You are on page 1of 29

บทที่ 2

แบบเขียนสั่งงาน
(Working Drawing)

2.1 วัตถุประสงค์
หลังจากจบบทเรียนนี้นักศึกษาต้องสามารถ

• อธิบายได้ว่าแบบสั่งงานมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

• อธิบายได้ว่าแบบสั่งงานมีรูปแบบและโครงสร้างเป็นอย่างไร

• อธิบายความหมายของแบบและองค์ประกอบที่ปรากฏในแบบสั่งงานได้

2.2 บทนำ
ในบทนี้ เราจะทำการศึกษาเกี่ยวกับ รูปแบบที่ มี การใช้ งานจริง ของแบบเขียนวิศวกรรมโดยเฉพาะ
ในงานวิศวกรรมเครื่องกลที่ต้องมีการจัดทำชิ้นงาน (Parts) หรือชิ้นงานประกอบ(Assemblies) หลังจาก
ที่ เราพร้อมที่ จะทำการสร้างชิ้นงานหรือ ชิ้นงานประกอบแบบจะต้องถูก จัดทำในรูปแบบเป็นทางการ
เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากในการผลิตและตลอดอายุการใช้งานมีผู้ที่ต้องอ่านแบบและดำเนินการ
ตามแบบและใช้ แบบเป็น จำนวนมาก ในการผลิต นั้น บางครั้ง จำเป็น ต้องส่ง แบบให้ ผู้ผลิต หลายราย
ทำการผลิตนอกจากนั้น แบบที่ ส่ง ให้ ผู้ผลิตแต่ละราย ยัง อาจมี จำนวนผู้ ที่ มี ส่วนเกี่ยวข้องในการผลิต
หรือ ตรวจสอบอีก เป็น จำนวนมากและเมื่อ ชิ้นงานถูก จัดทำจนเสร็จสิ้น ลง ผู้ ตรวจสอบชิ้นงานก็ ต้อง
ทำหน้าที่ตรวจสอบชิ้นงานให้ได้ตรงตามที่แบบระบุต่อมาในขั้นตอนของการประกอบผู้ประกอบก็ต้อง
ทำการประกอบตามที่แบบระบุเช่นกันหลังจากนั้นเมื่อนำชิ้นงานไปจัดจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายก็ต้องการ
แบบเพื่อ การจัดทำคู่มือ การบริการหลัง การขายหรือ การซ่อมบำรุง แบบเขียนจึง ต้องมี ความสมบูรณ์
ในตัว ไม่มีความคลุมเครือหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนสามารถถูกตีความได้เป็นอย่างเดียวไม่ว่า
ใครจะเป็น ผู้อ่านแบบ และไม่ ต้องมี การอธิบายเพิ่มเติม จากผู้เขียนหรือ ผู้ออกแบบจะเห็นได้ว่า แบบ
เขียนที่ ถูก ใช้ งานจริง นอกจากต้องมี ข้อมูล ที่ จำเป็น สำหรับ การผลิต แล้ว ยัง ต้องมี ข้อมูล อื่น ๆ อีก
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการข้างต้น และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ความเข้าใจในแบบเขียนอย่าง
ถ่องแท้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบหรือผู้ผลิต

2.3 องค์ประกอบของแบบสั่งงาน
หลังจากตัดสินใจที่จะมอบหมายหรือว่าจ้างให้ทำการผลิตชิ้นงานหรือชิ้นงานประกอบผู้ออกแบบ
จะต้องจัดทำเซตของเอกสารแบบเขียนที่ เป็นทางการ ซึ่ง เรียกกัน ว่า แบบสั่ง งานให้ กับ ผู้ ที่ จะทำการ

3
แบบเขียนสั่งงาน
4 (Working Drawing)

ผลิต แบบสั่ง งานจะต้องมี ข้อมูล ที่ ครบถ้วนและชัดเจนเช่น รูป ด้านที่ จำเป็น ของชิ้นงาน เพื่อ แสดง
รูปร่าง รูปลักษณ์ ขนาด ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนจำนวนชิ้นงานที่ต้องการผลิต วัสดุ
ที่ ใช้ วิธีการผลิต และวิธีการประกอบและหากแบบสั่ง งานที่ ถูก ส่ง ให้แก่ ผู้ ผลติ มี ความสมบูรณ์ จริง
ผู้ผลิตที่มีเครื่องมือและทักษะในการผลิตพร้อมต้องสามารถทำการผลิตได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถาม
ข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ออกแบบวิศวกร หรือผู้เขียนแบบ เซตของเอกสารงานแบบสั่งงานนี้แสดงได้ดัง
ตัวอย่างในรูปที่2.1 โดยโครงสร้างชั้นบนสุดคือแบบแสดงการประกอบหลัก(Main Assembly Draw-
ing) ของชิ้นงานประกอบ แบบแสดงการประกอบนี้ จะแสดงให้ เห็น วิธีการประกอบชิ้นงานประกอบ
หลักและแสดงให้เห็นว่าหลังจากการประกอบชิ้นงานจะมีลักษณะอย่างไร ชิ้นงานประกอบหลักนี้อาจ
ประกอบกัน ระหว่างชิ้นงานประกอบย่อย(Subassembly) และ/หรือ ชิ้นงานเดี่ยว (Part) ที่ อาจเป็น
ชิ้นงานที่ต้องจัดทำขึ้นเองหรือชิ้นงานมาตรฐานซึ่งมีจัดจำหน่ายอยู่แล้วในท้องตลาด (Standard Part-
s, Comercial Parts) ตัวอย่างเช่น โบลท์ นัท สกรู แหวนรอง หมุดย้ำ เป็นต้นแบบแสดงรายละเอียด
ของชิ้นงานย่อยแต่ละชิ้น เช่น ขนาด กรรมวิธีการผลิตเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน จะถูกแสดงในแบบ
แสดงรายละเอียด องค์ประกอบหลักของแบบสั่งงานเพื่อการผลิตมีดังนี้

