะเวลา
การเก็บน้ําส้มควันไม้ให้นาน และมากที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมที่จะเริ่มเก็บน้ําส้ม
ควันไม้ได้ดีที่สุดนั้น จะมีอุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 82 – 120
องศาเซลเซียส เนื่องจาก เป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา น้ําส้มควันไม้ที่
ได้จะมีสีเหลืองอ่อนคล้ายน้ําชา จากนั้นอุณหภูมิปากปล่องจะสูงขึ้น น้ําสมควันไม้
ที่เก็บได้จะเริ่มมีน้ํามันทาร์ เป็นจุดสีดําเล็กปนอยู่ ให้หยุดเก็บน้ําส้มควันไม้โดยการ
ยกท่อไม้ไผ่ออกจากปล่องเตา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 39
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
3) ช่วงที่ 3 ช่วงทําถ่านให้บริสุทธิ์ ( Refinement )

รูปที่ 40 การปรับช่องอากาศหน้าเตา

 ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่จะต้องให้ความสําคัญ และความชํานาญเป็นพิเศษ
ถ้าดูแลไม่ดีจะส่งผลให้ถ่านในเตากลายเป็นขี้เถ้าสูงได้ ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะ
เปลี่ยนเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ทั้งหมด หรือการทําถ่านให้สุกทั่วถึง ซึ่งจะต้องเพิ่ม
อุ ณ หภู มิ อ ย่ า งรวดเร็ ว โดยการเปิ ด หน้ า เตาประมาณ 1 ใน 2 หรื อ 50%
ของหน้าเตาดัง รูปที่ 40 โดยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
 ให้เฝ้าสังเกตดูควันที่ปล่องควันจะเปลี่ยนจากควันสีน้ําเงินเป็นควันสีฟ้า แสดงว่า
ไม้ภายในเตาเริ่มจะกลายเป็นถ่านหมด จากนั้นควันสีฟ้าก็จะอ่อนลง ยางไม้ที่เกาะ
อยู่บริเวณปล่องด้านในจะแห้ง ช่วงนี้อุณหภูมิภายในเตาจะสูงมาก คือ ประมาณ
500 องศาเซลเซียส ในที่สุดควันสีฟ้าก็จะหมดไปและกลายเป็นควันใส ซึ่งแสดงว่า
ไม้ที่อยู่ในเตาได้กลายเป็นถ่านบริสุทธิ์หมดแล้ว

40 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

รูปที่ 41 การใช้ดินเหนียวเชื่อมเพือ่ ปิดหน้าเตา

 เมื่อเกิดควันใสให้เริ่มทําการปิดหน้าเตาก่อน โดยใช้ดินเหนียวปิ
ยวปิดรอยรั่ว และ
รอยต่อ จากนั้นก็ ทําการปิด ปล่องควั นให้สนิทและอุดรูรั่ วทั้งหมด ดังรูปที่ 41
อย่าให้อากาศภายนอกซึมผ่านเข้าไปได้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 41
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
4) ช่วงที่ 4 ช่วงการทําให้ถ่านในเตาเย็นลง ( Cooling )
เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตาเพื่อระบายความร้อนในเตา ดังรูปที่ 42
ก็ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนในการเผาถ่าน จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หรือประมาณ
8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อเอาถ่านออก
นําถ่านมาวางรียงในที่โล่งแจ้งประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ถ่านกลับติดลุก
เป็นไฟ แล้วจึงบรรจุใส่ภาชนะหรือกระสอบ

รูปที่ 42 การเกลี่ยดินเพื่อระบายความร้อนในเตา

42 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ การผลิตถ่านด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
โครงการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทน
280
260 เริ่มเก็บน้ําส้มควันไม้ และ ให้เปิดหน้าเตาออกครึ่งหนึ่งเพื่อไร่สารระเหยหนัก
หยุดใส่ฟืนหน้าเตา , รี่หน้าเตา
240
C)

