You are on page 1of 7

โครงการรางวัลบัณณาสสมโภช (ระยะที่ ๔ พ.ศ.

๒๕๖๐ – ๒๕๖๓)
๑. ความเป็นมาของโครงการ
ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ
พัฒนาการ อันมั่นคงและยั่งยืนในทุกมิติของประเทศ การสร้างความสามารถดังกล่าวจะต้องเริ่มต้น
วางรากฐานตั้งแต่ระดับ เยาวชนในโรงเรียนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนเยาวชนเหล่านี้เติบโตถึงวัย
ที่จะประกอบอาชีพ บนความคาดหวังว่าจะปลูกฝังเยาวชนเหล่านี้ให้เห็นความสำคัญและมีเจตคติที่ดีต่อ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะดำเนิน
ชีวิต ได้อ ย่างเท่าทัน กับ ความก้าวหน้าทางวิท ยาการ สามารถเลือ กดำเนิน ชีว ิต ได้อ ย่างมีเหตุผ ลด้ว ย
กระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งในที่สุดแล้ว จะส่งผลให้เกิดคนรุ่นใหม่ที่จะมี
ศักยภาพในการนำพาประชาชาติไทยให้ก้าวสู่อนาคตพร้อมกับประชาคมโลกได้อย่างสมสมัยและมีศักดิ์ศรี
การสร้างความสามารถทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มิได้อยู่เพียงการเรียน
การสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่
เพี ย งพอและเหมาะสม โรงเรี ย นที ่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ การส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
คณิตศาสตร์ จึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยวางรากฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีให้แก่
เยาวชน การส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวของโรงเรียน ควรทำอย่างต่อเนื่องและในทุกระดับของการศึกษา
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุดและยังเป็นการเสริมสร้างคุณภาพให้กับการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป นอกจากนั้น ปัจจัยสำคัญอีกด้านของสัมฤทธิผลในการส่งเสริมศักยภาพของ
นักเรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ก็คือ การเพิ่มขีดความสามารถ
ของครูผ ู้ส อน ให้ส ามารถจัด การเรีย นการสอนด้ว ยกระบวนการเรีย นรู้แ บบมีส ่ว นร่ว ม โดยเพิ่ม พูน
ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของตัวครูเองเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าว
รวมทั้งกระตุ้นให้ครูพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทั้งสอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่นและ
ภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการที่มีความเคลื่อนไหว
ตลอดเวลา โดยวิธีให้ทั้งนักเรียนและครูได้ปฏิบัติการและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการสืบค้นและจากการค้นคว้าทดลอง เพื่อให้
เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
จากแนวคิดดังกล่าวทั้งหมดนี้ทำให้เกิด “โครงการรางวัลบัณณาสสมโภช” ซึ่งจะเน้นการ
ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกระดับของแต่ละ
สถานศึ ก ษาที ่ เ ข้ า ร่ ว มในโครงการ โดยใช้ ว ิ ธ ี ก าร Whole School Approach เพื ่ อ พั ฒ นาความรู ้
ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของทั้งครูและนักเรียนในสถานศึกษานั้น ๆ โดยอาศัย
กิ จ กรรมเป็ น สื ่ อ กลางให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นาจากระดั บ ท้ อ งถิ ่ น ภู ม ิ ภ าค และขยายผลเป็ น
ระดับประเทศต่อไป
โครงการรางวัลบัณณาสสมโภชนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ผ่านโครงการระยะที่
๑ (พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๙) โครงการระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๕) และโครงการระยะที่ ๓ (พ.ศ.
๒๕๕๕ - ๒๕๕๘) โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ ทางโครงการได้ดำเนินเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๘ และมีโรงเรียนเข้ารับพระราชทานรางวัลทั้งสิ้น ๔๗ โรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๘ ดังนี้



โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ครั้งที่ ๓
๑. ปราโมชวิทยารามอินทรา ๑๑. ดาราวิทยาลัย
๒. มัธยมวัดหนองแขม ๑๒. แม่จันวิทยาคม
๓. อุดมศึกษา ๑๓. ดาราพิทยาคม
๔. จิตรลดา ๑๔. วัดห้วยแก้ว (รวมศูนย์วัดห้วยแก้ว)
๕. สาธิตแห่งมศว. ปทุมวัน ๑๕. ศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์
๖. ชัยนาทพิทยาคม ๑๖. ราชประชานุเคราะห์ ๒๗
๗. ปิยชาติพัฒนาฯ ๑๗. ศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ
๘. พิชญศึกษา ๑๘. พิชัยรัตนาคาร
๙. มหิดลวิทยานุสรณ์ ๑๙. จุลสมัย
๑๐. มัธยมพระราชทานนายาว
โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ครั้งที่ ๒
๑. ไผทอุดมศึกษา ๖. เบญจมราชรังสฤษฎิ์
๒. สาธิตจุฬาฯ ๗. มกุฏเมืองราชวิทยาลัย
๓. สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตร ๘. เทศบาลศรีพนมมาศพิทยากร
๔. สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ๙. บ้านห้วยฟอง
๕. จุฬาภรณราชวิทยาลัยเพชรบุรี ๑๐. ศึกษาสงเคราะห์เลย
๑๑. กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ
โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ครั้งที่ ๑
๑. ซางตาครู้สคอนแวนท์ ๑๑. นครสวรรค์
๒. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ๑๒. สามัคคีวิทยาคม
๓. ศึกษานารี ๑๓. ท่าวังผาพิทยาคม
๔. มัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ ๑๔. บ้านสบมาง
๕. ศรัทธาสมุทร ๑๕. แม่โป่งประชาสามัคคี
๖. อ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม ๑๖. ภูเขียว
๗. ศรียานุสรณ์ ๑๗. ศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี
๘. บ้านคลองบางบ่อ
๙. ศึกษาสงเคราะห์ขอนแก่น
๑๐. จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
ในการดำเนินงานของโครงการฯ ได้มีการจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่กรณีศึกษา และแนวทางการจัด
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับโรงเรียนที่มีบริบทที่แตกต่างกัน
แต่สามารถมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเผยแพร่สู่สังคม
และชุมชนแล้ว 2 เล่ม คือ หนังสือเรื่อง “ครูสร้างชาติ” และ “ครูผู้สร้างวันพรุ่งนี้”



๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อส่งเสริมโรงเรียนและคณาจารย์ในโรงเรียนปลูกฝังจิตสำนึกและส่งเสริมเยาวชนให้มีความรักและ
สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียนมีความสนใจ รู้จักคิดอย่างมีเหตุมีผล
รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
๒.๒ เพื่อส่งเสริมโรงเรียนและคณาจารย์ในโรงเรียนปลูกฝังลักษณะนิสัยให้นักเรียนรักการศึกษา ค้นคว้า มี
ความคิ ด ริ เ ริ ่ ม สร้ า งสรรค์ มี ก ารคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละใช้ ท ั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ใ นการ
แก้ปัญหาของตนเองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
๒.๓ ส่งเสริมการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ
นักเรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีทัศนคติ กระบวนการคิดและการทำงานเชิง
วิทยาศาสตร์
๒.๔ เพิ่มขีดความสามารถของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้สามารถสอนด้วยกระบวนการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของตนเองจากการสอนแบบนี้
๒.๕ เพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลของประเทศตั้งแต่วัยเยาว์ให้มีความสนใจและมีความรู้ความเข้าใจและ
ความคิดในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง
๒.๖ เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและภูมิภาค
๓. แนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการรางวัลบัณณาสสมโภช ระยะที่ ๔
คณะกรรมการโรงเรี ย นส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมวิ ท ยาศาสตร์ แ ละคณิ ต ศาสตร์ ด ี เ ด่ น ซึ ่ ง เป็ น
ผู้รับ ผิด ชอบในการดำเนิน โครงการฯ เห็น ชอบให้ม ีก ารปรับ เปลี่ย นรูป แบบการดำเนิน งานโดยยังคง
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ ดังเดิม คือการส่งเสริมให้โรงเรียนมีการดำเนินการแบบ
whole school approach เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยใช้
กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
การดำเนิน งานโครงการฯ ในระยะที่ ๔ นี้ จะได้น ำโรงเรีย นที่ได้ร ับ พระราชทานรางวัล
บัณณาสสมโภช ๓ ครั้งได้เป็นโรงเรียนแกนนำในการสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการ
ส่งเสริมและการขยายผลในวงกว้างครอบคลุมโรงเรียนที่มีบริบทที่แตกต่างทั้งด้านขนาด งบประมาณและ
ตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียน ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม โดยมีแนวทางดังนี้
๓.๑ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ
โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะจำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ
๓.๑.๑ โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๓ ครั้ง จะทำหน้าที่เป็นแกนนำเครือข่าย
ของโรงเรียนที่จะมีการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
แบบ whole school approach โดยโรงเรียนแกนนำ 1 โรงเรียน จะมีโรงเรียนในเครือข่าย
๓ - ๕ โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนแกนนำทั้งหมด จะถือเป็นผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในระยะที่ ๔
นี้
๓.๑.๒ โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๑ และ ๒ ครั้ง ทุกโรงเรียน