1. หน้าปก (Cover)

2. แบบแสดงการประกอบ (Assembly Drawing)

3. รายการวัสดุ (Bill of Material)

4. แบบแสดงรายละเอียด (Manufacturing Detail Drawing)

เพื่อ การสื่อสารให้ บรรลุ วัตถุประสงค์ ของการสั่ง จัดทำหรือ ผลิต ชิ้นงานองค์ประกอบของแบบสั่ง งาน


ข้างต้น จำเป็น ที่ จะต้องมี ข้อมูล และรูปแบบที่ เป็น มาตรฐานดัง แสดงในหัว ข้อต่อๆ ไป โดยเริ่มต้น
จากมาตรฐานของกระดาษ และรายละเอียดของหัวกระดาษ ตามด้วยแบบแสดงการประกอบรายการ
วัสดุ และแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิต

2.4 ขนาดกระดาษแบบ
การวางแนวกระดาษวางได้ 2 ลักษณะดังนี้

1. Lanscape เป็นการวางกระดาษให้ด้านยาวของกระดาษไว้ในแนวระดับ

2. Portrait เป็นการวางกระดาษให้ด้านยาวของกระดาษไว้ในแนวดิ่ง

มาตรฐานของขนาดกระดาษแบบที่มีการใช้งานกันอยู่เป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นขนาดกระดาษตามIn-
ternational sheet sizes และ US sheet sizes

2.4.1 International sheet sizes


ในแทบภูมิภาคของโลกยกเว้น สหรัฐอเมริกาจะใช้ กระดาษแบบขนาดตาม International size ซึ่ง มี
ขนาดที่ ใช้ ในงานแบบทั่วไปคือ ขนาด A4 A3 A2 A1 A0 กระดาษขนาดA4 มี ขนาด 297 mm x
210 mm
ซึ่งงานแบบเขียนนิยมวางกระดาษแบบ Lanscape ขนาดของกระดาษจะมีความสัมพันธ์กันคือใน
ลำดับ ขนาดที่ ต่อเนื่องกัน กระดาษที่ มี ขนาดใหญ่ กว่า จะสามารถถูก พับ ครึ่ง ให้ ลงมาเป็น กระดาษที่ มี

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


5

รูปที่ 2.1: แสดงโครงสร้างและลำดับขั้นของแบบสั่งงานของชิ้นงานประกอบ

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
6 (Working Drawing)

International sheet size US sheet size


Code Size (mm) Code Size (inch)
A4 297 x 210 A 11 x 8.5
A3 420 x 297 B 17 x 11
A2 594 x 420 C 22 x 17
A1 840 x 594 D 34 x 22
A0 1188 x 840 E 44 x 34

ตารางที่ 2.1: แสดงขนาดกระดาษในระบบ International sheet size และระบบ US sheet sizes

รูปที่ 2.2: แสดงขนาดกระดาษในงานแบบสำหรับ International sheet size และ US sheet size

ขนาดเล็กในลำดับถัดมาได้พอดีหรือกระดาษแต่ละขนาดมีขนาดแสดงดังในตารางที่ 2.1 และสามารถ


แสดงการเปรียบเทียบแต่ละขนาดดังแสดงในรูปที่2.2

2.4.2 US sheet sizes


ขนาดกระดาษในระบบนี้จะใช้สัญลักษณ์ A B C D และ E แทนกระดาษแบบซึ่งมีขนาดดังแสดงใน
ตารางที่2.1 ซึ่งความสัมพันธ์ของแต่ละขนาดนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับInternational sheet size และ
ดังแสดงในรูปที่ 2.2

2.5 รูปแบบเฮดเดอร์ของแบบสั่งงาน (Formal Drawing Header in Working


Drawings)
เฮดเดอร์ ที่ ของแบบสั่ง งานหมายถึง กรอบและข้อความต่าง ๆ ซึ่ง มี รูปแบบที่ แน่นอนและได้
จัดทำไว้ บนกระดาษเขียนแบบ เพื่อ แสดงข้อมูล หรือ การบันทึก ที่ จำเป็น สำหรับ การจัดทำชิ้นงานได้