ให้เหลือพื้นที่อากาศเข้าเพียง
o

ปิดหน้าเตาให้หมดและปากปล่อง ห้าม
อุณหภูมิปากปล่อง (

220 หนึ่งในสี่ ให้อากาศเข้าในเตาเด็ดขาด


200
180 ให้หยุดเก็บน้ําส้มควันไม้
สังเกตน้ําจะมีจุดสีดําปนมา
160
140 เลี้ยงไฟหน้าเตา
กราฟแสดง ขั้นตอนการเผาถ่าน
120 ไม่ให้แรงเกินไป เมื่อเตาเย็นสามารถเอา
100 ถ่านออกได้จากหน้าเตา
80
2 4
60 1
40 3 8 – 12 .
2 – 4 . 4 – 6 .
20
ลักษณะ
- เวลา
ควัน 1 7 13 19 25 31
สีเหลืองขุ่น,มีกลิ่นแสบจมูก
37 43 49 55 61 67 73
สีฟ้าใส , ตรงปากปล่องสามารถมองเห็นฝั่งตรงข้ามได้ (ชั่วโมง)
สีขาวและมี
ความชื้น
รูปที่ 43 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ และช่วงเวลาในขั้นตอนการเผาถ่าน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 43
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

4.3 การบํารุงรักษาเตาเผาถ่าน 200 ลิตร (แบบตั้งและแบบนอน)


1.หลีกเลี่ยงการสะสมความชื้น
จากการที่ตัวเตามีส่วนที่เป็นโลหะ จึงเกิดการผุกร่อนและเป็นสนิมได้ง่ายเมื่อ
มี ค วามชื้ น หากมี ก ารทํ า หลั ง คาเพื่ อ กั น ฝนก็ จ ะทํ า ให้ เ ตามี อ ายุ ก ารใช้ ง านยาวขึ้ น
นอกจากนี้ ก ารใช้ เ ตาอย่ า งสม่ํ า เสมอ ยั ง เป็ น การช่ ว ยไล่ ค วามชื้ น ในเตาและฉนวน
อีกทางหนึ่ง
2.ป้องกันสัตว์/แมลงเข้าไปอาศัย
เตาเผาถ่านเมื่อไม่ได้ใช้เป็นระยะเวลาหนึ่ง มักจะมีสัตว์และแมลงเข้ามาอาศัย
ทํารังทั้งในส่วนของตัวเตา และปล่องควัน ซึ่งทําให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน
และอาจทําให้การเผาถ่านไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นหลังเลิกใช้งานควรทําการ
ปิดช่องทางที่สัตว์หรือแมลงจะเข้าไปอาศัยในเตา
3.ปรับปรุงกรอบเตาให้คงทนถาวรขึ้น (แบบนอน)
หากต้องการใช้เตาอย่างต่อเนื่อง ฉนวนและผนังฉนวนสามารถปรับปรุงให้
ถาวรขึ้นโดยใช้อิฐก่อเป็นกําแพง และใช้ดินเหนียวหุ้มด้านนอกที่ตัวเตา วิธีนี้แม้ตัวเตาที่
เป็นโลหะจะผุไปตามการใช้งาน แต่ดินเหนียวที่หุ้มไว้จะทําหน้าที่แทนตัวเตาต่อไป
4.ปล่องไม้ไผ่เก็บน้ําส้มควันไม้ (แบบนอน)
เมื่อน้ําส้มควันไม้เริ่มมีจุดสีดําของน้ํามันดินปนออกมา ให้เราหยุดเก็บน้ําส้ม
ควันไม้ และย้ายปล่องไม้ไผ่ออกจากปล่องเตา ซึ่งหากทิ้งไว้อุณหภูมิของควันที่สูงขึ้นจะ
ทําให้ปล่องไม้ไผ่ไหม้ได้ นอกจากนั้นหลังเลิกการใช้งานควรเก็บปล่องไม้ไผ่ไว้ในที่ร่ม
เพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น