๓.๑.๓ โรงเรียนที่ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยตรง ซึ่งทางโครงการฯ จะเปิดรับสมัคร
ให้กับทุกโรงเรียนที่สนใจ โดยโรงเรียนที่สมัครจะขอเป็นเครือข่ายของโรงเรียนแกนนำ หรือไม่
ก็ได้
๓.๒ การดำเนินกิจกรรมของโครงการ
๓.๒.๑ การรับสมัครโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
๓.๒.๒ การประชุมชี้แจงโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
คณะกรรมการฯ จะได้ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ และแนวทาง
การดำเนิน การของโครงการฯ ให้ก ับ ผู้อ ำนวยการโรงเรีย น ผู้แ ทนคณาจารย์ผ ู้ส อนวิช า
วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
๓.๒.๓ การอบรมเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนรู้
ด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ซึ่งได้รวบรวมนวัตกรรมและ
เทคโนโลยีการสอนไว้ จะเป็นโอกาสอันดีที่จะเผยแพร่แบ่งปันนวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้
ให้กับโรงเรียน ต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการ
สอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ต่อไป นอกจากนี้ จะได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการถ่ายทอดการใช้สื่อต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
นอกจากศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังจัดตั้ง Innovation Hub
เพื่อผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ทั้งในด้านการเรียนการสอน
และการวิจัยอีกด้วย ซึ่งกลไกเหล่านี้จะเป็นส่วนรองรับการมุ่งไปเป็น innovation district ที่
พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สังคม
๓.๒.๔ การทบทวนเกณฑ์การพิจารณาโรงเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช
และการพิ จ ารณาเกณฑ์ โ รงเรี ย นที ่ ส มควรได้ ร ั บ พระราชทานรางวั ล ผู ้ น ำเครื อ ข่ า ย
บัณณาสสมโภช
คณะกรรมการฯ จะได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการรางวัลบัณณาสสมโภช
เพื ่ อ ร่ ว มกั น ทบทวนเกณฑ์ ก ารพิ จ ารณาโรงเรี ย นที ่ ส มควรได้ ร ั บ พระราชทานรางวั ล
บัณณาสสมโภช และพิจารณาเกณฑ์โรงเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัลผู้นำเครือข่าย
บัณณาสสมโภช ซึ่งเป็นรางวัลประเภทใหม่ที่จะพัฒนาโรงเรียนแกนนำ และขยายผลการ
ปฏิบัติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๓.๒.๕ การติดตามผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
การติดตามผลการดำเนินการจะดำเนินการเป็นรายปี โดยให้ทางโรงเรียนจัดส่งรายงานการใช้
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เมื่อสิ้นปีการศึกษา และ
เมื่อติดตามครบ ๓ ปีการศึกษา (ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑) จะเข้าเยี่ยมชม
โรงเรีย น โดยพิจ ารณาผลสัม ฤทธิ์ท ี่เกิด ขึ้น ในนัก เรีย นเป็น สำคัญ โดยคณะอนุก รรมการ
โครงการฯ จะได้ท บทวนและกำหนดเกณฑ์ก ารพิจ ารณาโรงเรีย นที่เหมาะสมที่จ ะได้ร ับ
พระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช



๓.๒.๖ การขอรับพระราชทานรางวัล
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการเยี่ยมชมโรงเรียนและจะได้พิจารณารายชื่อโรงเรียนที่
เหมาะสมที่จะได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช เพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทาน
รางวัลฯ ในปีพ.ศ. ๒๕๖๓
๓.๒.๗ การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์สู่สาธารณชนและสังคม
กรณีศึกษาของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลและการถอดบทเรียนของโรงเรียนแกนนำในแต่ละ
บริ บ ทเพื ่ อ รวบรวมและจั ด ทำเป็ น หนั ง สื อ สำหรั บ การเผยแพร่ส ู ่ ส ั ง คม และการนำไปใช้
ประโยชน์ต่อไป
๔. รางวัลบัณณาสสมโภช
๔.๑ รางวัลบัณณาสสมโภช มี ๓ ระดับ คือ
ระดับที่ ๑ ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นครั้งแรก แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อนักเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย ๔ ปีการศึกษา
ระดับที่ ๒ ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นครั้งที่ ๒ แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อนักเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย ๙ ปีการศึกษา
ระดับที่ ๓ ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นครั้งที่ ๓ แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อนักเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย ๑๔ ปีการศึกษา
๔.๒ รางวัลผู้นำเครือข่ายบัณณาสสมโภช
เป็นรางวัลสำหรับโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัล ๓ ครั้งแล้ว สามารถเป็นผู้นำเครือข่ายให้กับ
โรงเรียนอื่นๆ ได้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเหมาะสมกับบริบทของ
โรงเรียน
๕. แผนกิจกรรม (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓)
๕.๑ การขอพระราชวินิจฉัยแนวทางการดำเนินการของโครงการรางวัลบัณณาสสมโภช
คณะกรรมการขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยแนวทางการดำเนินการโครงการรางวัลบัณณาสสมโภช
ระยะที่ ๔ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประเด็นที่จะขอพระราชวินิจฉัย
- การขยายผลโดยการมอบหมายให้โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๓ ครั้งเป็น
โรงเรียนแกนนำเพื่อเป็นแม่ข่ายของการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ แบบ whole school approach โดยเน้นกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
แต่ละแห่ง
- การเปิดการรับสมัครสำหรับการรับพระราชทานรางวัลเป็นครั้งแรก ให้กับทุกโรงเรียนที่สนใจ
- การขอพระราชทานรางวัลสำหรับโรงเรียนแกนนำเครือข่ายโครงการรางวัลบัณณาสสมโภชที่มีผล
การดำเนินงานที่ดีเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด