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


7

รูปที่ 2.3: แสดงตัวอย่างรูปแบบและองค์ประกอบของเฮดเดอร์

ยอ่างครบถ้วนและง่ายกับการอ่านแบบดังแสดงในรูปที่ 2.3 ส่วนประกอบของเฮดเดอร์มีดังนี้

1. Border
กรอบของกระดาษเขียนแบบที่ถูกแสดงด้วยเส้นทึบเพื่อกำหนดขอบเขต

2. Location grid
ตัวอักษรกริดที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุพื้นที่หรือตำแหน่งบนแบบ

3. Main title block


พื้นที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเฮดเดอร์ที่ถูกกำหนดขอบเขตด้วยเส้นทึบเป็นบริเวณสำหรับ
การเขียนหรือแสดงข้อมูลของชิ้นงาน ซึ่งบางหน่วยงานก็มีการเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นในSecondary
title block ดังแสดงในรูปที่ 2.3 ข้อมูลเหล่านนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถรู้รายละเอียดที่นอกเหนือ
จากรูปลักษณ์ ของชิ้นงานและทำให้ ผู้ใช้ งานทราบถึง ที่ ไปที่มาและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นกับแบบด้วยตัวอย่างข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน title block มีดังนี้

• Units
เป็น ส่วนที่ บอกหน่วยที่ ใช้ สำหรับ การกำหนดขนาดในแบบ หน่วยที่ ใช้ งานในแบบอาจ
เขียนด้วยตัว เต็ม หรือ ตัวย่อ เช่น MM (millimeters), M (Meters), IN (inches) หรือ
FT (feet) ตัวอย่างการกำหนดหน่วยแสดงดังในรูปที่2.4
• Type of Projection
เป็น ส่วนที่ ให้ ข้อมูล ประเภทของการฉายภาพ ในกรณี ของการแสดงภาพแบบออร์โธกรา
ฟิคซึ่งสามารถแสดงได้โดยใช้วิธีการฉายแบบมุมมองที่หนึ่ง หรือมุมมองที่สามการใช้สัญลักษณ์
แสดงประเภทของการใช้แสดงดังในรูปที่ 2.4

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
8 (Working Drawing)

รูปที่ 2.4: แสดงการระบุหน่วย มาตราส่วน ประเภทการฉายและขนาดกระดาษที่ใช้พิมพ์ เพื่อให้ได้


มาตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ระบุ

รูปที่ 2.5: แสดงการระชื่อหน่วยงานเจ้าของแบบ และคำเตือนของการละเมิดสิทธิ์

• Scale
เป็นส่วนที่บอกมาตราส่วนของขนาดจริง (ตัวเลขบอกขนาดที่ปรากฏในแบบ) ของชิ้นงาน
ต่อ ขนาดที่ วัดได้ ในแบบเมื่อ ทำการพิมพ์ แบบเขียนลงบนกระดาษแบบ full size ตามที่
ระบุในแบบ ดังแสดงในรูปที่2.4
• Owner
เป็น ส่วนที่ ระบุ หน่วยงานที่ เป็น เจ้าของแบบ บางครั้ง เพื่อ ป้องกัน การละเมิด สิทธิ์ อาจมี
ส่วนของการระบุข้อความเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิ์ ดังแสดงในรูปที่2.5
• Part number
เป็นรหัสของชิ้นงาน ที่ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรและ/หรือตัวเลข ชิ้นงานหนึ่งชิ้นจะ
มีPart number เพียงอันเดียว และหากมีการสั่งทำชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนกับชิ้นงาน
ชิ้นนี้ทุกประการชิ้นงานนั้น ๆ ก็จะมี Part number เหมือนกับชิ้นงานต้นฉบับด้วย ทั้งนี้
เพื่อมั่นใจได้ว่าหากมีการจัดทำหรือสลับสับเปลี่ยนชิ้นงานที่มี Part number ตัวเดียวกัน
จะต้องสามารถทำซ้ำ และทดแทนกัน ได้ 100 % เช่น เดียวกัน ในกรณี ชิ้นงานประกอบ
มี การระบุ Part number เพื่อ กำหนดรหัส ทั้งนี้ เพื่อ การทำซ้ำ หรือ การสลับ สับเปลี่ยนทั้ง
ชุดของชิ้นงานประกอบชุดนั้นๆ ซึ่งจะทำให้สะดวกมากขึ้น ตัวอย่างพื้นที่สำหรับการระบุ
Part number แสดงดังในรูปที่ 2.6
• Part name
เป็นการระบุชื่อเรียกของชิ้นงาน หรือชิ้นงานประกอบ ตามหน้าที่การทำงานหรือตามลักษณะ
ของชิ้นงาน เช่น L-Bracket, Base Plate หรือ Pillow Bock เป็นต้น ชื่อเรียกนี้สามารถ
มีการใช้ซ้ำกันได้ แม้ว่าชิ้นงานจะไม่ได้เหมือนกันทุกประการแต่ต้องระวังว่าในกรณีที่ไม่
เหมือนกันทุกประการนี้ Part number ต้องไม่ซ้ำกันในกรณีที่ชิ้นงานใดมีรายละเอียดมาก
จนไม่สามารถแสดงรายละเอียดได้ครบถ้วนในแบบหนึ่งแผ่นสามารถทำการเพิ่มเติมแบบ
แผ่นอื่นได้ โดยการระบุหน้าบนแบบว่าเป็นหน้าที่เท่าไรจากจำนวนแบบแสดงรายละเอียด
ของชิ้นงานนี้ทั้งหมดเท่าไร ดังแสดงในรูปที่2.6