44 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

5. ผลผลิตจากการเผาถ่าน
5.1 น้ําส้มควันไม้

รูปที่ 44 น้ําส้มควันไม้

น้ําส้มควันไม้ หรือน้ําวู้ดเวเนการ์ ดังรูปที่ 44 เป็นผลผลิตหนึ่งที่ได้จากการ


เผาถ่าน ปริมาณน้ําส้มควันไม้ ในการเผาถ่านแต่ละครั้ง โดยทั่วไป วไป ไม้สดที่ตัดทิ้งไว้
ประมาณ 3 – 4 วัน ก่อนนําเข้าเตา หนัก 100 กิโลกรัม ผลผลิตที่จากการเผา จะได้
ถ่านประมาณ 25 กิโลกรัม และได้น้ําส้มควันไม้ดิบประมาณ 8 กิโลกรัม
น้ําส้มควันไม้ที่ได้ยังไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เนื่องจากการเปลี่ยน
จากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกัน
ระหว่างควันอุณหภูมิต่ําและสูง จึงทําให้มีน้ํามันดิน (ทาร์ : Tar) และสารระเหยง่าย
(โวลาไทล์ : Volatile matter) ปนออกมาด้วย น้ํามันดินที่ละลายน้ําไม่ได้จะนําไปใช้
ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืช ซึ่งจะ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 45
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ทําให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ น้ําส้มควันไม้ดิบที่ได้นี้ถ้าจะไห้มีคุณภาพดีจะต้องทําการ
แยกเอาสารเจือปนอื่นๆ ออกก่อน
วิธีการแยกสิ่งเจือปนออกจากน้ําส้มควันไม้ทําได้ โดยนําน้ําส้มควันไม้มาเก็บ
ไว้ในถังทรงสูงที่มีความสูงมากกว่าความกว้างของฐานประมาณ 3 เท่า โดยทิ้งให้
ตกตะกอนประมาณ 90 วัน น้ําส้มควันไม้จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็น
น้ํามันใส ชั้นกลางเป็นของเหลวใสสีชา คือน้ําส้มควันไม้ และชั้นล่างสุดจะเป็นของเหลว
สีดําข้น คือ น้ํามันดิน หากนําผงถ่านมาผสม 5 % โดยน้ําหนัก ผงถ่านจะดูดซับทั้ง
น้ํามันใส และน้ํามันดินที่แขวนลอยอยู่ให้ตกตะกอนสู่ชั้นล่างสุดในเวลาที่เร็วขึ้น เพียง
ประมาณ 45 วันเท่านั้น

รูปที่ 45 การแยกชั้นของน้ําส้มควันไม้

46 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ การผลิตถ่านด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
โครงการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ประโยชน์ และการนําน้ําส้มควันไม้ไปใช้งาน
ป้องกันแมลงศัตรูพืช (อัตราส่วนโดยปริมาตร น้ําส้มควันไม้ : น้ํา)
ชนิดของพืช ป้องกัน / ขับไล่แมลงศัตรูพืช อัตราส่วน อัตราส่วน
มะเขือเทศ ไส้เดือน 1 ต่อ 500 รดบริเวณโคนต้น
มะเขือเทศ เชื้อรา 1 ต่อ 200 ฉีดพ่นใบ
มะเขือเทศ รากเน่า 1 ต่อ 200 รดบริเวณโคนต้น
แตงกวา เชื้อรา 1 ต่อ 200 ฉีดพ่นใบ
แตงกวา รากเน่า 1 ต่อ 200 รดบริเวณโคนต้น
สตรอบอรี่ ไส้เดือน 1 ต่อ 200 รดบริเวณโคนต้น
พริกไทยเขียว ไส้เดือน 1 ต่อ 1,500 รดแทนน้ําปกติ
กะหล่ําปี ขับไล่แมลง 1 ต่อ 1,500 รดแทนน้ําปกติ
ผักกาดขาว ขับไล่แมลง 1 ต่อ 1,500 รดแทนน้ําปกติ
พริก ลดการร่วงโรยของดอก 1 ต่อ 300 ฉีดพ่นใบ
ข้าวโพด ขับไล่แมลง 1 ต่อ 300 ฉีดพ่นใบ
ผักต่างๆที่มรี ะยะปลูกสั้นๆ ก่อน หรือหลังยอดแตกอ่อน 1 ต่อ 800 รดแทนน้ําปกติ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 47
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
เพิ่มรสชาติของผลไม้ และกระตุน้ การเจริญเติบโตของพืช
ฉีดน้ําส้มควันไม้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 500 ถึง 1 ต่อ 1,000 เท่า สามารถเพิ่ม
รสชาติข องผลไม้ ให้ มีค วามหวาน ที่ เป็ นเช่น นี้เ พราะน้ํา ส้ มควัน ไม้ ช่ วยลดไนโตรเจน
ส่วนเกิน กระตุ้นการสังเคราะห์แสงของพืช และเพิ่มระดับน้ําตาลให้กับพืชชนิดที่ให้ รส
หวาน
ช่วยเร่งการหมัก
การผสมน้ําส้มควันไม้ ที่มีความเข้มข้นต่ํา ประมาณ 1 ต่อ 100 ในกองปุ๋ยหมัก
จะช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อรา และแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการเร่งการหมักสารชีวภาพ คือ
สามารถย่นระยะเวลาในการหมักลงอีก ครึ่งหนึ่งของการหมักสารชีวภาพโดยปกติ
ลดกลิน่ เหม็น
น้ําส้มควันไม้ มีคุณสมบัติในการต่อต้านการลดการผลิตแอมโมเนีย จึงสามารถ
นําไปใช้ลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ ในอัตราส่วนไม่เข้มข้นนัก คือประมาณ 1 ต่อ 50
ขับไล่แมลงมีพิษ
เนื่องจากน้ําส้มควันไม้เข้มข้น มีส่วนผสมของ น้ํามันทาร์ และยางเรซิน อยู่มาก
ที่ส่งกลิ่นเหม็นคล้ายควันไฟรบกวนสัตว์แมลงที่มีพิษ เช่น ตะขาบ
บํารุงผิวดินในการเพาะปลูก
ใช้น้ําส้มควันไม้ที่มีความเข้มข้น ประมาณ 1 ต่อ 30 ราดลงไปในหน้าดิน และใช้
ในปริมาณ 6 ลิตร ต่อ 1 ตารางเมตร สําหรับบํารุงผิวดินก่อนทําการเพาะปลูก แต่สําหรับ
การนําไปฆ่าเชื้อใน ดินควรจะมีความเข้มข้นสูงกว่านี้ ประมาณ 1 ต่อ 5 ถึง 1 ต่อ 10
ใช้เป็นอาหารเสริมสําหรับสัตว์เลี้ยง
น้ําส้มควันไม้ ถ้านําไปผสมลงในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป สารในน้ําส้ม
ควันไม้ จะช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลําไส้ เพื่อช่วยในการดูดซึมซับสารอาหารได้ดี
ถ้าเป็นไก่เนื้อไก่จะเจริญเติบโตได้ดี เนื้อไก่เป็นสีชมพู เมื่อผสมในอัตราส่วนที่เจือจาง
1 ต่อ 200 ถึง 1 ต่อ 300