๕.๒ การเชิญโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๓ ครั้งเป็นโรงเรียนแกนนำเครือข่าย
คณะกรรมการฯ เชิญโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๓ ครั้งเป็นโรงเรียนแกนนำ
เครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยให้โรงเรียนแกนนำ เสนอรายชื่อ
โรงเรียนในเครือข่ายอย่างน้อย ๓ - ๕ โรงเรียน โดยที่ต้องมีโรงเรียนที่ยังไม่เคยได้รับรางวัลบัณณาสสมโภช
มาก่อนอย่างน้อย ๓ โรงเรียน
๕.๓ การจัดส่งใบสมัครและรับสมัครโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ
๕.๔ การชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯ
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการให้กับผู้บริหาร และอาจารย์ของ
โรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ได้รับทราบแนวทางการดำเนินการของโครงการฯ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดี
ที่เคยได้มีการดำเนินการผ่านมาแล้ว และให้โรงเรียนจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในปีการศึกษา
๒๕๕๙ รวมทั้งแผนที่โรงเรียนจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในปี
การศึกษา ๒๕๖๐ เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามการดำเนินงานของโรงเรียน
๕.๕ การติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน
๕.๕.๑ ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของ
โรงเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑
๕.๕.๒ คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ทำการประชุมร่วมกันและทบทวนเกณฑ์ในการ
พิจารณาเสนอชื่อโรงเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช แล้วทำการตรวจ
เยี่ยมโรงเรียนที่มีการดำเนินกิจกรรมสม่ำเสมอ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑
โดยตรวจเยี่ย มโรงเรีย นในปีก ารศึก ษา ๒๕๖๒ เพื่อ ติด ตามผลการดำเนิน กิจ กรรมอย่า ง
ต่อเนื่องที่เกิดขึ้น
๕.๖ การรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาต้นแบบเพื่อใช้ในการเผยแพร่ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการ
เรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ในการตรวจเยี่ยมโรงเรียนนั้น คณะกรรมการฯ / คณะอนุกรรมการร่วมกันบันทึกข้อมูลของลักษณะ
หรือประเด็นที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ประสบ
ความสำเร็จ และมีผลถึงตัวนักเรียนโดยตรง รวมทั้งปัจจัยสำคัญสำหรับการเป็นโรงเรียนแกนนำเครือข่าย ฯ
๕.๗ การพิจารณาเสนอชื่อโรงเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัล
คณะอนุก รรมการฯ เสนอชื่อ โรงเรีย นที่ส มควรได้รับ พระราชทานรางวัล เพื่อ ให้ค ณะกรรมการฯ
พิจารณาและนำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราช
วินิจฉัย และขอพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๕.๘ การนำผู้แทนจากโรงเรียนเข้ารับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช
๕.๙ การเผยแพร่ผลงานสู่สังคม
ดำเนินการเผยแพร่ผลงานรูปแบบการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เป็น
แบบอย่างที่ดีผ่านเอกสาร หนังสือ หรือทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ



แผนกิจกรรม
ปีงบประมาณ
แผนกิจกรรม
๒๕๖๐ ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓
๕.๑ การขอพระราชวินิจฉัยแนวทางการดำเนินการของโครงการรางวัลบัณณาส
สมโภช
๕.๒ การเชิญโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ๓ ครั้งเป็น
โรงเรียนแกนนำเครือข่าย
๕.๓ การจัดส่งใบสมัครและรับสมัครโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ
๕.๔ การชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯ
๕.๕ การติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน
๕.๖ การรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาต้นแบบเพื่อใช้ในการเผยแพร่ และส่งเสริมให้
เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
๕.๗ การพิจารณาเสนอชื่อโรงเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัล
๕.๘ การนำผู้แทนจากโรงเรียนเข้ารับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช
๕.๙ การเผยแพร่ผลงานสู่สังคม

๖. ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ดีเด่น จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

You might also like