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


9

รูปที่ 2.6: แสดงพื้นที่สำหรับการระบุ Part number, Part name, EC, Next Assembly และ Q/M

• EC level Engineering Changes


ในกรณีที่แบบชิ้นงานมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ที่ไม่ส่งผลต่อการนำไปใช้งานในหน้าที่
เดิม หรือ ในการประกอบลงบนชิ้นงานประกอบเดิม เช่น การเปลี่ยนวัสดุ ที่ ใช้ ขึ้น รูปจึง ไม่
จำเป็น ต้องเปลี่ยน Part number ของชิ้นงาน เราสามารถเปลี่ยนรหัส ที่ เรียกว่า EC ใน
แบบแทน เป็นการบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแบบหรือชิ้นงานเป็นครั้ง ๆ ไป
ตัวอย่างพื้นที่ระบุ EC แสดงดังในรูปที่ 2.6
• Next ASM
เป็นพื้นที่สำหรับระบุ Part number ของชิ้นงานประกอบที่ชิ้นงานซึ่งปรากฏในแบบเป็น
ส่วนประกอบของชิ้นงานประกอบชิ้นนี้พื้นที่นี้ถูกแสดงดังในรูปที่ 2.6
• Quantity per Machine (Q/M)
เป็นพื้นที่สำหรับระบุว่าในชิ้นงานประกอบชุดนี้ต้องการผลิตชิ้นงานในแบบนี้จำนวนเท่าไร
แสดงดังในรูปที่ 2.6
• Approval signatures
เป็น พื้นที่ ลงนามของผู้ ที่ มี ส่วนเกี่ยวข้องกับ แบบสั่ง งานที่ ได้ จัดทำขึ้น ซึ่ง จะต้องมี การลง
วันที่กำกับไว้ด้วย แสดงดังในรูปที่ 2.7
– Drawn by: สำหรับผู้เขียนแบบ (Drafter)
– Checked by: สำหรับผู้ตรวจสอบแบบยืนยันว่าแบบถูกต้องตามมาตรฐานงานแบบ
เขียน
– Approved by: สำหรับ ผู้ออกแบบหรือ วิศวกรยืนยัน ว่า ชิ้นงานนี้ หากถูก จัดทำตาม
แบบอย่างถูกต้องชิ้นงานสามารถนำไปใช้งานได้ตามหน้าที่ที่ถูกออกแบบไว้ ไม่ว่านำ
ไปใช้งานเลยหากเป็นชิ้นงานเดี่ยวหรือนำไปประกอบก่อนการใช้งานหากเป็นส่วนหนึ่ง
ของชิ้นงานประกอบ
– Released by: สำหรับผู้จัดการยืนยันว่าอนุญาติใหส่งแบบแก่ผู้ผลิตได้และผู้ผลิตนำ
แบบไปทำการผลิตสามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
10 (Working Drawing)

รูปที่ 2.7: แสดงพื้นที่สำหรับการลงนามสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบบสั่งงาน

รูปที่ 2.8: แสดงพื้นที่สำหรับการระบุข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ผลิต

• Additional Information Required for the Fabricator


เป็นพื้นที่ข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ผลิต ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้แสดงดังในรูปที่2.8 มีรายละเอียด
ดังนี้

– Material วัสดุที่ใช้สำหรับขึ้นรูปชิ้นงาน
– Hardness ความแข็งผิวชิ้นงาน
– Surface Threatment กระบวนการตกแต่งผิวชิ้นงาน
– Default tolerances and Edge/Conrner Breaks หากไม่ มี การกำหนดเป็น อื่นใดใน
แบบเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนและการลบเหลี่ยมลบมุมของชิ้นงาน

2.6 แบบแสดงการประกอบ
แบบแสดงการประกอบมีไว้เพื่อแสดงให้เห็นวิธีการประกอบ และลักษณะของชิ้นงานหลังจากทำ
การประกอบและพร้อมใช้งานแบบแสดงการประกอบเหล่านี้จะไม่ปรากฏรายละเอียดอื่นใด เช่น ขนาด
วัสดุ ที่ ใช้ เกณฑ์ ความคลาดเคลื่อน หรือ กรรมวิธี การผลิต แบบแสดงการประกอบสามารถแบ่ง เป็น
ประเภทได้ดังนี้