48 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ใช้ในการขับไล่แมลงวัน
ใช้ในอัตราส่วนเจือจาง ประมาณ 1 ต่อ 100 ขับไล่แมลงวัน เนื่องจากน้ําส้ม
ควันไม้ จะส่งกลิ่นฉุนขับไล่แมลงวันได้ดี
น้ํามันดินหรือทาร์
น้ํามันดิน ก็เป็นผลผลิตหนึ่งที่ได้จากการเผาถ่าน น้ํามันดินจะมีความเหนียว
ติดไฟง่าย และ มีกลิ่นฉุนมาก เมื่อนําไปเทลงในหลุมเสาบ้านไม้ หรือทาผิวไม้ ก่อนที่
จะทําการก่อสร้างบ้าน จะช่วยป้องกันปลวก / มอด ไม่ให้มาทําลายเนื้อไม้ได้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 49
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
5.2 ประโยชน์ของถ่าน

รูปที่ 46 การนําถ่านไปใช้ประโยชน์

การนําถ่านไม้มาใช้ประโยชน์นับว่ามีคุณค่าที่น่าสนใจ โดยเฉพาะด้านเกษตร
เนื่องว่าถ่านมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อพืชและสัตว์ จึงสามารถใช้ทดแทนสารเคมีราคา
แพงได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กันทีเดียว การใช้ประโยชน์ของถ่านไม้ มี
ดังนี้
- ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ถ่านไม้จะมีรูพรุนจํานวนมาก เมื่อใส่ถ่านป่นลงในดิ ล น
จะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุ ย อุ้มน้ําได้ดีขึ้น ส่งผลให้ร ากพืชขยายตัวอย่างรวดเร็ ว
ช่วยลดการใช้ปุ๋ย เพราะสมบัติต่าง ๆ ของจุลธาตุที่มีอยู่หลายชนิดในแท่งถ่าน จะเป็น
ประโยชน์ให้แก่พืชที่ปลูก
- ถ่ า นไม้ที่ นํ า มาใช้ ป รั บปรุ ง ดิ น ควรเป็ นเศษถ่ าน ขนาดไม่ เ กิน 5 มม. โดย
อาจจะเป็นถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อย แต่ควรระวังขี้เถ้าซึ่งมี งมีฤทธิ์เป็นด่างสูงเพราะพืชก็
ไม่ชอบดินที่มีค่าเป็นด่างสูง ควรรักษาค่าเป็นกรดด่างของดินไว้ที่ pH 6.0 6 – 6.8