1. Exploded Assembly Drawings

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


11

รูปที่ 2.9: แสดงตัวอย่างชิ้นงานสามมิติ Vise Camp

2. Outline Assembly Drawings

3. Sectioned Assembly Drawings

เพื่อการแสดงให้เห็นตัวอย่างการเขียนแบบแสดงการประกอบ และประเภทและความแตกต่างระหว่าง
ประเภทของแบบแสดงการประกอบจะใช้ตัวอย่างของการสั่งผลิต Vise Clamp ดังแสดงในรูปที่ 2.9

2.6.1 Exploded Assembly Drawings

เป็น แบบแสดงการประกอบที่ แสดงให้ เห็น ว่า ชิ้นงานประกอบ เกิด จากการประกอบกัน ของชิ้นงาน


ประกอบย่อยและ/หรือ ชิ้นงานเดี่ยวอย่างไร แทนการแสดงลักษณะของชิ้นงานประกอบที่ถูกประกอบ
เสร็จสิ้น แล้ว ในแบบชิ้นงานประกอบย่อยหรือ ชิ้นงานเดี่ยวถูก แสดงในลักษณะที่ กระจายออกจากกัน
และมี เส้นประแสดงแนวการประกอบให้ เห็น (Trail) แบบสั่ง งานประเภทนี้ จะแสดงด้วยรูป สามมิติ
เพราะมีความง่ายและความชัดเจนในแง่มุมของวิธีการประกอบ มากกว่าการแสดงด้วยภาพฉายชิ้นงาน
แต่ละชิ้นจะถูกกำกับด้วยตัวเลขที่เรียกว่า Item Number ซึ่งอยู่ในวงปิดที่เรียกว่าBalloon เพื่อใช้ใน
การอ้างอิงกับรหัสชิ้นงาน (Part number) หรือชื่อชิ้นงาน(Part name) ของชิ้นงาน ซึ่งบางครั้งอาจใช้

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
12 (Working Drawing)

รูปที่ 2.10: แสดงตัวอย่าง Exploded Drawing ของ Vise Camp

Part number แทน Item number ใน Balloon แบบแสดงการประกอบประเภทนี้ จะไม่มีการแสดง


การบอกขนาดลงในแบบตัวอย่างของแบบแสดงการประกอบแบบกระจายของ Vise Camp แสดงดัง
ในรูปที่2.10

2.6.2 Outline Assembly Drawings

Outline Assembly Drawings หรือบางครั้งถูกเรียกว่า Layout Drawings เป็นแบบแสดงการประกอบ


ที่แสดงให้เห็นลักษณะชิ้นงานประกอบ ที่ถูกประกอบอย่างสมบูรณ์พร้อมใช้งานตัวอย่างของแบบแสดง
การประกอบประเภทนี้ ของ Vise Camp แสดงดัง ในรูป ที่ 2.11 ในแบบสั่ง งานแบบสั่ง งานประกอบ
แบบเอาท์ลายน์ นี้ต้องถูก แสดงด้วยแบบออร์โธกราฟฟิค หรือ อาจมี การแสดงด้วยแบบประภทพิค ทอ
เรียลหากต้องการความชัดเจนเพิ่มเติมและบางครั้งในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นลักษณะการประกอบ
ที่ถูกชิ้นงานอื่นบังหรือมีบริเวณที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก ก็ต้องมีการแสดงด้วยภาพตัดในบริเวณนั้นเพิ่มเติม
เช่นเดียวกันกับแบบแสดงการประกอบแบบกระจาย ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะถูกอ้างอิงด้วยตัวเลขในBal-
loon ในแบบภาพประกอบประเภทนี้จะไม่มีการแสดงขนาดชิ้นงานย่อย ในส่วนของการบันทึกข้อมูล
ลงในแบบจะเป็นการระบุ ถึง กระบวนการประกอบที่จำเป็น และการทดสอบผลจากการประกอบต้อง
ทำอย่างไร

2.6.3 Sectioned Assembly Drawings

Sectioned Assembly Drawings เป็นแบบแสดงการประกอบแบบภาพตัด ซึ่งถูกแสดงด้วยภาพแบบ


พิคทอเรียลหรือออร์โธกราฟฟิค ที่แสดงรายละเอียดภายในของชิ้นงานประกอบขณะถูกประกอบแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อ เพิ่ม ความชัดเจนของการประกอบ ในกรณี ที่ มี ส่วนของชิ้นงานประกอบซึ่ง อยู่ ภายในถูก บัง

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


13

รูปที่ 2.11: แสดงตัวอย่าง Layout Drawing ของ Vise Camp

อยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกันกับแบบแสดงการประกอบประเภทอื่น ๆชิ้นงานแต่ละชิ้นจะถูกอ้างอิง


ด้วยตัวเลขใน Balloon ตัวอย่างของแบบแสดงการประกอบแบบภาคตัดของVise Camp แสดงดังใน
รูปที่ 2.12