50 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
งา กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
- ช่ ว ยรั ก ษาผลผลิ ต ให้ ส ดนานขึ้ น ผั ก และผลไม้ จ ะมี ก ลไกผลิ ต ก๊ า ชเอธิ ลี น
(Ethyline) เพื่อทําให้ตัวเองสุก เราสามารถรักษาผลผลิตให้สดนานขึ้นโดยใส่ผงถ่านลงใน
กล่องบรรจุเพื่อดูดซับก๊าชดังกล่าวไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ ผักผลไม้จะยังคงสดอยู่ได้นานถึง 17
วัน โดยไม่เสียหายหรือสุกงอม ปัจจุบันได้มีการนําผงถ่านกัมมันต์ผสมลงในกระดาษที่ใช้
ทํากล่องบรรจุผลผลิตเพื่อการนี้แล้ว
- ถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อย ใช้ทดแทนแกลบรองพื้นคอกสัตว์ซึ่งราคาถูก
และหาง่ายพอ ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนและก๊าซต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของ
อาการเครียดในสัตว์ ส่งผลให้สุขภาพและผลผลิตจากปศุสัตว์มีคุณภาพดีขึ้น
- ใช้ผสมอาหารสัตว์ นําผงถ่านผสมในอาหารสัตว์ด้วยอัตราส่วนเพียง 1 %
ถ่านจะช่วยดูดซับก๊าซในกระเพาะและลําไส้ ช่วยลดอาการท้องอืด เนื่องจากปริมาณน้ํา
ในอาหารสูงเกินได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
- ปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ํา นําถ่านไม้ใส่กระสอบ (ในปริมาณที่สอดคล้องกับ
ประมาณแหล่งน้ํา) ไว้ที่ก้นบ่อ และจัดให้มีการไหลเวียนน้ําบริเวณกระสอบถ่านนั้น เศษ
อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ในน้ําจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ที่อยู่ในรูพรุนของถ่าน ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพระบบบําบัดน้ําในบ่อเลี้ยงปลาหรือกุ้งได้ เช่นกัน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 51
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ตารางแสดงค่าความร้อนของถ่านไม้จากไม้ชนิดต่าง ๆ

ชื่อ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ค่าความร้อน


แคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม
กระเช้า Holoptelea integrifolia, Planch 4,616
กระถินณรงค์ Acacia auriculaeformis Cunn. 4,572.94
กระถินยักษ์ Leucaena leucocephala (Lam.) 4,436.04
deWit
กระบก Irvingia malayana, Oliver 7,016
กระเบากลัก Hydnocarpus ilicifolius, King 4,641
กระพี้ Dalbergia lakhonensis 4,484
กะท้อน Sandoricum indicum, Carr 4,911
กะบาก Anisoptera curtisii, Dyer. 5,101
โกงกาง Rhizophora spp. 7,197
ขี้เหล็ก Cassia siamea Lamk 7,036
เคี่ยม Shorea sericeiflora, Fisch & 5,269
Hutch
แดง T.Xylia Kerrii, Craib & Hutch. 7,384
แดง Xylia kerrii Craib & Hutch. 4,620
ตะคร้อ Schleichera trijuga, Willd. 7,765
ตะเคียน Hopea odorata Roxb. 4,913

52 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ชื่อ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ค่าความร้อน
แคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม
แต้ว Cratoxylon formosum, Dyer 7,836
ถ่านกะลา Cocos nucifera Linn. 7,727.89
ถ่านตอรากไม้ยูคา Eucalyptus camaldulensis 7,033.91
Dehnh.
ถ่านเปลือกไม้เสม็ด Melaleca quinquenervia S.T. 6,258.7
Blake
ถ่านไมยราพยักษ์ Mimosa pigra Linn. 7,033.89
ทุ่มโคก Mitragyna hirsuta Hav. 6,938
เนียงนก Archidendron bubalinum 7,322
Nielsen.
ประดู่ Pterocarpus macrocarpus Kurz 7,539
ประดู่ Pterocarpus, macrocapus, Kurz 5,022
ประดูเ่ ลือด Pterocarpus, macrocapus, Kurz 4,549
ปิก Mallotus floribundus Muell. 7,295
Arg.
ฝรั่ง Psidium guajava, Linn 4,813
ฝาด (ขวาด) Lumnitzera racemosa Willd. 7,018
พยุง Dalbergia cochinchinensis 7,352
Pierre
พลวง Dipterocarpus tuberculatus, 7,392
Roxb