2.7 รายการวัสดุ (Bill of Materials, (BOM))

BOM เป็น รายการชิ้นงานประกอบย่อยหรือ ชิ้นงาน รายการชิ้นงานนี้ สามารถถูก เขียนบนแบบ


แสดงการประกอบหรือ เขียนแยกเป็น หน้า หนึ่ง ของแบบสั่ง งาน มี ไว้ สำหรับ ผู้ผลิต ในการตรวจสอบ
ว่าแบบทั้งหมดและวัสดุที่จะต้องใช้ในการผลิตชิ้นงานมีอย่างครบถ้วน รายการของชิ้นงานมาตรฐานก็
จะถูกรวมอยู่ในBOM นี้ด้วย แม้ว่ารายการนี้จะไม่ใช่แบบเขียนโดยตรง แต่ก็ต้องถูกรวมไว้ในเซตของ
แบบสั่ง งานและถือ ว่า เป็น หนึ่ง ในส่วนประกอบของแบบสั่ง งานและโดยทั่วไปจะถือ ว่า เป็น ส่วนหนึ่ง
ของแบบแสดงการประกอบ
โดยธรรมเนียมปฏิบัติข้อมูล ที่อยู่ ใน BOM ของแบบแสดงการประกอบประกอบด้วยItem num-
ber, Part name และ Part number ที่สอดคล้องกับ Item number นั้น ๆ วัสดุที่ใช้ทำชิ้นงานในแต่ละ
Item number และจำนวนที่ ต้องทำการผลิตของแต่ละItem ในแบบแสดงการประกอบนั้น ๆ แบบ
แสดงการประกอบย่อยจะมี BOMs ของตัวเองหากชิ้นงานประกอบประกอบด้วยชิ้นงานประกอบย่อย
จะต้องมีการระบุ Part name และ Part number ของชิ้นงานประกอบย่อยลงบนชิ้นงานประกอบหลัก
หากมีการใช้ชิ้นงานมาตรฐานตามท้องตลาดจะต้องมีการระบุชื่อและคุณสมบัติให้ชัดเจนตัวอย่างของ
BOMs แสดงดังในรูปที่ 2.10

2.8 แบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิต

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
14 (Working Drawing)

รูปที่ 2.12: แสดงตัวอย่าง Sectioned Drawing ของ Vise Camp

แบบแสดงรายละเอียดทำหน้าที่แสดงลักษณะทางเรขาคณิต ขนาด เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนวัสดุ


และกระบวนการที่ต้องใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานเดี่ยว ชิ้นงานที่ต้องขึ้นรูปจะต้องมีแบบแสดงรายละเอียด
ของตัวเองชิ้นงานมาตรฐานไม่ จำเป็น ต้องมี แบบแสดงรายละเอียด แบบแสดงรายละเอียดของVise
Camp แสดงดัง ในรูป ที่ พื้นที่ บนแบบแสดงรายละเอียดของชิ้นงานแบ่ง ออกเป็น สองส่วนคือ ส่วน
มุมมองวัตถุ และ ส่วนการบันทึก ดังแสดงในรูปที่ 2.13

2.8.1 มุมมองวัตถุ (Object Views)

เป็นพื้นที่แสดงรายละเอียดส่วนรูปลักษณ์และขนาดของชิ้นงาน หรือชิ้นงานประกอบที่จะทำการจัดทำ
โดยใช้ภาพฉายรูปด้านให้ตรงตามหลักของการภาพฉาย ซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติจะใช้รูปด้าน3 ด้าน
คือ ด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง อย่างไรก็ตามการปฏิบัตินี้ไม่ใช้ข้อบังคับแต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น ชิ้นงานที่มีความหนาคงที่ การใช้รูปด้านเพียงสองด้านก็เพียงพอต่อการให้รายละเอียด
จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มรูปด้านที่เหลือ ตรงกันข้ามกับชิ้นงานที่มีความซับซ้อนรูปด้านพื้นฐานที่ได้แสดง
อาจมีส่วนถูกซ่อนที่แสดงด้วยเส้นประ อาจมีเป็นจำนวนมากจนทำให้สับสนหรือไม่สามารถให้ขนาด
ได้ชัดเจน ในกรณีนี้จำเป็นต้องเพิ่มรูปด้านอื่นๆ หลักการทั่วไปของการเลือกจำนวนรูปด้านมีดังนี้

1. เริ่มต้น ด้วยการแสดงรูป ด้านบน ด้านหน้า ด้านข้าง ตามรูปแบบมาตรฐาน โดยเลือกทิศทาง


การวางวัตถุให้เห็นเส้นขอบทุกขอบเป็นเส้นที่มีความยาวจริงบนด้านใดด้านหนึ่งในรูปด้านทั้ง
สาม ถ้า รูป ด้านใดรูป ด้านหนึ่ง มี ลักษณะที่ ไม่ แตกต่างจากรูป ด้านอื่นๆ รูป ด้านนั้น ก็ ไม่ จำเป็น
ต้องแสดงในแบบ

2. เพิ่มรูปด้านอื่น ๆ ตามหลักการของภาพฉาย เช่น ด้านล่าง ด้านซ้าย ด้านหลังหากการให้ขนาด


ไม่สามารถทำได้บนรูปด้านมาตรฐานในข้อ 1 เนื่องจากต้องมีการให้ขนาดระหว่างเส้นขอบที่ถูก

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


15

รูปที่ 2.13: แสดงตัวอย่างการใช้งานพื้นที่ของแบบแสดงรายละเอียด

ซ่อน(เส้นประ)

3. ในกรณีที่เส้นขอบจำนวนมากไม่สามารถปรากฏเห็นเป็นเส้นจริงในมุมมองมาตรฐานให้ใช้มุมมอง
ภาพช่วยแสดงลักษณะของขอบเหล่านี้ เพื่อให้เห็นขอบที่ปรากฏเห็นความยาวจริง

4. หากรูปลักษณ์ภายในถูกบังหรือถูกแสดงด้วยเส้นประเป็นจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องเพิ่มภาพ
ตัดเพื่อแสดงลักษณะภายในและลดการแสดงด้วยเส้นประ

5. ใช้ วิธีการ note สำหรับ บอกลักษณะและขนาดของรูปลักษณ์ ที่ เป็น มาตรฐาน เช่น การคว้านรู
แบบต่าง ๆ หรือการจัดทำเกลียวมาตรฐานบนชิ้นงาน เพื่อลดความสับสนจากเส้นที่เกิดเนื่องจาก
การบอกขนาดเป็นจำนวนมาก

6. หากมีบางรูปลักษณ์ที่มีรายละเอียดมากจนแสดงด้วยมาตรส่วนเท่ากันกับรูปลักษณ์อื่นไม่ได้ให้
เพิ่มรูปของบริเวณดังกล่าวด้วยมาตราส่วนที่เหมาะสม

สำหรับ ผู้ ที่ มี ประสบการณ์ และคุ้นเคยกับ งานแบบเป็น อย่างดี หลักการเหล่านี้ จะถูก นำมาปฏิบัติ โดย
ธรรมชาติและข้อสรุปของหลักการดังกล่าวสามารถสรุปได้อย่างง่าย ๆ ว่า “เริ่มต้นด้วยรูปด้านมาตรฐาน
หลังจากนั้นเพิ่มรูปด้านที่จำเป็น หรือลดรูปด้านที่ไม่จำเป็น เพื่อการบรรยายหรือให้รายละเอียดของ
ชิ้นงานที่ชัดเจนมากที่สุด” ตัวอย่างของแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิตของ Vise Camp แสดง
ดังในรูปที่2.14 - 2.16

2.8.2 บันทึก (Notes)


บันทึก ที่ เขียนบนแบบมาตรฐานเป็น การแสดงข้อความ เพื่อ ระบุ กระบวนการพิเศษหรือ กระบวนการ
ประกอบ ที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยในรูปด้านจากมุมมองต่างๆ หรือไม่สามารถบอกได้โดยการกำหนด

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
16 (Working Drawing)

รูปที่ 2.14: แสดงตัวอย่างแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิตของVise Camp

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


17

รูปที่ 2.15: แสดงตัวอย่างแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิตของVise Camp (ต่อ)

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
18 (Working Drawing)

รูปที่ 2.16: แสดงตัวอย่างแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการผลิตของVise Camp (ต่อ)

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


19

รูปที่ 2.17: แสดงตัวอย่างแบบที่ไม่จัดทำกรอบของแบบ

ขนาดแบบมาตรฐาน หรือ ไม่ สามารถบอกได้ ในส่วนของพื้นที่ ของMain title block โดยทั่วไปการ


บันทึกจะระบุเป็นข้อ และวางไว้บนตำแหน่งดังแสดงในรูปที่ตัวอย่างข้อความของการบันทึกเช่น “Part
to be cleaned and degreased when completed” (ทำความสะอาดชิ้นงานและเช็ดคราบมันออกเมื่อ
ชิ้นงานถูกขึ้นรูปจนเสร็จสิ้น) “All internal edges to be free of burrs” (ให้ลบคมหรือรอยขรุขระของ
ขอบด้านในทุกที่) อาจกล่าวโดยสรุปว่าข้อความในส่วนของบันทึกจะถูกจัดทำขึ้นเมื่อ มีความต้องการ
กระทำกับชิ้นงานแต่ไม่ทราบว่าจะไประบุไว้ตำแหน่งใดในแบบ หรือใน Title block

2.9 ข้อควรระวังในการจัดทำแบบสั่งงาน
การจัดทำแบบสั่ง งานจะต้องใช้ ความประณีต และระมัดระวัง เพื่อให้ เกิด ความผิด พลาดและการ
ตกหล่นของข้อมูลให้น้อยที่สุดซึ่งข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้