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 53
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ชื่อ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ค่าความร้อน
แคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม
พลา Grewia microcos, Linn 4,590
พะยอม Shorea talura, Roxb 5,339
พะวาหรือวา Garcinia speciosa Wall. 7,623
พันตัน Schima wallichii, Korth. 7,379
พุทรา Zizyphus jujuba, Lamk. 4,718
โพธิ์ Ficus religiosa, Linn 5,051
มะเกลือ (ไม้ดํา) Dyospyros mollis, Griff. 5,205
มะขามป้อม Phyllanthus emblica Linn. 8,080
มะค่าแต้ Sindora siamensis Teijsm. 7,347
มะค่าโมง Afzelia xylocarpa 4,716
มะปราง Bonea burmanica, Griff. 4,996
มะไฟ Baccaurea sapida, Muell. Arq 4,674
มะม่วงป่า Mangifera sp. 7,213
ยอป่า Morinda coreia, Ham. 4,509
ยาง Dipterocarpus alatus, Roxb 4,810
ยางพารา Hevea brasiliensis Muell - Arg. 7,220
ยางพารา - ลําต้น กิ่ง Hevea brasiliensis Muell-Arg. 7,582 , 7187

54 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ชื่อ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ค่าความร้อน
แคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม
ยูคาลิปตัส Eucalyptus sp. 7,350
ยูง Dipterocarpus gracillis BL. 4,746
รกฟ้า TerminaLia tomentosa W.& A. 6,715
รัง Pentacme siamemsis 6,934
รัง Pentaeme suavis A. DC. Var 4,677
siamemsis Smit
ลิ้นจี่ Nephelium litchi, Comb. 4,842
สนทะเล Casuarina erratica Linn 7,410
สมอ Terminalia citrina 4,170
สะแก Combretum quadrangulare 7,412
Kurz
สะเดา Azairachta indica, A. Juss. var. 5,046
siamensis
สะเดาช้าง Chukrasia velutina Wight & 7,950
Arn.
สะเดาเทียม Azadirachta excelsa 7,074
สะเตียว Ganua motleyana Pierre ex 4,372.5
Dubard.
สะท้อนนก Sandoricum beccarianum Baill. 4,449.33
สะทิด Phoebe paniculata. 5,346

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 55
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ชื่อ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ค่าความร้อน
แคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม
สัก Tectona grandis, Linn 5,094
สักน้ํา Vatica wallichii, Dyer 4,406
สําเภา Chaetocarpus castanopsis. 4,886
สีเสียดแก่น Acacia catechu Willd. 7,240
เสม็ด Melaleuca Leucadendron, Linn 5,378
เสลา Lagerstroemia tomentosa Presl 7,185
เสี้ยวต้น (ส้มเสี้ยวนา) Pileostigma malabarica, Benth. 7,333
แสมบาน Avicennia alba Blume. 7,362
แสมสาร Cassia garrettiana Craib 6,477
หมายเหตุ : ข้อมูลวิจัยจากกรมป่าไม้ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ

56 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
คู่มือ เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร
การถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน

เอกสารอ้างอิง
1. สํ านั กพั ฒ นาวิท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแ ห่ งชาติ , ถ่า น : การผลิ ต ที่ถู กวิ ธีแ ละ
ประโยชน์, 2544
2. พุฒินันต์ พึ่งวงศ์ญาติ, โครงการส่งเสริมการปลูกป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 2
โดยกรมป่าไม้ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศไทยญี่ปุ่น, ถ่านไม้และน้ําส้ ม
ควันไม้, 2544
3. สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม, คู่มือ เตาเผาถ่าน 200 ลิตร, 2549
4. กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, คู่มือการผลิตและ
การใช้งานเตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร, 2552
5. ศูนย์วิจัยพลังงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้, คู่มือการใช้งานเตาเผาถ่านถัง 200 ลิตร (แบบตั้ง)
, 2553
6. กรมป่าไม้ www.forest.go.th, ตาราง ค่าความร้อนจากถ่านไม้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 57

You might also like