• ไม่จัดทำกรอบของแบบ ดังแสดงในรูปที่ 2.17

• แบบไม่มี Title block หรือมี Title block ที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องดังแสดงในรูปที่ 2.18

• ให้ขนาดบนภาพพิคทอเรียลแทนการใช้รูปด้านแบบออร์โธกราฟิค ดังแสดงในรูปที่2.19

• วางรูปด้านแบบออร์โธกราฟฟิคไม่เหมาะสมทำให้เกิดความไม่ชัดเจน ดังแสดงในรูปที่2.20

• วางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมแก่องค์ประกอบของการกำหดขนาด ดังแสดงในรูปที่2.21

• ส่วนประกอบของแบบอยู่นอกกรอบกระดาษ ดังแสดงในรูปที่ 2.22

• เลือกขนาดกระดาษที่ไม่เหมาะสม ดังแสดงในรูปที่ 2.23

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
20 (Working Drawing)

รูปที่ 2.18: แสดงตัวอย่างแบบไม่มี Title block หรือมีTitle block ที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง

รูปที่ 2.19: แสดงตัวอย่างแบบที่มีให้ขนาดบนภาพพิคทอเรียลแทนการใช้รูปด้านแบบออร์โธกราฟิค

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


21

รูปที่ 2.20: แสดงตัวอย่างแบบที่มีให้ขนาดบนภาพพิคทอเรียลแทนการใช้รูปด้านแบบออร์โธกราฟิค

รูปที่ 2.21: แสดงตัวอย่างแบบที่ มี การวางตำแหน่ง ที่ ไม่ เหมาะสมแก่ องค์ประกอบของการกำหด


ขนาด

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
22 (Working Drawing)

รูปที่ 2.22: แสดงตัวอย่างแบบที่มีส่วนประกอบของแบบอยู่นอกกรอบกระดาษ

• เลือกมาตราส่วนของการแสดงในแบบที่ไม่เหมาะสม ดังแสดงในรูปที่ 2.24

• ไม่ระบุ Part number ในแบบ ดังแสดงในรูปที่ 2.25

• ระบุ Part number ของชิ้นงานชิ้นเดียวกันที่ไม่ตรงกัน ดังแสดงในรูปที่2.26

• ไม่ระบุข้อมูลที่สำคัญลงใน Title block ดังแสดงในรูปที่ 2.27

• วางกระดาษแบบ Portrait แทนที่การวางแบบ Lanscape ดังแสดงในรูปที่ 2.28

• ไม่ใช้กระดาษที่มีขนาดตามมาตรฐาน ดังแสดงในรูปที่ 2.29

• ใช้ขนาดตัวอักษรปะปนกัน ดังแสดงในรูปที่ 2.30

• แสดงรายละเอียดของชิ้นงานหลายชิ้นในแบบแผ่นเดียวกัน ดังแสดงในรูปที่2.31

• ระบุขนาดในแบบแสดงการประกอบ ดังแสดงในรูปที่ 2.32

• ใช้การเขียนด้วยมือเปล่าในแบบที่พิมพ์ดว
้ ยคอมพิวเตอร์ ดังแสดงในรูปที่2.33

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


23

(a)

(b)

รูปที่ 2.23: แสดงตัวอย่างแบบที่มีขนาดกระดาษที่ไม่เหมาะสม

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
24 (Working Drawing)

(a)

(b)

รูปที่ 2.24: แสดงตัวอย่างแบบที่ใช้มาตราส่วนไม่เหมาะสม

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


25

รูปที่ 2.25: แสดงตัวอย่างแบบที่ไม่ระบุ Part number

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
26 (Working Drawing)

รูปที่ 2.26: แสดงตัวอย่างแบบที่ระบุ Part number ของชิ้นงานชิ้นเดียวกันที่ไม่ตรงกัน

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


27

รูปที่ 2.27: แสดงตัวอย่างแบบทไม่ระบุข้อมูลที่สำคัญลงในTitle block

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
28 (Working Drawing)

รูปที่ 2.28: แสดงตัวอย่างแบบที่วางกระดาษแบบPortrait แทนที่การวางแบบ Lanscape

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


29

รูปที่ 2.29: แสดงตัวอย่างแบบที่ไม่ใช้กระดาษที่มีขนาดตามมาตรฐาน

รูปที่ 2.30: แสดงตัวอย่างแบบที่ใช้ขนาดตัวอักษรหลายขนาดปะปนกัน

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


แบบเขียนสั่งงาน
30 (Working Drawing)

รูปที่ 2.31: แสดงตัวอย่างแบบที่แสดงรายละเอียดของชิ้นงานหลายชิ้นในแบบแผ่นเดียวกัน

รูปที่ 2.32: แสดงตัวอย่างแบบที่ระบุขนาดในแบบแสดงการประกอบ

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี


31

รูปที่ 2.33: แสดงตัวอย่างแบบที่ใช้การเขียนด้วยมือเปล่าในแบบที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล 2/2552 Ver. 0.5 เวชยันต์ รางศรี

You might also like